Author Archives: ZunWu
การปรับซาวด์หน้าตู้และชนิดเอฟเฟ็ค
เอฟเฟคกีต้าร์ถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆของมือกีต้าร์ไฟฟ้า เพราะนอกจากตัวกีต้าร์จะได้คุณภาพแล้ว การปรับซาวด์จากตู้ แอมป์และเอฟเฟ็คก็มีส่วนอย่างมาก การปรับซาวด์หน้าตู้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่มือกีต้าร์ต้องเรียนรู้ อีกทั้งชนิดของเอฟเฟคเองก็มี หลายแบบให้เลือกใช้งานตามประเภทแนวดนตรี วันนี้จึงจะบอกถึง Tone หน้าตู้และชนิดเอฟเฟคแต่ละประเภทว่าให้ เสียงอย่างไร
Tone Controls หน้าตู้
ปกติแล้วตู้แอมป์กีต้าร์ไฟฟ้าจะมีแผง EQ (equaliser) 3 ย่านเสียงคือ Treble (เสียงแหลม)
Middle (เสียงกลาง) และ Bass (เสียงทุ้ม) ซาวด์ Treble จะให้เสียงที่คมชัดมากขึ้นซึ่งปกติแล้วจะปรับที่ ระดับ 5-6 ส่วนซาวด์ Middle จะให้เสียงแบบร็อคซาวด์ ซึ่งปกติแล้วจะปรับกันที่ 3-4 และ ซาวด์ Bass คือซาวเสียงทุ้มที่มักปรับกันที่ระดับ 6-7 ยกเว้นแอมป์ขนาดเล็กที่ซาวด์จะบาง จึงต้องปรับ 7-8 ในบางรุ่น
นอกจากนี้แอมป์ยังมีส่วนของ Gain และ Overdrive คือทำเสียงให้แตกไว้ใช้ในแนวดนตรีร็อค เมื่อก่อนจะเป็น เอฟเฟ็คชนิดหนึ่งซึ่งค่ายแรกๆที่ทำออกมาคือ Boss ปัจจุบันได้เอาฟังค์ชั่นนี้ใส่ไว้ในตู้แอมป์ด้วยเพราะมีการใช้อย่างแพร่หลาย ปกติก็จะปรับได้ถึง 10 ระดับตามความแตกและดุของเสียง ซึ่งแตกต่างกันไปตามแนวดนตรี ถ้าต้องการร็อคหนักๆก็ต้อง ปรับเยอะ หรือถ้าเป็นบลูส์เบาๆก็อาจปรับแค่ 3-4 เท่านั้น
ชนิดของเอฟเฟค
ปัจจุบันเอฟเฟคที่เป็นระบบดิจิตอลได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะสะดวกต่อการใช้งานและพกพา แต่ยังมีกลุ่มนักดนตรีที่ชื่นชอบ การแยกเอฟเฟคแบบก้อนอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะมือกีต้าร์ที่เล่นอาชีพตามเวทีใหญ่ๆ เพราะเอฟเฟคแบบก้อนจะมีการตัดและต่อ ย่านเสียงเข้าตู้แอมป์โดยตรง ทำให้ซาวด์แต่ละประเภทชัดเจนไม่ถูกรบกวน เอฟเฟคแบบก้อนก็จะมีหลายชนิด เช่น
Reverb
เป็นซาวด์ที่ทำให้เสียงก้องขึ้นเหมือนเล่นอยู่ในห้อง ปกติแล้วมักจะใช้ควบคู่กับเสียงคลีนเพื่อเพิ่มความหนาให้กับซาวด์กีต้าร์ ลักษณะเสียงจะคล้าย Echo หรือเข้าใจง่ายๆว่าเสียงซ้อนกันทำให้ฟังแล้วหนาขึ้นนั่นเอง ปกติแล้วค่า Reverb มักจะ ปรับที่ 2-4 คือไม่มากเท่าไหร่นัก
Delay
หลายๆคนอาจจะรู้ว่า Delay คล้ายๆ Reverb แต่ Delay จะเป็นลักษณะเสียงสะท้อน เช่น เล่นโน๊ตตัวหนึ่งแล้ว อีกประมาณ 1 วินาทีจะมีเสียงโน๊ตตัวนั้นซ้อนขึ้นมาในหางเสียงของเสียงแรก ลักษณะการสะท้อนจะเหมือนเสียงในถ้ำแตกต่างจาก Reverb เพราะเสียงจะเป็นลักษณะ”ตาม” ไม่ใช่การ”ซ้อน”แบบ Reverb ปกติจะปรับกันที่ 5-6
Chorus
ซาวด์นี้ลักษณะตรงตามชื่อคือเหมือนมีคอรัสเบาๆคลอไปด้วย มือกีต้าร์ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเสียงกีต้าร์หวานขึ้น มักจะใช้ในดนตรี แจ๊ส เพราะเสียงจะฟังดูลึกมีมิติ ปกติแล้วปรับที่ 3-4 หรือถ้าเป็นแนวแจ๊สก็อาจจะตั้งไว้เยอะขึ้น ปัจจุบันคอรัสค่อนข้างได้รับความนิยมเพราะทำให้ซาวด์กีต้าร์ฟังดูเต็มหรือแน่นขึ้น อีกทั้งการปรับคอรัสมากนั้นไม่ค่อยทำให้ซาวด์เปลี่ยนเหมือนดีเลย์ จึงเลือกตั้งค่าได้ตามความชอบใจ
Flanger
เอฟเฟคแบบนี้จะให้ซาวด์ที่แตกต่างออกไปอย่างเด่นชัด เพราะตัวนี้จะเป็นการปรับความถี่ของเสียงให้ช้าหรือเร็วขึ้น เสียงเวลากดเอฟเฟคจึงเป็นเสียงคล้ายรถวิ่งหรือเสียงเครื่องบินเพราะมีการแปลงความถี่มาแล้ว ซาวด์จะมีลักษณะแกว่งๆจนบางคนให้คำนิยามว่าเสียงจะเป็นแบบ “หมุน” รอบตัวผู้ฟัง
Wah-Wah
บ้านเราเรียกว่าวาล์ว ซึ่งเอฟเฟคชนิดนี้มักจะต่อแยกออกมา การกดจะเป็นแป้นสวิทช์เท้าสามารถควบคุมเสียงเปิด-ปิดได้ตามจังหวะ เสียงจะถูกปรับย่านความถี่ให้ฟังดูแปลกๆไป ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเสียงมีความ”บวม”ขึ้น มักใช้เป็นลูกเล่นในเพลงหลายๆแนว
ทั้งหมดคือเอฟเฟคที่มักจะนิยมใช้ในหมู่มือกีต้าร์ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเอฟเฟคแบบมัลติหรือแบบก้อนก็มักจะมีเสียงเหล่านี้ติดไว้เพราะทำให้เล่นได้หลากหลายแนวมากขึ้น ดังนั้นหากรู้จักเลือกใช้เอฟเฟครูปแบบต่างๆซาวด์กีต้าร์ก็จะออกมามีมิติมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองเหมือนมือกีต้าร์ดังๆที่พอฟังจะรู้ทันทีว่าใครเล่น ดังนั้นนอกจากการฝึกซ้อมแล้วก็อย่าละเลยเรื่องการปรับหน้าตู้และเอฟเฟคกันด้วยนะจ๊ะ
ขอบคุณบทความจาก goodnightkiss
ขอบคุณรูปภาพจาก guitarchulk, Boss, bestguitar
5 เหตุผลที่ต้องเลือก Stratocaster !!!
วันก่อนทาง Music Arms ได้พูดถึงข้อดี 5 ข้อของกีต้าร์ทรง Les Paul กันไปแล้ว ทีนี้สาวก Stratocaster หรือสาย Fender คงไม่ต้องน้อยใจ เพราะวันนี้ Music Arms จะมาบอกข้อดี 5 ข้อของทางทรงนี้เช่นกัน ซึ่งต้องเกริ่นก่อนว่าทรงนี้เหมือนเป็นซิกเนเจอร์ของแบรนด์ยอดฮิตอย่าง Fender เนื่องจากทำมาเป็นเจ้าแรก ก่อนที่แบรนด์อื่นๆจะหยิบยืมไปใช้ในการทำกีต้าร์บ้าง นั่นแสดงให้เห็นว่าทรง Stratocaster นั้นย่อมต้องมีดีในวงกว้างไม่แพ้ทรง Les Paul ซึ่งเราจะหยิบยกข้อดีมาเป็นข้อๆได้ดังนี้
1. น้ำหนักของกีต้าร์
หลายๆคนที่เคยจับทั้ง Les Paul และ Strat จะทราบกันดีว่า ทรง Strat มีน้ำหนักที่เบากว่ามาก น้ำหนักเฉลี่ยของ Stratocaster อยู่ที่ 7-8 ปอนด์เท่านั้นในขณะที่ทรง Les Paul หนักถึง 9-11 ปอนด์ ดังนั้นเวลาสะพายกีต้าร์เล่นนานๆการเลือกซื้อทรง Strat ย่อมได้เปรียบกว่า รวมไปถึงความสะดวกในการพกพาไปไหนมาไหนอีกด้วย
2. อะไหล่สำรอง
ด้วยความเป็นทรงยอดฮิตอันดับหนึ่งของโลก ทำให้ Stratocaster เองมีอะไหล่จำลองค่อนข้างมาก ถ้าเป็นพวกสายชอบปรับแต่งกีต้าร์แล้วมักจะเน้นไปที่ทรงนี้มากกว่า เพราะวงจรไฟฟ้าภายในของ Strat ไม่ซับซ้อนเท่ากับ Les Paul รวมไปถึงร้านรับทำกีต้าร์ต่างๆที่มักจะคิดค่าซ่อมหรือทำของ Strat ถูกกว่าทรงอื่นๆ ทำให้ทรงนี้เหมาะสำหรับทั้งมือใหม่ที่กลัวจะหาอะไหล่กีต้าร์เปลี่ยนไม่ได้ รวมไปถึงมือเก๋าขาโมนั่นเอง
3. ความหลากหลายของย่านซาวด์
กว่า 90%ของ Stratocaster จะมีปิ๊กอัพ 3 ทาง คือปิ๊กอัพหน้า (ส่วนคอ) ปิ๊กอัพกลาง (ส่วนบอดี้) และปิ๊กอัพหลัง (ส่วนบริดจ์) รวมไปถึงสวิทช์ปรับแต่งได้ 5 ซีเล็คชั่น นั่นทำให้ทรง Strat นั่นมีย่านซาวด์ที่ค่อนข้างกว้างกว่าทรงอื่นอย่างเห็นได้ชัด และหากใครอยากให้เสียงหนาขึ้นก็สามารถเปลี่ยนตัวหลังเป็นแบบ Hambuckers ก็ได้เพราะตามที่เกริ่นไปแล้วว่าวงจรไฟฟ้าของ Strat ไม่ยุ่งยาก ทำให้ไม่ว่าจะเป็นนักดนตรีแนวบลูส์ ร็อค แจ๊ส ต่างก็ชื่นชอบซาวด์ของทรง Strat จนมีคำพูดติดปากว่าถ้าเป็นมือใหม่ให้ซื้อ Stratocaster ไว้ก่อนเพราะเล่นได้กว้างหลายแนวนั่นเอง
4. คอและฟิงเกอร์บอร์ด
คอของทรง Strat มักจะมีขนาดบางกว่า Les Paul ซึ่งตอบโจทย์ของมือกีต้าร์ได้หลากหลายแนว บางคนที่ชอบโซโล่ไวๆคงไม่ชอบคอที่อ้วนกลมซึ่งจับยาก หรือหากเป็นแนวดันสายก็ยังสามารถเล่นคอของ Stratocaster ได้แบบไม่เคอะเขิน รวมไปถึงเนื้อไม้ที่มีผลต่อย่านซาวด์อีกด้วยเพราะส่วนใหญ่ Les Paul จะไม่ใช้ไม้เมเปิ้ล แต่ทางฝั่ง Strat กลับเลือกใช้ไม้ชนิดนี้มาทำส่วนคอซะมาก ทำให้คอทรง Strat จึงให้ย่านเสียงกลางไปทางเสียงสูงซะเป็นส่วนใหญ่ ความชัดตัวตัวโน๊ตแต่ละเสียงค่อนข้างใสมากกว่าคอไม้มะฮอกกานี
5. ราคา
ข้อสุดท้ายนี่น่าจะเป็นสิ่งสำคัญเกือบที่สุดของคนที่คิดจะซื้อกีต้าร์ เพราะเกือบทุกยี่ห้องเวลาทำทรง Les Paul ออกมามักจะมีราคาที่สูงกว่าทรงอื่นซักเล็กน้อยเนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบทรง Les Paul เป็นการส่วนตัว แต่ถ้าหากคุณเป็นสาวก Stratocaster แล้วปัญหานี้จะหมดไปเพราะทรง Strat จะมีราคาที่ถูกกว่าทรงอื่นไม่ว่าจะเป็น SG, Les Paul, หรือจากัวร์อย่างแน่นอน จึงเป็นการประหยัดงบสำหรับการเลือกซื้อกีต้าร์สเป็คดีๆเท่าๆกันในราคาที่ย่อมเยากว่านั่นเอง
ขอบคุณบทความจาก spinditty
ขอบคุณรูปภาพจาก spinditty, Axecaster, Guitarrepair
มารู้จักไม้ทำกีต้าร์กันเถอะ
กีต้าร์ที่เราใช้โดยส่วนใหญ่นั้นมักมีส่วนประกอบทำมาจากไม้แทบทั้งสิ้น โดยทั่วไปจะผลิต 2 ส่วนคือตัวบอดี้และส่วนคอ ซึ่งไม้แต่ ละชนิดก็จะให้เสียงที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะเฉพาะตัวของไม้นั้นๆ ดังนั้นการรู้จักซาวด์ของไม้ถือเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยในการเลือกซื้อกีต้าร์ที่ดีหรือตรงกับแนวดนตรีที่เล่นอยู่ จึงจะขออธิบายซาวด์ของไม้แต่ละประเภทคร่าวๆดังนี้
ไม้เอลเดอร์ Alder Wood
ถือเป็นไม้ยอดฮิตที่นำมาทำเป็นส่วนบอดี้กีต้าร์ในยุค 50′ จนถึงยุค 60′ มีน้ำหนักค่อนข้างเบาลวดลายไม้สวยงาม เสียงที่ออกมาค่อนข้างคลีนใสและชัด ย่านเสียงค่อนข้างเต็มทั้งทุ้มและแหลม โดยเสียงกลางอาจจะเบาเล็กน้อย ลักษณะซาวด์ทุ้มและแหลมจะผสมกันลงตัวทำให้ออกมาเสียงหวาน ข้อเสียคือความต่อเนื่องของเสียง (sustain) จะไม่กว้าง
ไม้แอช Ash Wood
เป็นไม้ที่ทาง Fender นำไปใช้ทำบอดี้กีต้าร์ในช่วงปี 60′ ซึ่งถ้าใครเคยได้ยินเสียงของ Fender ยุคนี้ก็จะทราบลักษณะซาวด์ของไม้ได้ดีเพราะเป็นเอกลักษณ์ของ Fender ไปแล้ว เสียงกลางจะชัดกว่าไม้เอลเดอร์ค่อนไปทางทุ้มเล็กน้อยทำให้เล่นได้ทุกแนวดนตรีและความต่อเนื่องของเสียงจะมากกว่าไม้เอลเดอร์
ไม้เบสวู้ด Basswood
เป็นไม้ที่ราคาไม่แพงทำให้มักจะนำมาผลิตกีต้าร์แบรนด์ระดับล่าง แต่ไม้เบสวู้ดเองหากปลูกในภูมิประเทศที่เหมาะสมก็จะให้เสียงที่ดีเช่นกัน ข้อเสียของไม้ชนิดนี้คือค่อนข้างดูดน้ำทำให้ชื้นง่ายและแห้งยาก โทนเสียงจะให้ความรู้สึกอบอุ่นและซาวด์ค่อนข้างแหลมบาง
ไม้คอริน่า Korina Wood
เป็นไม้ที่ปลูกในแอฟริกาเป็นส่วนใหญ่ จุดเด่นของไม้ลักษณะนี้คือให้เสียงที่ค่อนข้างทุ้มกว่าไม้มะฮอกกานี และให้เสียง sustain ค่อนข้างกว้าง แบรนด์ดังอย่าง Gibson เคยนิยมนำไม้ชนิดนี้มาทำกีต้าร์ในยุค 50′ ก่อนจะปรับมาใช้ไม้มะฮอกกานีในช่วงหลัง ซึ่งปัจจุบันไม้คอริน่าหรือที่เรียกอีกชื่อว่าไม้ลิมบามีกจะถูกนำไปใช้ทำเบสมากกว่า
ไม้มะฮอกกานี Mahogany Wood
เป็นไม้ที่ทาง Gibson นำมาผลิตกีต้าร์ในยุคปัจจุบัน ซาวด์จึงออกมาในรูปแบบของกิ๊กสันแท้ๆคือหนาและนุ่มลึก เพราะไม้มะฮอกกานีเป็นไม้เสียงทุ้ม แต่ค่อนข้างหนัก ปัจจุบันทาง Gibson เองได้มีกรรมวิธีผลิตโดยผสมไม้เมเปิ้ลควบคู่ไปด้วยทำให้ซาวด์ออกมาบางลงเล็กน้อยมีความเป็นกลางมากขึ้น
ไม้เมเปิ้ล Maple Wood
สมัยก่อนเป็นที่นิยมปลูกกันมากในทางเหนือของอเมริกา เป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบาและให้ย่านเสียงที่ค่อนข้างนุ่มใสเป็น ไม้ที่นิยมมาใช้เป็นส่วนประกอบของกีต้าร์มากกว่าเป็นไม้หลัก เช่น ประกบกับไม้ชนิดอื่นๆเพื่อเป็นการผสมซาวด์ให้ลงตัวมากขึ้น ปัจจุบันมีการปลูกอย่างแพร่หลายในทวีปเอเชียแต่ซาวด์จะไม่เหมือนของฝั่งอเมริกา เพราะเมเปิ้ลเอเชียซาวด์จะกระด้างไปทางแนวดนตรีร็อคมากกว่าสืบเนื่องมาจากภูมิประเทศในการปลูก
ไม้โรสวู้ด Rosewood
เป็นไม้ที่ให้เสียงดีแบบอะคลูสติคซาวด์ออกมาชัดและใส แต่ไม่นิยมนำมาใช้ทำบอดี้เพราะน้ำหนักมาก ทาง Fender เคยนำมาใช้เป็นส่วนบอดี้ในช่วงปี 1969 – 1972 และเนื่องจากกีต้าร์หนักจึงเลิกใช้ไม้ชนิดนี้ผลิตบอดี้ ปัจจุบันไม้โรสวู้ดมักจะใช้เป็นส่วนฟิงเกอร์บอร์ดเสียมากกว่าเนื่องจากน้ำหนักราคาค่อนข้างสูง การนำไม้โรสวู้ดไปประกบกับไม้ช่วงคอแบบอื่นก็จะช่วยเพิ่มความชัดและใสให้กับเนื้อเสียงกีต้าร์อีกด้วย
นอกจากนี้ก็ยังมีไม้แบบอื่นๆที่มักจะใช้ผลิตเช่น ไม้สปรูซ หรือไม้ตะกูลไม้สนที่ให้น้ำหนักเบาและเสียงชัดออกมาเป็นเม็ดๆ แต่ไม้ชนิดนี้มักจะใช้ทำกีต้าร์โปร่งมากกว่า หรือปัจจุบันก็จะมีไม้สังเคราะห์มาใช้ในการผลิตกีต้าร์ราคาถูกอีกด้วย ซึ่งคุณภาพเสียงอาจลดลั่นกันไปตามราคา ซึ่งหากมีความรู้เรื่องไม้ที่ใช้ผลิตแล้ว ก็จะทำให้สามารถเลือกกีต้าร์ที่มีคุณภาพสมราคาตามแนวดนตรีที่ชอบได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณบทความจาก guitarplayer
ขอบคุณรูปภาพจาก kingsmere, chasingguitar และ luthierssupplies
8 ข้อหลักที่มือเบสต้องรู้ !!!
เบสถือเป็นเครื่องดนตรีสำคัญอย่างหนึ่งในวงเพราะมีหน้าที่ควบคุมทั้งซาวด์และจังหวะรวมไปถึงการประสานกับเพื่อนร่วมวงทั้งกีต้าร์ กลอง และคีย์บอร์ด ทำให้มีหลายคนชื่นชอบในเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ยังมีนักดนตรีอีกไม่น้อยที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการเล่นเบส จึงขอนำเสนอเกร็ดน่ารู้เล็กๆ 8 ข้อที่ช่วยพัฒนาและเป็นแนวทางในการเล่นเบสมาฝากกัน
1. เล่นให้สัมพันธ์กับกระเดื่องกลอง
ถ้าหากว่าเป็นมือใหม่สิ่งแรกที่มือเบสควรจะทำคือเล่นให้เข้ากับจังหวะกระเดื่องเสียก่อน อันที่จริงแล้วจะเล่นจนชำนาญแค่ไหนการยึดจังหวะจากกระเดื่องก็เป็นสิ่งสำคัญแต่มืออาชีพสายโหดอาจจะมีโซโล่หรือเล่นตามไล์กีต้าร์บ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการดีดให้เข้าจังหวะกับกระเดื่องเป็นพื้นฐานที่มือเบสทุกคนควรตระหนักไว้
2. เล่นให้เข้ากับวง
แน่นอนว่าเบสเป็น 1 ในตัวคุมจังหวะของวง ดังนั้นการที่เล่นให้วง”แน่น”ถือเป็นหัวใจของมือเบส มืออาชีพหลายๆคนอาจจะไม่ได้โชว์ลูกเล่นที่หวือหวาสักเท่าไหร่นักแค่เล่นตามคอร์ดปกติแต่ฟอร์มวงออกมาดี นั่นแสดงถึงความสามัคคีและรู้หน้าที่กันในวง มือเบสที่ดีจึงจะเหมือนผู้อยู่เบื้องหลังวงอย่างแท้จริง
3. ต้องใช้ลูกเล่นให้เป็น
ถ้าอ่านจากที่เกริ่น 2 ข้อแรกหลายคนอาจเข้าใจผิดว่ามือเบสต้องเล่นแบบทื่อๆ แต่ความเป็นจริงแล้วการเล่นเบสต้องสอดแทรกความลื่นไหลของตัวโน๊ตลงไปในเพลงด้วย การใส่ root notes ลงไปในถ้าทำให้เพลงมีความลงตัวเช่น จากคอร์ด G ไป คอร์ด D มือเบสก็อาจจะเล่น G -> A -> B-> D เพื่อความต่อเนื่องได้ ไม่ใช่ว่าดีดดุ่มๆทื่อตามคอร์ดก็จะทำให้วงเล่นยากขึ้น
4. อย่าเล่นแบบกีต้าร์โซโล่
หากคุณรักจะเป็นมือเบสแล้วต้องยอมรับกับความเป็นป๋าดันของวง มือเบสอาชีพที่มีชื่อเสียงระดับโลกต้องรู้หน้าที่ในแต่ละบทเพลง การเล่นตามโน๊ตและคุมจังหวะให้เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของเบสอยู่แล้ว ดังนั้นหากมือเบสจะโซโล่ต้องเป็นจังหวะที่เหมาะสมจริงเท่านั้นไม่เหมือนกีต้าร์ที่จะมีไลน์โซโล่แทบทุกเพลง สำหรับมือเบสแล้ว rhythm คือสิ่งสำคัญกว่า solo
5. จังหวะคือสิ่งสำคัญที่สุด
เบสเป็นเครื่องดนตรีที่ประสานระหว่างจังหวะและตัวโน๊ต ดังนั้นไม่ว่าจะเล่น Rift หรือเดินตามคอร์ดก็ตาม ต้องตระหนักไว้ว่าจังหวะหรือทาร์มมิ่งคือสิ่งที่สำคัญที่สุด การเล่นเบสที่จึงควรเริ่มต้นฝึกด้วย metronome ให้ชำนาญเสียก่อน
6. เล่นให้ได้อารมณ์เพลง
ซาวด์ของเบสอาจจะฟังดูทุ้มและทื่อกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่น แต่หากเล่นเข้ากับจังหวะและเลือกใช้โน๊ตที่ถูกต้องถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีมิติเช่นกัน การที่คนฟังเสพย์ดนตรีนั้นอารมณ์เพลงถือเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ดังนั้นการฝึกซ้อมเบสนอกจากจังหวะและลูกเล่นแล้วต้องไม่ลืมสำเนียงหรือการเข้าถึงอารมณ์ของเพลงอีกด้วย
7. การควบคุมซาวด์
อย่าได้คิดว่าเบสมีแค่เสียงเดียวเท่านั้น ปัจจุบันนี้เอฟเฟ็คที่ใช้กับเบสก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้นเพราะการเล่นเบสให้เข้ากับดนตรีแต่ละแนวเสียงที่ออกมาจะไม่เหมือนกัน มือเบสที่ดีต้องใช้น้ำหนักนิ้วให้เหมาะกับเพลงเพื่อให้ได้เสียงตามชนิดดนตรี เช่น เล่นแนวแจ๊สก็ไม่ควรดีดแรงจนเสียงออกมาเป็นแนวร็อค
8. ความมั่นใจ
ถ้าหากว่าเล่นเบสได้ตาม 7 ข้อที่กล่าวมาแล้ว ความมั่นใจคือสิ่งสุดท้ายที่จะช่วยเติมเต็มการเล่นให้สมบูรณ์แบบ หากมือเบสไม่มีความมั่นใจแล้วซาวด์ที่ออกมาจะฟังไม่ชัดเจน ดังนั้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจต้องหมั่นขยันฝึกซ้อมโดยไม่ลืมเกร็ด 7 ข้อแรกที่กล่าวมา ถ้าหากนักดนตรีซ้อมมาอย่างหนักมีความสามัคคีในวงดีเยี่ยมแล้วจะเล่นด้วยมั่นใจเต็มเปี่ยม เมื่อนั้น band performance ของวงก็จะมีคุณภาพ มีความหนักแน่นและเข้าถึงอารมณ์เพลงอย่างเต็มที่
ขอบคุณบทความจาก musicademy
ขอบคุณรูปภาพจาก wikihow, sweetwater
การเลือกไม้กลองให้เหมาะกับตนเอง
สำหรับมือกลองนอกจากลองชุดคู่ใจของตนเองแล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกไม้กลองก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยเสริมความถนัดและฝีมือตนเองไปด้วย การใช้ไม้กลองที่ถนัดมือก็จะช่วยสร้างความมั่นใจในการเล่นได้มากขึ้น และหากเลือกไม้ตรงกับประเภทดนตรีก็จะเสริมซาวด์และจังหวะให้กลมกลืนไปกับวงได้อีกด้วย ดังนั้นเราจะมาบอกเทคนิคการเลือกไม้กลองในสไตล์ที่ต้องการแล้วควรรู้กันดังนี้
1. ขนาดไม้
ขนาดไม้กลองถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างแรกเพราะมือกลองย่อมต้องการความเหมาะมือและกระชับเวลาจับ โดยไม้กลองส่วนใหญ่จะมีขนาดรุ่นบอกอยู่แล้วเช่น 3S, 2B หรือ 5A ความหมายก็คือยิ่งตัวเลขมากขนาดเส้นรอบวงของไม้กลองก็จะเล็กลง เช่น 7A ก็จะมีขนาดเล็กกว่า 5A แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูตัวอักษรอังกฤษเป็นหลักว่าเป็นไม้กลองรูปแบบใด เช่น 3S จะมีเส้นรอบวงที่ใหญ่กว่า 2A เป็นต้น
ตัวอักษรชนิดไม้กลองจะมี 3 แบบ คือ S, A และ B ซึ่งการใช้งานก็จะแตกต่างออกไปดังนี้
แบบ S จะเป็นไม้กลองขนาดใหญ่หรือเรียกว่าไม้กลอง street สวนใหญ่จะใช้กับวงขนาดใหญ่เช่นวงโยธวาทิตหรือกองพลกลองในหน่วยทหาร สาเหตุที่ใช้กับวงเหล่านี้เพราะไม้กลองชนิดนี้จะให้เสียงดังกังวานเหมาะกับวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีหลายประเภทและต้องการความดังในการตี
แบบ B จะเป็นไม้กลองมาตรฐานทั่วไปเรียกว่าไม้กลอง band หรือสำหรับเล่นวงดนตรีตามปกติ ขนาดยอดนิยมของรุ่นี้คือ 2B ที่มือกลองทั่วไปมักจะเลือกใช้กัน แบบ B ถือเปนมาตรฐานเพราะสามารถเล่นได้ทุกแนวดนตรี แบบ A จะเป็นไม้กลองที่ขนาดเส้นรอบวงเล็กที่สุด ส่วนใหญ้ไม้กลองไซส์นี้จะนิยมในหมู่คนเล่นดนตรีแจ๊สเพราะต้องการน้ำหนักที่เบาและกระชับเหมาะมือ แต่ก็มีบางกลุ่มที่ใช้กับดนตรีร็อคอีกด้วยเพราะเหมาะสำหรับการตีเร็วๆหรือเบาๆ
2. หัวไม้
หัวไม้กลองถือเป็นส่วนสำคัญเพราะต้องสัมผัสกับไฮ-แฮทอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้เสียงที่เข้ากับดนตรีที่เล่นจึงจำเป็นต้องเลือกหัวไม้ด้วย หัวไม้กลองจะมี2 แบบคือ หัวไม้แท้ที่จะให้เสียงนุ่มนวลเวลากระทบกับทองเหลืองเช่นฉาบหรือไฮ-แฮท แต่มีข้อเสียคือจะแตกหักได้ง่าย อีกแบบคือหัวพลาสติกหรือที่เรียกว่าหัวไนล่อนเวลากระทบกับทองเหลือเสียงจะคมใสกว่า แต่ข้อเสียคือเสียงจะไม่เป็นธรรมชาติเท่าไรนัก
ส่วนหัวไม้ก็จะมี 2 แบบเช่นกันคือแบบวงรีและแบบวงกลม ซึ่งข้อแตกต่างนั้นแบบวงรีจะให้เสียงที่เล็กแหลมและพุ่งกว่า เหมาะสำหรับการตีเพลงทุกแนวแต่เน้นไปทาง ร็อค, ป็อป และแจ๊ส อีกแบบจะเป็นหัวไม้กลมซึ่งเสียงที่ออกมาจะหนักและมีพลัง มักจะใช้ในเพลงร็อคหรือเมทัล
3. ชนิดไม้
ไม่ที่นิยมเอามาทำเป็นไม้กลองส่วนมาจะเป็นไม้เมเปิ้ลและไม่โอ๊คซึ่งมีน้ำหนักเบาเหมาะกับทุกแนวเพลง นอกจากนั้นยังมีไม้ฮิกคอรี่ซึ่งจะเป็นไม้แบบหนักที่ไว้ใช้เล่นเพลงเฮฟวี่ร็อคเพราะเป็นไม้ประเภทเดียวกับที่ใช้ทำไม้เบสบอล จึงเนื้อแข็งมีความทนทานสูงไม่หักง่าย แต่จะให้เสียงสู้ไม้เมเปิ้ลและไม้โอ๊คไม่ได้ นอกจากนั้นยังมีไม้กลองที่ทำมาจากไม้สังเคราะห์ซึ่งข้อดีคือราคาถูกมาก แต่ไม้ชนิดนี้จะไม่ทนทาน ส่วนใหญ่นักดนตรีจะใช้แค่ในห้องซ้อมไม่กี่ครั้งก็แตกหัก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก
3 หัวข้อนี่จะเป็นทางเลือกให้มือกลองมือใหม่ได้เลือกไม้กลองในแบบที่ตนเองต้องการ แต่เหนือสิ่งอื่นใดนั้นต้องไม่ลืมว่าการฝึกซ้อมคือสิ่งสำคัญที่สุดของนักดนตรี ดังนั้นหากได้ไม้กลองที่ถูกใจแล้วก็อย่าลืมไปฝึกฝนอย่างหนักเพื่อพัฒนาฝีมือตนเองกันต่อไป
ขอบคุณบทความจาก thehub.musiciansfriend
ขอบคุณรูปภาพจาก thehub.musiciansfriend, troys-drums และ reverb
5 เหตุผลที่ต้องเลือก Les Paul
กีต้าร์ทรง Les Paul ถือเป็นจุดเด่นของค่าย Gibson เพราะคู่แข่งโดยตรงอย่าง Fender ไม่ได้ผลิตทรงนี้ออกมาขาย แม้ว่าระยะหลังจะมียี่ห้อเล็กๆเจ้าอื่นผลิตทรงนี้ออกมาบ้าง แต่โดยรวมๆแล้วหากนึกถึงทรง Les Paul ก็จะคิดถึง Gibson แน่ นอน ศิลปินดังๆที่ใช้กีต้าร์ทรงนี้มีมากมายทั่วโลก เช่น Slash มือกีต้าร์ชื่อดังแห่งวง guns n’roses, Jimmy Page แห่ง Led Zepplien รวมไปถึงของไทยเราเช่น พี่ป้อม อัสนี เป็นต้น ทีนี้หลายๆคนก็อาจจะสงสัยว่าทรง Les Paul นี้มีดีอะไรซึ่งแน่นอนว่า 1 ในนั้นคือความสวยงามแน่ล่ะ แต่องค์ประกอบอื่นๆที่หลายคนอาจไม่ทราบ ก็จะขอยกออกมาเป็น ข้อย่อยๆ 5 ข้อดังนี้
1. ซาวด์อันเป็นเอกลักษณ์
หากใครได้ลองจับ Gibson Les Paul แล้วล่ะก็จะพูดเหมือนกันว่าตกหลุมรักเสียงของมันตั้งแตกแรกเริ่ม ด้วย ซาวด์ที่หนา หนักหน่วงในสไตล์ของ Gibson แท้ๆ ทำให้เข้ากับดนตรีทุกแนวไม่ว่าจะเป็น บลู แจ๊ส หรือร็อค และถ้าผลิตโดย Gibson นั้นตัวบอดี้และคอจะใช้ไม้มะฮอกกานีซึ่งให้เสียงหนาเฉพาะตัวเป็นเอกลักษณ์ เสียงที่ออกมาจะนุ่มลึก ทำให้กีต้าร์ Les Paul มีจุดเด่นในเรื่องซาวด์ที่ชัดเจน
2. การตั้งสายและจูนเนอร์
ปกติแล้วทรง Les Paul จะไม่มีคันโยกมาให้ซึ่งต้องซื้อแยกต่างหาก แต่เป็นข้อดีของทรงนี้เพราะโอกาสที่สายจะเพี้ยนมีน้อยมาก ลูกบิดของทรงนี้จะเป็นแบบโอเมติกทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา อีกทั้งเลสพอลแทบทั้งหมดจะมีแค่ 22 เฟรต ทำให้ช่วงระยะห่างระหว่างเฟรตค่อนข้างกว้างง่ายต่อการเล่น อุปกรณ์เสริมของเลสพอลยังมีไม่มากเพราะส่วนใหญ่มือกีต้าร์จะชอบซาวด์และบอดี้
แบบเดิมๆ ทำให้ทรงนี้มีจุดเด่นที่การดูแลรักษาง่ายและไม่จุกจิกยุ่งยาก
3. Sustain (ความยาวของเสียง)
อย่างที่บอกไปในข้อแรกว่า Les Paul จะใช้ไม้มะฮอกกานีทำบอดี้และคอ ซึ่งไม้มะฮอกกานีนี้จะมีลักษณะเด่นคือ สามารถเก็บเสียงไว้ได้นาน ทำให้มือกีต้าร์สามารถลากเสียงยาวไว้ได้ด้วยการดีดแค่ครั้งเดียว และทรง Les Paul จะมี ด้านเว้าเข้าไปในบอดี้แค่ด้านเดียว ทำให้เนื้อไม้ไม่ถูกกินมากจึงมีลักษณะหนาและน้ำหนักมาก เหมาะต่อการเล่นแบบลากเสียง sustain ในแนวบลูส์หรือร็อคได้ตามความต้องการ
4.กระบวนการผลิต
ทราบกันดีว่าบอดี้ของ Les Paul จะมีน้ำหนักมากกว่ากีต้าร์ทรงอื่น แต่ตรงนี้ทำให้เป็นจุดเด่นเพราะตัวไม้จะมีผลต่อ เสียงแบบชัดเจน และทรงนี้จะคงสภาพเนื้อไม้ไว้ได้มากกว่าทรงอื่นเพราะบอดี้เป็นแบบ one cut away หรือเว้าด้าน เดียวต่างจากทรงอื่นๆ รวมไปถึงช่วงเฟรตกีต้าร์ที่ใช้ไม้โรสวู้ดมาประกบกับช่วงคอที่เป็นไม้มะฮอกกานีทำให้หนาและมีขั้นตอน ผลิตที่ค่อนข้างยุ่งยากกว่า ดังนั้นราคาของทรง Les Paul นี้จึงค่อนข้างสูงกว่ากีต้าร์ทรงอื่นนั่นเอง
5.Humbuckers
นี่คือจุดเด่นและเป็นตำนานที่ลอกเลียนแบบไม่ได้ของ Les Paul อย่างแท้จริง ซึ่งบริษัท Gibson จะใช้ปิ๊กอัพ Humbuckers กับ Les Paul ทุกรุ่น ทำให้เสียงออกมาค่อนข้างพุ่งไม่แบนราบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มือกี ต้ารืไม่ว่าจะเป็นแนวไหนก็หลงรักเจ้าอ้วนกลมตัวนี้ทั้งนั้น ซาวด์ของ Humbuckers ยังเข้ากับดนตรีทุกประเภทไม่ว่าจะ เป็นเพลงช้าอย่าง SMooth Jazz จนไปถึงแนวเร็วๆอย่าง Hard Rock ทำให้นักดนตรีที่ต้องการเสียงพุ่งแต่ นุ่มลึกคงไม่ปฏิเสธที่จะมี Les Paul สักตัวเก็บไว้แน่นอน
ข้อดี 5 ข้อที่ยกมาน่าจะเป็นแนวทางให้กับผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อกีต้าร์อยู่ว่าทรงไหนถึงเหมาะกับตนเอง ซึ่ง Les Paul นี้ก็ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจหากมือกีต้าร์ต้องการทรงและซาวด์ดังกล่าว ซึ่งเชื่อได้เลยว่าหากคุณมาเป็นสาวก Les Paul แล้วจะไม่ผิดหวังกับกีต้าร์ทรงนี้อย่างแน่นอน
ขอบคุณที่มา spinditty
ขอบคุณรูปภาพจาก musiciansfriend, pourlesmusiciens และ spinditty