อุปกรณ์บันทึกเสียง Recording
อุปกรณ์บันทึกเสียง Recording
เรามีอุปกรณ์บันทึกเสียงตั้งแต่เริ่มต้นไปถึงมืออาชีพ เรายินดีช่วยคุณหาอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เหมาะกับการใช้งานของคุณมากที่สุด เรามีหน้าร้านถึง 6 สาขา
- แบรนด์อุปกรณ์บันทึกเสียงที่แนะนำ
- ประวัติอุปกรณ์บันทึกเสียง
- อุปกรณ์บันทึกเสียงเหมาะกับใคร
- การดูแลรักษาอุปกรณ์บันทึกเสียง
- วิธีการเลือกซื้ออุปกรณ์บันทึกเสียง
- ทำไมถึงต้องเลือกซื้ออุปกรณ์บันทึกเสียง
อุปกรณ์บันทึกเสียง Recording เป็นอุปกรณ์ในขั้นตอนสำคัญที่จะนำเอาเสียงร้องและเสียงดนตรีที่ได้เข้าสู่กระบวนการมิกซ์เสียงในคอมพิวเตอร์หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ อุปกรณ์บันทึกนั้นมีหลายแบบ เช่น ออดิโอ อินเตอร์เฟส, ลำโพงมอนิเตอร์, หูฟังมอนิเตอร์, ซอฟแวร์ต่างๆ เป็นต้น
แบรนด์อุปกรณ์บันทึกเสียงที่แนะนำ
Mackie
Westone
Focusrite
KRK
Presonus
ประวัติอุปกรณ์บันทึกเสียง
เครื่องบันทึกเสียงเกิดขึ้นมาอย่างยาวนานกว่า 200 ปี เริ่มจาก โทมัส เอดิสัน ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงเครื่องแรก โดยใช้หัวเข็ม 2 เข็มบนแท่งดีบุกทรงกระบอก เข็มหนึ่งสำหรับการบันทึกและอีกเข็มสำหรับการเปิดฟัง คำแรกที่บันทึกคือ “Mary had a little lamb” ในปี 1877 ก่อนที่อีก 10 ปีต่อมา อีมิล เบอร์ไลเนอร์เริ่มบันทึกเสียงบนแผ่นเสียงที่ทำจากครั่ง โดยบันทึกร่องเสียงลงไปในแนวนอนแทนแนวตั้งแบบแท่งทรงกระบอก และเริ่มคิดค้นการผลิตเป็นอุตสาหกรรม จนปี 1954 มีการทำเครื่องบันทึกเสียงสเตอริโอที่สามารถแยกเสียงซ้ายขวา เพิ่มมิติในการฟัง แผ่นเสียงสเตอริโอเข้ามาแทนที่การบันทึกเสียงแบบโมโนที่มีเสียงเป็นก้อน ๆ อันเดียว และมาเป็นรูปแบบ CD เมื่อ Sony และ Philips แนะนำ Compact Disc สู่ตลาด ซีดีกลายเป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลดิจิทัลได้หลายประเภท และกลายเป็นรูปแบบ mp3 ล่าสุดเมื่อปี 1998
อุปกรณ์บันทึกเสียงเหมาะกับใคร
- นักข่าวใช้บันทึกเสียงการสัมภาษณ์
- กิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น บันทึกรายการที่น่าสนใจจากวิทยุ และโทรทัศน์ การฝึกปฏิบัติการทางภาษาทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ
- ผู้ที่ทำเพลงด้วยตัวเอง
- สตูดิโอห้องซ้อมต่างๆที่ต้องการนำเสียงเหล่านี้ไปมิกซ์เพิ่ม
การดูแลรักษาอุปกรณ์บันทึกเสียง
- ควรทำความสะอาดอุปกรณ์บันทึกเสียงอยู่เสมอ
- ควรวางให้ห่างจากบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กรบกวน
- อย่าวางอุปกรณ์เครื่องเสียงใกล้น้ำหรือความชื้น เช่น ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ อ่างล้างมือ
- อย่าวางอุปกรณ์เครื่องเสียงใกล้แหล่งความร้อน เช่น ช่องระบายความร้อน เตาไฟ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ให้กำเนิดความร้อน ไม่ควรวางอุปกรณ์เครื่องเสียงในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศา หรือสูงกว่า 35 องศา
- ควรระมัดระวังไม่ให้อุปกรณ์บันทึกเสียงเกิดการกระแทก
วิธีการเลือกซื้ออุปกรณ์บันทึกเสียง
- ควรเลือกเครื่องบันทึกเสียงที่เหมาะกับการใช้งาน ควรเลือกซื้อเครื่องบันทึกเสียงที่สามารถทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบ ที่จะทำให้เรานำมาทำงานได้ง่ายมากขึ้น เช่น สามารถดูดเสียงรอบข้างได้ดี ฟังรายละเอียดของงานได้ชัดเจน และใช้งานอื่นๆได้ด้วย เช่น เป็นทั้งเครื่องอัดเสียง และ เป็นเครื่องฟังเพลง MP3 ได้เพื่อให้เป็นการใช้งานที่หลากหลายนั่นเอง
- ระยะเวลาในงานที่ต้องการใช้เครื่องบันทึกเสียง ควรคำนวณและพิจารณาให้ดีเสียก่อนว่า จุดประสงค์ในการที่จะนำมาใช้งานว่าจะนำมาใช้งานในแบบใด และใช้งานได้นานต่อเนื่องเป็นระยะเวลากี่ชั่วโมง เพราะในแต่ละรุ่น แต่ละแบบ การใช้งานได้ต่อเนื่องก็จะแตกต่างกัน
- คำนวนถึงการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลของเครื่องบันทึกเสียง ในแบบก่อนเครื่องบันทึกเสียงทำได้เพียงแค่จัดเก็บไฟล์ที่บันทึกมาเท่านั้น แต่ปัจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องบันทึกเสียงให้จัดเก็บไฟล์ได้มากขึ้น เช่นเอกสาร และภาพ รวมทั้ง เสียง และยังเชื่อมต่อผ่าน USB ได้อีกด้วย จึงควรเลือกซื้อเครื่องบันทึกเสียงให้เหมาะกับการต้องนำไปทำงานให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
ทำไมถึงต้องเลือกซื้ออุปกรณ์บันทึกเสียง
- เพื่อการผลิตคอนเท้นต์ที่ต้องการเน้นคุณภาพเสียงเป็นหลัก เช่น การอัดดนตรี การอัดเสียงร้อง การนำไปใช้แสดงสดบนเวที
- เพื่อการใช้งานบันทึกเสียงต่างๆ เช่น การสรุปหัวข้อในที่ประชุม หรือการสัมภาษณ์
- สามารถใช้งานคู่กับซอฟแวร์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานบันทึกเสียงมากขึ้น