อุปกรณ์บันทึกเสียง Recording
Audio controller
 Signal Processing
 มิกเซอร์ Mixer
 Preamps & Channel Strips
 Control Surfaces
 แอมป์หูฟัง Headphone Amplifier
 Compressor
 ลำโพงมอนิเตอร์ Studio Monitor
 ชุดบันทึกเสียง Recording Set
 Software Music
 เครื่องอัดวีดีโอ Video Recorder
 หูฟังมอนิเตอร์ Studio Monitor Headphones
 ออดิโอ อินเตอร์เฟส Audio Interface
 เครื่องอัดเสียง
 ซอฟต์แวร์สำหรับบันทึกเสียง
 อุปกรณ์บันทึกเสียง Recording
อุปกรณ์บันทึกเสียง Recording
เรามีอุปกรณ์บันทึกเสียงตั้งแต่เริ่มต้นไปถึงมืออาชีพ เรายินดีช่วยคุณหาอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เหมาะกับการใช้งานของคุณมากที่สุด เรามีหน้าร้านถึง 6 สาขา
- แบรนด์อุปกรณ์บันทึกเสียงที่แนะนำ
- ประวัติอุปกรณ์บันทึกเสียง
- อุปกรณ์บันทึกเสียงเหมาะกับใคร
- การดูแลรักษาอุปกรณ์บันทึกเสียง
- วิธีการเลือกซื้ออุปกรณ์บันทึกเสียง
- ทำไมถึงต้องเลือกซื้ออุปกรณ์บันทึกเสียง
อุปกรณ์บันทึกเสียง Recording เป็นอุปกรณ์ในขั้นตอนสำคัญที่จะนำเอาเสียงร้องและเสียงดนตรีที่ได้เข้าสู่กระบวนการมิกซ์เสียงในคอมพิวเตอร์หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ อุปกรณ์บันทึกนั้นมีหลายแบบ เช่น ออดิโอ อินเตอร์เฟส, ลำโพงมอนิเตอร์, หูฟังมอนิเตอร์, ซอฟแวร์ต่างๆ เป็นต้น
แบรนด์อุปกรณ์บันทึกเสียงที่แนะนำ
Mackie
Westone
Focusrite
KRK
Presonus
ประวัติอุปกรณ์บันทึกเสียง
เครื่องบันทึกเสียงเกิดขึ้นมาอย่างยาวนานกว่า 200 ปี เริ่มจาก โทมัส เอดิสัน ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงเครื่องแรก โดยใช้หัวเข็ม 2 เข็มบนแท่งดีบุกทรงกระบอก เข็มหนึ่งสำหรับการบันทึกและอีกเข็มสำหรับการเปิดฟัง คำแรกที่บันทึกคือ “Mary had a little lamb” ในปี 1877 ก่อนที่อีก 10 ปีต่อมา อีมิล เบอร์ไลเนอร์เริ่มบันทึกเสียงบนแผ่นเสียงที่ทำจากครั่ง โดยบันทึกร่องเสียงลงไปในแนวนอนแทนแนวตั้งแบบแท่งทรงกระบอก และเริ่มคิดค้นการผลิตเป็นอุตสาหกรรม จนปี 1954 มีการทำเครื่องบันทึกเสียงสเตอริโอที่สามารถแยกเสียงซ้ายขวา เพิ่มมิติในการฟัง แผ่นเสียงสเตอริโอเข้ามาแทนที่การบันทึกเสียงแบบโมโนที่มีเสียงเป็นก้อน ๆ อันเดียว และมาเป็นรูปแบบ CD เมื่อ Sony และ Philips แนะนำ Compact Disc สู่ตลาด ซีดีกลายเป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลดิจิทัลได้หลายประเภท และกลายเป็นรูปแบบ mp3 ล่าสุดเมื่อปี 1998
อุปกรณ์บันทึกเสียงเหมาะกับใคร
- นักข่าวใช้บันทึกเสียงการสัมภาษณ์
- กิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น บันทึกรายการที่น่าสนใจจากวิทยุ และโทรทัศน์ การฝึกปฏิบัติการทางภาษาทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ
- ผู้ที่ทำเพลงด้วยตัวเอง
- สตูดิโอห้องซ้อมต่างๆที่ต้องการนำเสียงเหล่านี้ไปมิกซ์เพิ่ม
การดูแลรักษาอุปกรณ์บันทึกเสียง
- ควรทำความสะอาดอุปกรณ์บันทึกเสียงอยู่เสมอ
- ควรวางให้ห่างจากบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กรบกวน
- อย่าวางอุปกรณ์เครื่องเสียงใกล้น้ำหรือความชื้น เช่น ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ อ่างล้างมือ
- อย่าวางอุปกรณ์เครื่องเสียงใกล้แหล่งความร้อน เช่น ช่องระบายความร้อน เตาไฟ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ให้กำเนิดความร้อน ไม่ควรวางอุปกรณ์เครื่องเสียงในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศา หรือสูงกว่า 35 องศา
- ควรระมัดระวังไม่ให้อุปกรณ์บันทึกเสียงเกิดการกระแทก
วิธีการเลือกซื้ออุปกรณ์บันทึกเสียง
- ควรเลือกเครื่องบันทึกเสียงที่เหมาะกับการใช้งาน ควรเลือกซื้อเครื่องบันทึกเสียงที่สามารถทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบ ที่จะทำให้เรานำมาทำงานได้ง่ายมากขึ้น เช่น สามารถดูดเสียงรอบข้างได้ดี ฟังรายละเอียดของงานได้ชัดเจน และใช้งานอื่นๆได้ด้วย เช่น เป็นทั้งเครื่องอัดเสียง และ เป็นเครื่องฟังเพลง MP3 ได้เพื่อให้เป็นการใช้งานที่หลากหลายนั่นเอง
- ระยะเวลาในงานที่ต้องการใช้เครื่องบันทึกเสียง ควรคำนวณและพิจารณาให้ดีเสียก่อนว่า จุดประสงค์ในการที่จะนำมาใช้งานว่าจะนำมาใช้งานในแบบใด และใช้งานได้นานต่อเนื่องเป็นระยะเวลากี่ชั่วโมง เพราะในแต่ละรุ่น แต่ละแบบ การใช้งานได้ต่อเนื่องก็จะแตกต่างกัน
- คำนวนถึงการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลของเครื่องบันทึกเสียง ในแบบก่อนเครื่องบันทึกเสียงทำได้เพียงแค่จัดเก็บไฟล์ที่บันทึกมาเท่านั้น แต่ปัจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องบันทึกเสียงให้จัดเก็บไฟล์ได้มากขึ้น เช่นเอกสาร และภาพ รวมทั้ง เสียง และยังเชื่อมต่อผ่าน USB ได้อีกด้วย จึงควรเลือกซื้อเครื่องบันทึกเสียงให้เหมาะกับการต้องนำไปทำงานให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
ทำไมถึงต้องเลือกซื้ออุปกรณ์บันทึกเสียง
- เพื่อการผลิตคอนเท้นต์ที่ต้องการเน้นคุณภาพเสียงเป็นหลัก เช่น การอัดดนตรี การอัดเสียงร้อง การนำไปใช้แสดงสดบนเวที
- เพื่อการใช้งานบันทึกเสียงต่างๆ เช่น การสรุปหัวข้อในที่ประชุม หรือการสัมภาษณ์
- สามารถใช้งานคู่กับซอฟแวร์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานบันทึกเสียงมากขึ้น