Chorus Effect เอฟเฟคที่เสียงเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
“เมื่อเลือกจะมีเอฟเฟคคอรัสไว้ในครอบครอง สิ่งที่ต้องถามตัวเองก็คือแนวดนตรีเราเป็นยุคไหน เลือกคอรัสให้เข้ากับแนวของเรา”
เอฟเฟคอย่าง Chorus มักถูกใช้เพื่อทำให้ไลน์ดนตรีมีความหนามากขึ้น ถือเป็นสัญลักษณ์ของดนตรียุค 80 เลยทีเดียว เสน่ห์ที่เย็นวาบ เสียงดังว้องๆ ของมัน ถือเป็นลักษณะของแนวดนตรีของยุคนั้นเพราะมันถูกใช้อย่างล้นหลาม
แต่…ถึงแม้มันจะเป็นที่นิยมในยุค 80 เอฟเฟคชนิดนี้ก็ปรากฏแก่วงการดนตรีตั้งแต่ยุค 60 ไปแล้ว และถูกใช้โดยศิลปินผุ้ยิ่งใหญ่อย่าง Jimi Hendrix ด้วย
ความตั้งใจแต่เดิมของมันมีเพื่อจะ ‘เลียนเสียง Rotary Speaker’ หรือลำโพงที่ขณะทำงาน ตัวลำโพงจะหมุนไปด้วยพร้อม ๆ กัน ให้เสียงคล้ายออร์แกน
ตัววงจรถูกออกแบบให้แยกสัญญานออกเป็นสองส่วน ส่วนสัญญานกีต้าร์เดิม และสัญญานที่ถูกแปลงความถี่เล็กน้อย ผสมกับเข้าไปกับสัญญานเดิมโดยช้ากว่าเดิมในระดับมิลลิวินาที
แต่ทว่ามันกลับล้มเหลว
ถึงอย่างนั้น มันกลับให้เสียงดัง ‘ว้องๆ’ ที่เป็นลักษณะเฉพาะ กลายมาเป็นแม่แบบของเอฟเฟคตระกูลนี้ในเวลาต่อมา
ในยุค 60 คอรัสจะให้สัมผัสวูบ ๆ วาบ ๆ เสียงมีการ vibrato ทำให้เสียงเพี้ยนไป ๆ มา ๆ เป็นเอฟเฟคตระกูล uni-vibe
ในยุค 70 ให้เสียงในโทนสว่าง ออกคล้าย ๆ เสียงเครื่องเป่าทองเหลือง หาฟังได้จากเอฟเฟคคอรัสจาก Maxon
และในยุค 80 ให้เสียงว้อง ๆ ให้ความรู้สึกเย็นฉ่ำ อย่างใน Boss – Super Chorus
ถ้าคิดจะใช้เอฟเฟคชนิดนี้แล้ว เลือกมันให้ตรงกับแนวของเพื่อน ๆ ด้วยนะ นอกจากนี้ก็ทำความเข้าใจกับปุ่มสำคัญต่าง ๆ บน Chorus สองปุ่ม คือ
Depth และ Rate
ปุ่ม Depth ทำให้เสียงจากเอฟเฟคได้ยินชัดขึ้น
ปุ่ม Rate ยิ่งเพิ่ม ยิ่งให้สัมผัสความรู้สึกวิงเวียน
=======================================
ขอขอบคุณช่อง Howcast และ Roland U.S. บน Youtube