LINE


ทำความรู้จักกับ Suspended Chord (sus2,sus4)

ไปซื้อ ทำความรู้จักกับ Suspended Chord (sus2,sus4)ที่สาขา

มือกีตาร์ทุกคนต้องเคยเห็นคอร์ดหนาตาแปลกๆ มามากมาย หนึ่งในนั้นคือพวก Suspended Chord หรือ คอร์ด sus โดยจะมาในรูปแบบ sus2 , sus4 วันนี้ musicarms จะพาไปทำความรู้จักกับ Suspended Chord กันว่ามีโครงสร้างยังไงและสามารถใช้งานในรูปแบบไหนได้บ้าง
ยกตัวอย่างจาก C major ธรรมดาก่อนนะครับ โน๊ตในสเกลจะมี C D E F G A B โครงสร้างคอร์ดปกติจะประกอบด้วยโน๊ต 3 ตัวคือ 1 3 5 ก็จะ ประกอบไปด้วยโน๊ต C E G 
คอร์ด sus จะเป็นการเอาโน๊ตตัวที่ 3 ออกไปและแทนที่ด้วยโน๊ตตัวที่ 2 หรือ 4 ของสเกล เช่น แทนที่โน๊ตตัวโน้ตตัวที่ 2 เข้ามาแทนที่โน้ตตัวที่ 3 เราจะเรียกว่าคอร์ด Csus 2 จะได้โครงสร้างคอร์ดใหม่เป็น 1 2 5 คือ C D G
ถ้าเราเอาโน้ตตัวที่ 4 เข้ามาแทนที่โน้ตตัวที่ 3 เราจะเรียกว่าคอร์ด Csus 4 จะได้โครงสร้างคอร์ดใหม่เป็น 1 4 5 คือ C F G 
ทั้งนี้ด้วยการที่เอาตัว 3 ออกไปทำให้คอร์ดนั้นจะไม่มีความเป็น Minor หรือ major อยู่ทำให้เสียงที่ออกมาจะให้อารมณ์ที่แตกต่างจากคอร์ดปกติ ทำให้เพลงดูมีสีสันมากขึ้น โดยการนำไปใช้นั้นส่วนมากจะนิยมใช้ กับคอร์ดที่เล่นซ้ำกัน 2 ห้องเช่นปกติจะเล่นเป็นคอร์ด A /A /D /D เราอาจเปลี่ยนเป็น A /Asus2 /D /Dsus2 เพื่อเพลงดูมีลูกเล่นมากยิ่งขึ้น หรือในบางครั้งเราสามารถนำ Suspended Chord ไปใช้แทนคอร์ดดั้งเดิมเพื่อให้ท่อนนั้นๆของเพลงดูโดดเด่นขึ้นมา ซึ่งเราจะเห็นได้จากเพลงช้าหลายๆ เพลงที่ใช้คอร์ด sus เช่น สองรัก งมงาย หรือ คนทางนั้น เป็นต้น สำคัญคือเราต้องจำไว้ว่าการที่เราใช้คอร์ด sus นั้นจะทำให้ความเป็น minor และ major หายไป ฉนั้นควรคำนึงถึงอารมณ์ของเพลงด้วยว่าเราต้องการให้ไปทางไหน
และเมื่อเราเรียนรู้โครงสร้างของ Suspended Chord จนเข้าใจแล้วเราก็สามารถนำไปทำเป็น Voicing chord เพื่อหาเสียงใหม่ๆ ได้อีกด้วย

×