เครื่องดีด
เครื่องดีด
เรายินดีช่วยคุณหา เครื่องดีด ที่เหมาะสมกับการใช้งานที่สุด เรามีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษา พร้อมหน้าร้านถึง 6 สาขาใกล้บ้านคุณ ด้วยโปรที่ดีที่สุด
- ประวัติเครื่องดนตรีไทย เครื่องดีด
- เครื่องดนตรีไทย เครื่องดีดเหมาะกับใคร
- การดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทย เครื่องดีด
- ประเภทเครื่องดนตรีไทย เครื่องดีดที่แนะนำ
- วิธีการเลือกซื้อเครื่องดนตรีไทย เครื่องดีด
- ทำไมถึงต้องเลือกซื้อเครื่องดนตรีไทย เครื่องดีด
เครื่องดีด เป็นเครื่องดนตรีที่มีสาย เกิดเสียงได้โดยการดีดด้วยมือข้างหนึ่ง และมืออีกข้างหนึ่งกดสายตามเสียงที่ต้องการ โดยปกติแล้วจะมีตั้งแต่ 1 สายไปจนถึง 7 สาย ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกระพุ้ง มักทำจากไม้มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยปัจจุบันเครื่องดีดก็ยังใช้ไม้เช่นกะลาทำกระพุ้งอยู่ แต่อาจมีการปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น พิณไฟฟ้า โดยยังคงอนุรักษ์พิณแบบเดิมคือ พิณโปร่งไม้ขนุน เครื่องดีดในที่นี้ยังรวมไปถึง จะเข้ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีไทยโบราณ ซึ่งต้องอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังสืบต่อไป
ประวัติเครื่องดนตรีไทย เครื่องดีด
เป็นเครื่องสายที่มีกระโหลกเสียง และใช้นิ้วมือ หรือไม้ดีดสายให้สั่นสะเทือนจนเกิดเป็นเสียงเช่น พิณ กระจับปี่ จะเข้ ซึง เป็นต้น ตามประวัติกล่าวว่า เครื่องมือประเภทนี้มีกำเนิดจากประเทศทางตะวันออกคือบรรดาประเทศในทวีปเอเซีย แล้วประเทศทางตะวันตก คือ บรรดาประเทศในทวีปยุโรปจึงได้นำไปดัดแปลง สร้างเครื่องดนตรีในประเภทเดียวกัน เป็นของตนในภาษาบาลีและสันสกฤตเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้ว่า พิณ สำหรับของไทยมีปรากฎชื่อนี้ในศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในสมัยกรุงสุโขทัย
เครื่องดนตรีไทย เครื่องดีดเหมาะกับใคร
- ผู้ที่รักในดนตรีไทย ต้องการสืบสานประเพณีไทย
- ผู้ที่ชื่นชอบดนตรีท้องถิ่น ต้องการเล่นในงานรื่นเริงต่างๆ
- นักเรียนที่เรียนวิชาดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด
- วงดนตรีมหรสพต่างๆที่ต้องใช้เครื่องดนตรีไทยเครื่องดีดบรรเลง
- บุคคลทั่วไปที่ต้องการเล่นเครื่องดนตรีที่เข้าถึงได้ง่าย
การดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทย เครื่องดีด
-
หลังเลิกเล่นทุกครั้งต้องลดสาย ปลดเชือกหรือทำอย่างอื่นตามลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้อยู่ในสภาพที่จะเก็บหรือไม่ใช้งาน
-
ทำความสะอาดเครื่องดนตรีแต่ละชนิดด้วยน้ำยา และอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
-
เก็บใส่ภาชนะที่มีลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
-
เก็บไว้ในที่ที่มีความเหมาะสม
ประเภทเครื่องดนตรีไทย เครื่องดีดที่แนะนำ
- กระจับปี่
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด หรือพิณ 4 สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกเป็นรูปกลมรีแบนทั้งหน้าหลัง มีความหนาประมาณ 7 ซม. ด้านหน้ายาวประมาณ 44 ซม. กว้างประมาณ 40 ซม. ทำคันทวนเรียวยาวประมาณ 138 ซม. ตอนปลายคันทวนมีลักษณะ แบน และบานปลายผายโค้งออกไป ถ้าวัดรวมทั้งคันทวนและตัว กะโหลก จะมีความยาวประมาณ 180 ซม. มีลูกบิดสำหรับขึ้นสาย 4 อัน มีนมรับนิ้ว 11 นมเท่ากับจะเข้ ตรงด้านหน้ากะโหลกมีแผ่นไม้บางๆ ทำเป็นหย่องค้ำสายให้ตุงขึ้น เวลาบรรเลงใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ จับไม้ดีด เขี่ยสายให้เกิดเสียง - จะเข้
เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากมอญ และได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก มีประวัติและมีหลักฐานครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงเป็นเครื่องนำอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย - ซึง
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี 4 สาย แต่แบ่งออกเป็น 2 เส้น เส้นละ 2 สาย มีลักษณะคล้าย กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม. กะโหลกมีรูปร่างกลมวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 21 ซม. ทั้งกะโหลกและคันทวนใช้ไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรง ตัดแผ่นไม้ให้กลม แล้วเจาะรูตรงกลางทำเป็นฝาปิดด้านหน้า เพื่ออุ้มเสียงให้กังวาน คันทวนเป็นเหลี่ยมแบนตอนหน้า เพื่อติดตะพานหรือนมรับนิ้ว จำนวน 9 อัน ตอนปลายคันทวนทำเป็นรูปโค้ง และขุดให้เป็นร่อง เจาะรูสอดลูกบิดข้างละ 2 อัน รวมเป็น 4 อันสอดเข้าไปในร่อง สำหรับขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สายลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สาย ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมาเล่นร่วมกับ ปี่ซอ หรือ ปี่จุม และ สะล้อ
วิธีการเลือกซื้อเครื่องดนตรีไทย เครื่องดีด
- ควรมีผู้แนะนำ เช่น ครูผู้สอน เพื่อให้ได้เครื่องดนตรีที่ได้มาตรฐานในการเล่น
- ควรมาลองที่ร้าน เพื่อให้เห็นตัวสินค้า ได้ฟังเสียง ได้ลองเล่นว่าชื่นชอบหรือไม่ หรือถนัดมือมั้ย
- ควรมีความรู้เฉพาะทางในเครื่องดนตรีนั้น เพื่อให้ได้การเล่นและดูแลรักษาที่สมบูรณ์
ทำไมถึงต้องเลือกซื้อเครื่องดนตรีไทย เครื่องดีด
- ได้ฝึกสมาธิ ช่วยให้เป็นคนรอบคอบ
- ช่วยให้เป็นคนใจเย็นและมีระเบียบวินัยในตนเอง
- รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้คงอยู่ต่อคนรุ่นหลังและตลอดไป
- สนุกสนานและคลายเครียด
- ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์