รีวิวแอมป์เบส Warwick รุ่น BC-10/20

สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดคือดีไซด์สวยงามกะทัดรัดแข็งแรง ด้านบนจะเป็นที่จับพร้อมหิ้วไปได้ทุกที่ ส่วนด้านหน้าเป็นตะแกรงเหล็ก ป้องกันการกระแทกและฝุ่นละลอง สำหรับรุ่น BC-10 นั้นจะมีกำลังขับลำโพงที่ 10 วัตต์ ส่วนรุ่น BC-20 จะมีกำลัง 20 วัตต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับการซ้อมคนเดียวในห้องส่วนตัวได้สบายๆ หรือบางทีจะนำไปเล่นในงานปาร์ตี้เล็กๆก็ยังได้

ตัวลำโพงนั้นทั้งสองรุ่นใช้ขนาด 8 นิ้ว รุ่น Warwick Custom เป็นลำโพงที่ทาง Warwick คิดค้นเพื่อมาเพื่อรองรับเสียงเบสเต็มที่ โดยที่เปิดดังแล้วเสียงไม่บวมหรือลำโพงเสียงไม่แตก ตอบสนองต่อเสียงเบสได้อย่างดีเยี่ยม ซาวด์ค่อนข้างพุ่ง ชัด เสียงเบสไม่บวมและได้มาตรฐาน โดยจะมีมีระบบ DDL ตัดเสียงแตกที่เกิดจากการเปิดเสียงดังให้ด้วย งานนี้เปิด Volume สุดได้เต็มที่

นอกจากจะมีระบบ DDL ตัดเสียงแตกที่เกิดจากการเปิดเสียงดังแล้ว ภาคปรีแอมป์ยังมีระบบลดเสียงรบกวร หรือเสียงจี่อีกด้วย งานนี้ทาง Warwick คำนึงถึงผู้ใช้อย่างมากแม้ว่าจะเป็นแอมป์รุ่นเล็กราคาถูกแต่ใส่ฟังก์ชั่นมาแบบนี้ รับรองว่าได้ใจลูกค้ากันเต็มที่ รวมถึงมีระบบทำความเย็น ภายในคาบิเนท ไม่มีเสียงพัดลม ทำให้การทำงานของแอมป์เงียบ

ความพิเศษและจุดเด่นของ 2 รุ่นนี้คือ มี 2 ช่องเสียบ Active และ Passive  สามารถเลือกเสียบเบสได้ตามประเภทใช้งานได้เลย หรือจะเสียบพร้อมกัน 2 ตัวก็ได้ แต่เสียงจะออกลำโพงเดียวกันและตีกัน ตรงนี้เหมาะสำหรับการเรียนหรือเล่นตามกันมากกว่า แต่ก็ถือเป็นฟังก์ชั่นที่ยอดเยี่ยมคุ้มค่าเกินราคา รวมถึงสามารถปรับ EQ ได้อีก 3 แบนด์ด้วย

เรื่องการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆนั้นหายห่วง เพราะมีทั้งช่องเสียบหูฟัง โดยให้สัญญาณสเตอริโอจากช่อง AUX รวมถึงมีช่องเสียบ AUX แบบสเตอริโอ , มีช่องเสียบ MP3 แบบมินิ จะซ้อมคนเดียวเงียบๆชิลๆ หรือจะซ้อมแบบมีเสียงเพลงคลอไปด้วยก็ทำได้ กับแอมป์เบสราคาไม่ถึง 5000 บอกเลยว่าไม่มีคุ้มค่ากว่านี้อีกแล้ว

ข้อดี

  • ฟังก์ชั่นการใช้งานครบครัน
  • 2 ช่องเสียบ Active และ Passive
  • เสียงเบสมาเต็ม เปิดดังเสียงไม่ค่อยแตก

ข้อเสีย

  • ไม่มีเอฟเฟคในตัว

เหมาะสำหรับ

  • ผู้มองหาแอมป์ซ้อมราคาถูกๆ
  • คนต้องการแอมป์เบสเสียงดีๆ

บทสรุปกับแอมป์เบส Warwick รุ่น BC-10/20 ถือว่าเป็นแอมป์เบสที่คุ้มจริงๆกับฟังก์ชั่นที่ได้รับ ดีจนต้องมาบอกต่อเพราะเทียบกับแอมป์ที่ราคาเท่ากันนั้นไม่มีรุ่นไหนครบเครื่องกว่านี้อีกแล้ว ยิ่งถ้าเป็นตัว BC-10 นั้นแค่ 3000 กว่าๆเท่านั้น ราคาไม่ต่างกับแอมป์โนเนมเลย แต่นี่ได้แบรนด์ดังมีคุณภาพ ดังนั้นใครที่กำลังมองหาแอมป์เบสรุ่นเล็กๆอยู่ รีบเดินเข้ามาที่ร้าน Musicarms นะครับ เพราะทางเราจำหน่ายแอมป์เบสทั้ง 2 รุ่นนี้ รวมถึงรอให้เพื่อนๆได้มาทดลองฟังเสียงก่อนเพื่อความพอใจ ถ้าคิดถึงเครื่องดนตรีดีๆ ขอให้คิดถึงเรา Musicarms เป็นเจ้าแรกนะครับ

รีวิวคีย์บอร์ด Korg รุ่น Krome 61

การดีไซด์นั้นทำออกมาได้ทันสมัยสมกับเป็นแบรนด์ชั้นนำด้านเทคโนโลยี ให้หน้าจอ LCD ขนาด 7 นิ้ว ความคมชัด 800X480 พิกเซล เป็นระบบออนบอร์ด ควบคุมง่ายผ่านหน้าจอ โดยจะแสดงผลฟังก์ชั่นปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ การเชื่อต่อนั้นครบครันทั้งช่องเสียบ Output แบบโมโนขนาด 6.3 มม, ช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. แบบสเตอริโอ และช่องเสียบ USB แบบ B

แป้นคีย์ให้มา 61 คีย์ เพียงพอต่อการเล่นเพลงในระดับสูงๆได้แทบทุกเพลง สามารถใช้งานได้ทั้งมืออาชีพที่ใช้อัดเพลงหรือผู้เริ่มต้น ระดับคีย์ตั้งแต่ C2-C7 สามารถปรับเพิ่มลดได้ 1 อ็อคเตป โดยจะเป็นแป้นที่ไวต่อการสัมผัส ช่วยในการเล่นคีย์บอร์ดให้ไวขึ้น เรื่องเสียงนั้นหายห่วงเพราะทาง Korg คิดเทคโนโลยี EDS-X ปรับความคมชัดของเสียงสังเคราะห์ให้ดีขึ้น ซาวด์สมจริง

อย่างที่เกริ่นไปว่าเป็น Work Station ดังนั้นเรื่องฟังก์ชั่นต้องจัดเต็มกันมาอย่างแน่นอน ที่ดูจะพิเศษกว่าเพื่อนคือซาวด์กลองที่ให้มามากถึง 2080 แบบ นับว่าเยอะสุดในบรรดาคีย์บอร์ด 61 คีย์แล้ว เสียงก็มากถึง 583 เสียง โดยมีทั้งแบบ Mono และสเตอริโอ ใช้งานกันได้เต็มที่ ทำเพลงได้แทบทุกแนว

นอกจากเรื่องเสียงกลองและเสียงคีย์บอร์ดแล้ว รุ่นนี้ยังบรรจุเสียงร้องถึง 16 แบบมาให้เลือกใช้งาน เรียกว่าทำเพลงกันได้ครบเครื่อง ใส่เมมโมรี่ที่มีความจุมากถึง 3.8 Gb ที่ความชัด 16 บิท ซาวด์เยี่ยม มีโปรแกรม Oscillator และระบบกรองเสียงเพิ่มมาให้ปรับแต่งอีกด้วย เมื่อรวมกับการแต่ง EQ ได้ 3 แบนด์ ทำให้การควบคุมซาวด์เป็นอย่างใจนึก

การตั้งค่าต่างๆทำได้ง่ายผ่านแป้นควบคุมหน้าจอโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเสียงเอฟเฟค หรือเสียงกลอง สามารถเก็บ Preset พร้อมเรียกใช้งานได้มากมาย รวมถึงต่อพ่วงแป้นเหยียบแบบเปียโนได้อีกด้วย และที่หลายคนถามหาคือระบบ MIDI ซึ่งทาง Korg ใส่มาให้ใช้งานในรุ่นนี้ ทำการเก็บเพลงแก้ไขเพลงได้ นับว่าสุดล้ำจริงๆ

ข้อดี

  • ฟังก์ชั่นการใช้งานเพียบ
  • เสียงกลองและเอฟเฟคมากมาย
  • การทำเพลงง่าย จบในเครื่องเดียว
  • มีระบบ MIDI

ข้อเสีย

  • ฟังก์ชั่นต่างๆสำหรับผู้เริ่มต้นน้อย เช่นบทเรียน

เหมาะสำหรับ

  • ผู้มองหาคีย์บอร์ดไว้ทำเพลง
  • มืออาชีพที่ต้องใช้คีย์บอร์ด 61 คีย์

บทสรุปกับคีย์บอร์ด Korg รุ่น Krome 61 ถือเป็นคีย์บอร์ดที่ทำออกมาได้ล้ำสมัยอย่างแท้จริง ซาวด์ดีลูกเล่นเพียบ เหมาะกับการใช้งานในทุกๆด้านโดยเฉพาะการทำเพลง ใครที่ต้องการคีย์บอร์ดแบบ 61 คีย์น่าจะชื่นชอบเพราะฟังก์ชั่นค่อนข้างเหนือรุ่นอื่นในราคาเดียวกัน จึงไม่แปลกที่มักจะติดชื่อรุ่นที่ถูกแนะนำมากที่สุด หากใครต้องการซื้อคีย์บอร์ดรุ่นนี้ก็เชิญได้ที่ร้าน Music Arms ทุกสาขากันเลย ทางทีมงานของเรายินดีให้บริการอย่างเต็มที่เพื่อที่เพื่อนๆจะได้รับสิ่งดีๆในทุกๆครั้งที่มาใช้บริการร้าน Music Arms ครับ

รีวิวกีต้าร์ไฟฟ้า Gibson รุ่น Les Paul Traditional 2018

สำหรับกีต้าร์ Gibson Les Paul Traditional 2018 นี้ ยังคงใช้วัสดุเกือบทั้งหมดคล้ายคลึงกับปี 2017 บอดี้ทรง Les Paul ทำจากไม้มะฮอกกานีเช่นเดียวกัน โดยมีไม้หน้าเป็นไม้เมเปิ้ลเกรด AA ปะหน้าเพื่อให้ได้ซาวด์ที่ผสมผสานกันลงตัว ไม่หนามากจนเกินไป สำหรับปี 2018 นี้จะมีสี Tobacco Sunburst มาให้เลือกเพิ่มอีก 1 สี โดยสี Antique Burst ที่ผลิตในปี 2017 จะไม่มี

ส่วนคอนั้นไม่แตกต่างจากปี 2017 ใช้คอเป็นไม้มะฮอกกานี ฟิงเกอร์บอร์ดโรสวู้ด จำนวน 22 เฟรต ขนาด Medium เช่นเดียวกัน ตัว Nut ทำจากวัสดุ Tektoid เป็นพลาสติกสังเคราะห์ผสมยาง Tektoid มีข้อดีตรงที่จะ ช่วยเพิ่มเสียง Sustain ให้ยาวมากขึ้น ตรงนี้ช่วยเสริมจุดเด่นของ Gibson มากขึ้นไปอีก ทรงคอปี 2018 นี้มีการปรับมาเป็นแบบ Rounded จะอ้วนขึ้นเล็กน้อยในแบบคลาสสิค

สำหรับปิ๊กอัพยังคงใช้รุ่น BurstBucker 1 และ BurstBucker 2 เช่นเคย ให้โทนเสียงพุ่งแรงในสไตล์ชาวร็อค เนื่องจากได้ปิ๊กอัพชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง สิ่งที่เพิ่มมาในรุ่นปี 2018 คือตัวปุ่ม Tone จะเป็นสวิทช์ capacitors ตัวนี้จะมีไว้เพิ่มความถี่เสียงสูงหรือพูดง่ายๆก็คือเพิ่มเสียงแหลมนั่นเอง ถือเป็นอีกจุดเด่นสำหรับคนที่ชอบเสียงโทนแหลมหรือเสียงคลีนใสๆ ทำให้ซาวด์ของ Les Paul Traditional 2018 นั้นแปลกจากของเดิมไปเล็กน้อย

เรื่องอะไหล่นั้นทาง Gibson ยังคงรูปแบบเดิมที่ได้รับความนิยมสูงได้ ลูกบิดชุบนิกเกิ้ลอย่างดี ปิ๊กการ์ดพลาสติกหนาถึง 4 ชั้น สวิทช์คอนโทรล 2 โวลุ่ม 2 โทน แยกการควบคุมปิ๊กอัพออกจากกนใช้งานง่าย ซีเล็คเตอร์ 3 ทางสุดคลาสสิค ตัวบริดจ์เป็น Stopbar ชุบโครเมี่ยมอย่างดี ถือว่าเก็บงานได้เนี๊ยบสมราคาแบรนด์ดัง

ข้อดี

  • บอดี้ทรงคลาสสิคมาตรฐาน
  • ซาวด์ร็อค หนา เสียงพุ่งชัด
  • แบรนด์ดังเชื่อถือได้ งานประกอบดี

ข้อเสีย

  • ราคาอาจจะแรงไปนิด

เหมาะสำหรับ

  • คนชอบกีต้าร์ทรง Les Paul
  • คนชอบแบรนด์ Gibson
  • คนชอบกีต้าร์เสียงหนาๆ แนวร็อค

และนี่คือกีต้าร์ Gibson ที่ได้ชื่อว่าเป็นที่หมายมองของมือกีต้าร์มากมาย ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกก็ถือว่ากินขาดทรง Les Paul อื่นๆแล้ว ถ้าได้มาลองเสียงจะรู้เลยว่าความคลาสสิคของ Les Paul เป็นยังไง สำหรับกีต้าร์ Gibson Les Paul Traditional 2018 รวมถึง Gibson รุ่นอื่นๆ เพื่อนสามารถเดินเข้ามาลองเสียงรวมถึงสั่งซื้อได้ที่ร้าน Musicarms ทุกสาขาเช่นเคย เพราะทางเราคือตัวแทนจำหน่ายอย่างถูกต้อง มั่นใจได้เลยว่าได้ของแท้คุณภาพดีกลับไป รับรองว่าไม่มีผิดหวังจากใจทีมงาน Musicarms ครับผม

ประเภทของเบส Passive / Active แตกต่างกันอย่างไร

เบส ระบบ Passive และ Active จริงๆแล้วคือระบบการจ่ายไฟให้กับตัวปิ๊กอัพนั่นเอง ระบบ Passive นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ไฟในการเลี้ยงวงจร ส่วนระบบแบบ Active จำเป็นต้องการไฟที่จะเลี้ยงวงจร ระบบทั้ง 2 แบบ มีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งแบบ มาดูกันว่าแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ

Bass Passive vs Active

เบสแบบ Passive
เบสที่มีปิ๊กอัพแบบ Passive อย่างที่ได้กล่าวไปนั้นว่าเป็นระบบที่ไม่ต้องการไฟเลี้ยงวงจร เพราะฉนั้นข้อดีข้อแรกเลยคือไม่ต้องใส่ถ่าน เราสามารถที่จะเสียบตู้แอมป์แล้วเล่นได้ทันที จุดเด่นของระบบ Passive คือจะให้เสียงที่ออกมาจากตัวเบส 100 % ไม่ว่าจะเป็นจาก Body, Neck หรือ PU ซึ่งต่างจากระบบ Active ที่ส่วนใหญ่ เสียงจะมาจาก PU หรือภาค Pre ของเบส ทำให้คาเลคเตอร์ของเบสตัวนั้นๆ จะค่อนข้างชัดเจน ส่วนข้อเสียนั้น ในระบบแบบ Passive การปรับแต่งเสียงจะปรับไม่ได้กว้างมากนัก และจะมี Output ที่จะเบากว่า ระบบแบบ Active

Bass Passive

เบสแบบ Active 

เบสแบบระบบ Active จะตรงกันข้ามกับระบบ Passive ที่ต้องการไฟไปใช้ในการเลี้ยงวงจร จึงจำเป็นต้องมีช่องสำหรับใส่ถ่าน 9V ( บางรุ่นต้องใส่ 2 ก้อน ) และนี่คือข้อเสียข้อแรกของเบสแบบ Active เพราะถ้าหากไม่ใส่ถ่านหรือถ่านหมด จะไม่สามารถใช้งานได้ ลองคิดดูว่าหากกำลังเล่นอยู่บนเวที แล้วถ่านดันหมดกลางคันขึ้นมาคงจะวุ่นวายน่าดู แต่ถ้าจะให้พูดถึงข้อดีนั้น เบสแบบ Active ก็มีข้อดีมากมาย คือ ความหลากหลายในการปรับแต่งเสียง เรียกได้ว่าสามารถเล่นได้ทุกแนวเพลงเลยทีเดียว 

Bass Active

โดยระบบ Active นั้นจะมี 2 แบบคือ Active ที่ภาค Pre และ Active ที่ PU ทั้ง 2 แบบจะได้ข้อดีที่ต่างกัน โดยเบสที่มี Active ที่ ภาค Pre นั้นจะมีข้อดีคือไม่เลือกแอมป์ เพราะไม่ว่าจะเจอแอมป์ประเภทไหน เราสามารถปรับ EQ จากตัว Pre ของเบส เพื่อให้ได้เสียงที่เราต้องการได้ ส่วนเบสที่ Active ที่ PU จะได้ Output ที่แรง ดุดัน และเสียงที่ชัดเจน เรียกได้ว่าไม่ต้องกลัวเสียงจมกันเลยทีเดียว

Bass Active Passive

สรุป

ทั้งเบสแบบ Passive หรือ Active มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับที่เราต้องการคาเลคเตอร์ของเบสแบบไหนไปใช้งาน อยากได้กว้างๆ เสียงดุๆ เลือก Active อยากได้ความ Vintage เลือก Passive ได้เลยครับผม

Sennheiser XS Wireless Instrument Base Set ชุดไวเลสเครื่องดนตรี

ขายเพียง  10,700฿ จาก  13,375฿

SIT Power Wound Nickel Bass Custom Light 6 NR630125L สายเบสไฟฟ้า

ขายเพียง  1,080฿ จาก  1,200฿

แอมป์ปลั๊ก (Amplug) คืออะไร?

จะเห็นได้ว่าแอมป์ปลั๊กของ Vox นั้นจะมีชื่อรุ่นและให้เสียงที่แตกต่างกันไป ซึ่งจุดด้อยอย่างชัดเจนของเจ้าแอมป์ปลั๊กจะเป็นเรื่องนี้คือ ไม่สามารถเปลี่ยนโทนเสียงได้ ถ้าใครใช้แอมป์ปลั๊กบลูส์ ก็จะได้เสียงโทนบลูส์ ถ้าใครใช้แอมป์ปลั๊กเมทัล ก็จะได้ซาวด์ดุๆไปใช้งาน อาจปรับได้แค่ EQ เล็กน้อย แต่ซาวด์กีต้าร์นั้น จำเป็นต้องเลือกตอนซื้อแอมป์ปลั๊กไปเลยว่าจะเอาแบบไหน ในทางกลับกันก็มีข้อดีตรงที่ ไม่จำเป็นต้องปรับแต่งซาวด์มากเพราะเสียงนั้นถูกตั้งค่าไว้หมดแล้ว

ข้อดีแอมป์ปลั๊ก

  • ราคาประหยัด
  • ซ้อมส่วนตัวได้
  • เลือกลำโพงที่ต่อพ่วงได้
  • ไม่ต้องปรับซาวด์มาก ตั้งค่ามาแล้ว
  • พกพาสะดวก

ข้อเสียแอมป์ปลั๊ก

  • ซาวด์เฉพาะทาง ปรับแต่งเพิ่มได้ยาก

เหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่ต้องการซ้อมกีต้าร์ส่วนตัว หรือใช้เสียงไม่มาก
  • ผู้ที่ชอบซาวด์เป็นเอกลักษณ์

หลังจากรู้จักแอมป์ปลั๊กกันไปแล้ว เห็นชัดเลยว่าเป็นแอมป์ฉพาะทางสุดๆ ใครที่ชอบซาวด์แบบเดียวถือว่าต้องโปรดปรานอย่างแน่นอน เช่น ซาวด์ร็อคอังกฤษโบราณ แต่ถ้าเป็นพวกมือกีต้าร์ที่ต้องการซาวด์หลากหลายไว้แกะเพลงมากมายอาจไม่โดนใจตรงจุดนี้เท่าไหร่นัก แต่ตัวแอมป์ปลั๊กเองก็มีข้อดีอื่นๆเช่นกันไม่ว่าจะเป็นการพกพาที่แสนง่าย ราคาก็ค่อนข้างประหยัด เสียงที่ออกมาถือว่าสอบผ่านสบายๆ ยิ่งได้หูฟังดีๆหรือลำโพงดีๆ บอกเลยว่าสู้แอมป์ไฟฟ้าเทพๆได้สบาย ถ้าใครกำลังมองหาแอมป์เจ๋งๆแล้วตรงตามความต้องการก็น่ามีติดตัวไว้ซักชุด และแน่นอน Musicarms มีจำหน่ายแอมป์ปลั๊กเสียงต่างๆมากมาย แวะมาเยี่ยมชมและทดลองกันได้ที่ร้าน Musicarms ทุกสาขา แล้วคุณจะหลงรักเจ้าแอมป์ปลั๊กนี้มากขึ้น !!

 

แนะนำ 6 กีต้าร์โปร่งยี่ห้อ Cort แบรนด์เกาหลี

และนี่คือ 6 รุ่นกีต้าร์โปร่ง Cort เสียงดีราคาย่อมเยาจากประเทศเกาหลี แม้ว่าช่วงหลังบางงานของ Cert อาจย้ายฐานผลิตไปที่จีนหรืออินโดนีเซียบ้าง แต่เนื่องจากบริษัทแม่เข้าควบคุมการผลิตในทุกๆขั้นตอน ทำให้งานประกอบและวัสดุไม้ของ Cort ไม่มีตกไปจากเดิม ถือเป็นอีกหนึ่งยี่ห้อที่น่าใช้อย่างมาก เพื่อนๆสามารถเข้ามาเลือกซื้อหรือลองเสียงทั้ง 6 รุ่นนี้กันได้ที่ร้าน Music Arms ทุกสาขาเลยนะครับ รับรองว่าทีมงานของเราจะบริการเพื่อนๆนักดนตรีอย่างดีที่สุด เพราะนักดนตรีคือลูกค้าคนสำคัญของ Music Arms เสมอครับผม

กีต้าร์โปร่ง กับ โปร่งไฟฟ้า แตกต่างกันตรงอย่างไร?

โปร่ง Sigma GWCE3

การใช้งาน

จากย่อหน้าแรกนั้นหลายคนอาจคิดว่า อ้าว แบบนี้เราก็ซื้อโปร่งไฟฟ้าไปเลยดีกว่าสิ เพราะได้ความหลากหลายในการเล่น แต่สำหรับมือใหม่แล้วนั้น ขอบอกว่าเป็นเรื่องไม่จำเป็นเลย เพราะถ้าเพื่อนๆซื้อโปร่งไฟฟ้าไปแล้ว ต้องมีค่าใช้จ่ายตามมาเช่นการเลือกตู้แอมป์ และบางคนแทบไม่ได้เล่นเสียงไฟฟ้าเลย ทำให้ตัวปิ๊กอัพเมื่อไม่ใช้งานเป็นเวลานานจะมีการเสื่อมสภาพในเรื่องของเสียง ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อโปร่งหรือโปร่งไฟฟ้า ควรพิจารณาแนวทางการเล่นของเราก่อนว่า ใช้งานส่วนไฟฟ้าบ่อยแค่ไหน

Sigma 000R28VE

การดูแลรักษา

การดูแลรักษากีต้าร์โปร่งไฟฟ้านั้นวุ่นวายกว่าที่หลายคนคิดนัก นอกจากจะดูแลเรื่องไม้ไม่ให้โก่งงอเช่นเดียวกับกีต้าร์โปร่งแล้ว ยังต้องมาห่วงเรื่องภาคไฟฟ้ากันอีก ถ้าคนเคยเล่นบ่อยๆจะรู้ว่าแอมป์กีต้าร์นั้นหากไม่ใช้งานเป็นเวลานาน เสียงจะดร็อปลง ดังนั้นต้องหมั่นให้แอมป์ได้มีบทบาทอยู่เสมอ เช่นเดียวกับภาคไฟฟ้าที่ต้องคอยออกงานอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นเสียงจะมีอาการอู้ หากไม่ใช้งานภาคไฟฟ้าเป็นเวลานาน หรือดูแลรักษาไม่ดี ต่อให้กีต้าร์ขั้นเทพราคาแพงแค่ไหนก็จบ ก่อนที่จะเลือกซื้อควรพิจารณาว่าสามารถดูแลรักษาตรงนี้ได้มั้ย

เสียง

มาถึงคำถามที่หลายคนอยากรู้ เรื่องเสียงนั้นหากเป็นกีต้าร์โปร่งก็ต้องอยู่ที่เนื้อไม้ แต่ถ้าเป็นโปร่งไฟฟ้าจะอยู่ที่ปิ๊กอัพที่ให้มา สำหรับเรื่องเสียงถ้าเพื่อนๆต้องการซาวด์กีต้าร์ใสกิ๊งๆคงต้องใช้งบสูงพอสมควร แตกต่างจากกีต้าร์โปร่งที่ราคาแค่หมื่นต้นๆก็สามารถเลือกเสียงระดับเทพได้แล้ว แม้ว่ากีต้าร์โปร่งไฟฟ้าบางรุ่นจะมี EQ มาให้ปรับ แต่ขึ้นชื่อว่าเสียงไฟฟ้า ต้องมีปัจจัยหลายอย่างมาประกอบไม่ว่าจะเป็นตัวแอมป์ การปรับหน้าตู้ สำหรับมือใหม่แล้วถือว่ายุ่งยากพอสมควร ถ้าไม่ได้ใช้งานภาคไฟฟ้ามากนัก เน้นเสียงใสๆ เล่นกีต้าร์โปร่งจะดีกว่า

Sigma GZCE 3+

สรุป

การเลือกซื้อกีต้าร์โปร่งหรือโปร่งไฟฟ้านั้นอยู่ที่ตัวผู้ใช้เอง แต่หลายคนที่เป็นมือใหม่มักจะเน้นการ”เผื่อ” เอาไว้นั่นเอง ทาง Musicarms จึงขอยกข้อเปรียบเทียบมาให้เห็นว่าหากเพื่อนๆจะเผื่อการใช้งานนั้นต้องดูความคุ้มค่าของตัวกีต้าร์นั้นด้วย ยิ่งปัจจุบันมีการรับติดปิ๊กอัพไฟฟ้าให้แล้วด้วย ทำให้มือกีต้าร์มักจะเลือกกีต้าร์โปร่งธรรมดาไปก่อน รอจนกว่าจะมีความจำเป็นในการใช้งานถึงค่อยเพิ่มออปชั่น เพราะความเป็นจริงแล้วกีต้าร์โปร่งดีตัวเดียวก็ออกงานได้สบายๆ ถ้ามีกีต้าร์ไฟฟ้าค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นมากอีก ดังนั้น!! เพื่อนๆควรดูให้แน่ใจว่าต้องการใช้งานในส่วนนั้นรึเปล่าถึงค่อยซื้อนะครับ อย่าลืม หากจะมาลองเสียงกีต้าร์โปร่งไฟฟ้าหรือมองหากีต้าร์ดีๆซักๆตัว แวะมาที่ร้าน Musicarms ได้ รับรองว่าจะช่วยในการตัดสินใจได้ดีกว่าเดิมแน่นอนนนนน

มารู้จักปิ๊กอัพ Single Coil และ Humbucker กันเถอะ

Single-Coil

ปิ๊กอัพชนิดนี้จะมีแม่เหล็กเป็นแกนกลางพันด้วยขดลวด หรือที่เรียกว่า Coil ซึ่งเป็นปิ๊กอัพแบบมาตรฐานกีต้าร์ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหนก็ตาม เมื่อสายกีต้าร์มีความสั่น แรงสั่นนี้ก็จะไปกระทบสัญญาณแม่เหล็กทำให้ส่งสัญญาณเสียงออกมาเป็นภาคไฟฟ้า แต่การที่มีแม่เหล็กแค่อันเดียวเป็นแกนทำให้แรงสั่นของสัญญาณค่อนข้างเบากว่าแบบ Humbuckers ดังนั้นย่านเสียงที่ออกมาจึงค่อนข้างเป็นย่านกลางและซาวด์ไม่พุ่งสักเท่าไหร่ แต่ข้อดีของปิ๊กอัพชนิดนี้คือสามารถเอาไปปรับแต่งกันได้เพราะเป็นตัวพื้นฐานอยู่แล้ว อีกทั้งด้วยย่านเสียงที่ค่อนข้างมาทางสายกลางทำให้ค่อนข้างตอบโจทย์ดนตรีทุกแนว ปิ๊กอัพแบบนี้จึงเป็นแบบที่มือกีต้าร์นิยมมากที่สุด

Image result for single-coil

จุดเด่นหลักๆของ Single-Coil คือมีอยู่ในกีต้าร์แทบทุกรุ่นจึงถือเป็นปิ๊กอัพสแตนดาร์ดของมือกีต้าร์ ซึ่งเวลามีปัญหาหรือต้องการเปลี่ยน,ซ่อมจะทำได้ค่อนข้างง่าย และกีต้าร์ทรงที่นิยมใช้ Single-Coil ส่วนมากจะเป็นทรง Stratocaster ไม่ว่าจะเป็นค่ายหลักอย่าง Fender หรือกีต้าร์แบรนด์ล่างต่างๆ ทำให้ผู้ใช้ปิ๊กอัพแบบนี้จะได้กีต้าร์ที่มีน้ำหนักเบาถือและสะพายสบาย นอกจากนี้แล้ว”ย่านเสียงที่กว้าง”คือจุดเด่นของ Single-Coil มากที่สุด เพราะถ้าเป็นทรง Strat จะสามารถวางปิ๊กอัพชนิดนี้ได้ถึง 3 ตัว (แตกต่างจากทรง Tele ที่วางแค่ 2 ตัว) และมีสวิทช์ปิ๊กอัพถึง 5 ทางทำให้มือกีต้าร์เลือกปรับซาวด์เอาตามใจชอบสามารถให้หนาหรือบางแค่ไหนก็ได้ เรียกได้ว่าค่อนข้างเอนกประสงค์เหมาะสำหรับมือใหม่และเล่นได้ทุกแนวเพลง

Image result for humbuckers

Humbuckers

ปิ๊กอัพชนิดนี้ถูกพัฒนามาจาก Single-Coil โดยนาย Les Paul ผู้ผลิตกีต้าร์เลสพอลให้กับ Gibson ผู้โด่งดัง ซึ่งแต่เดิมนี้ทาง Gibson ต้องการซาวด์ที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับทาง Fender เพื่อเป็นจุดขาย นาย Les Paul จึงใช้หัวเข็มที่ติดอยู่บนเครื่องเล่นแผ่นเสียงมาเป็นตัวทดลอง ต่อมาได้รับความนิยมจึงคิดค้นปิ๊กอัพที่ให้เสียงคล้ายกับหัวเข็มคือการนำเอาแม่เหล็ก 2 อันมาพันขดลวด หรือที่เรียกว่า Double-Coil แต่ขั้วแม่เหล็กจะสลับบนล่างตามกระแส ทำให้เสียงมีความ”โก่ง”หรือที่เรียกว่า Bucking ซาวด์ของปิ๊กอัพแบบนี้จึงออกมาแบบบวมๆหรือเสียงหนาตามสไตล์แม่เหล็กของปิ๊กอัพ แต่เป็นที่ชื่นชอบของมือกีต้าร์แทบทั่วโลกจนเป็นซิกเนเจอร์ของทาง Gibson ไปแล้ว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ humbucker pickup

ปิ๊กอัพชนิดนี้อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่าให้เสียงค่อนข้างหนา ดังนั้นจึงเป็นปิ๊กอัพสำหรับผู้ที่ชื่นชอบซาวด์เฉพาะทาง แต่ก็มีนักดนตรีหลายคนประยุกต์ใช้เข้ากับดนตรีแทบทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นแจ๊ส ร็อค บลูส์ หรือคลาสสิค เนื่องจากซาวด์ลักษณะฮัมบัคเกอร์นั้นแทบไม่เปลี่ยนจากยุคที่คุณปู่ Les Paul ประดิษฐ์ออกมาในปี 1941 เลยแม้แต่น้อย (อาจจะมีปิ๊กอัพรุ่นใหม่มาบ้างแต่จะเน้นรักษาเอกลักษณ์เสียงแบบเดิมไว้) ทำให้หากคุณชื่นชอบที่จะเล่นเพลงวินเทจอย่าง Bettles หรือ เพลงที่ซาวด์แบบอังกฤษแท้ๆหรืออเมริกันโบราณยังไงปิ๊กอัพแบบนี้ก็ให้เสียงคล้ายคลึงกว่า อีกทั้งซาวด์ที่ออกมาหนาทำให้เสียงมีความ”เข้ม”และมีมิติมากกว่าแบบ Coil เดียว นักดนตรีหลายคนจึงมีความเห็นว่า Humbuckers เล่นได้เข้าถึงอารมณ์เพลงมากกว่า

Single Coil vs Humbucker

เมื่อรู้จักปิ๊กอัพสองชนิดกันแบบคร่าวๆแล้ว หลายคนก็อาจมีคำถามว่า อ้าว แล้วข้อดีข้อเสียของแต่ละปิ๊กอัพมันเป็นอย่างไร หรือแบบไหนดีกว่ากัน ซึ่งตรงนี้ต้องบอกเลยว่าการเลือกใช้งานของปิ๊กอัพแต่ละแบบนั้นขึ้นอยู่กับความชอบและมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป บางคนอาจจะชอบเสียงหนาแบบฉบับ Humbucker หรือบางคนอาจชอบย่านเสียงกว้างของ Single-Coil นอกจากนี้แล้วยังมีแนวดนตรีที่เล่นซึ่งต้องเลือกใช้กีต้าร์ให้เหมาะกับดนตรีนั้นๆอีกด้วย แต่วันนี้เราจะมาบอกจุดเด่นของทั้งสองปิ๊กอัพกันสักเล็กน้อยเพื่อเป็นแนวทางให้มือใหม่ได้เลือกซื้อกีต้าร์หรือได้รู้จักปิ๊กอัพที่เหมาะสมกับตนเอง

ลองมาฟังเสียง Single-coil กับ Humbucker กันดีกว่า

ถึงตรงนี้เพื่อนๆก็คงรู้จักกับปิ๊กอัพทั้งสองชนิดนี้กันดีพอสมควรไปแล้ว ซึ่งการเลือกปิ๊กอัพนั้นคงบอกไม่ได้ว่าแบบไหนดีกว่ากันเพราะแต่ละชนิดก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ดังนั้นนักดนตรีจึงต้องเป็นคนตัดสินใจให้เหมาะสมกับแนวทางการเล่นของตนเอง รวมไปถึงความรักในซาวด์ดนตรีประเภทนั้นๆอีกด้วย เพราะปัจจุบันก็มีปิ๊กอัพหลายยี่ห้อมาให้เลือกใช้ซึ่งซาวด์ก็จะค่อนข้างโมเดิร์นตามยุคสมัย หากใครต้องการเสียงที่สมัยใหม่หน่อยคงต้องไปศึกษาเรื่องเสียงของปิ๊กอัพเพิ่มเติม แต่ปกติแล้วก็จะไม่หนีไปจากสองรูปแบบนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ single coil กับ humbucker

ดังนั้นตอนเลือกซื้อกีต้าร์จงเลือกปิ๊กอัพตามเสียงที่ตนเองชื่นชอบไว้ดีที่สุด หากนักดนตรีรักในซาวด์ของกีต้าร์ของตนเองนั้นแล้ว การเล่นกีต้าร์ของคุณก็จะเป็นเรื่องสนุกสนานและพัฒนาฝีมือได้ไว ชอบแบบไหนก็เลือกตามใจรักได้เลยจ้า และถ้าเพื่อนๆเลือกปิ๊กอัพในแบบที่ต้องการได้แล้ว ก็สามารถแวะมาดูกีต้าร์หรือลองเสียงกันได้ที่ร้าน Musicarms ทุกสาขา รับรองว่ามีกีต้าร์ยี่ห้อชั้นนำไว้รอให้เป็นเจ้าของกันเพียบ อย่าว่าคิดถึงเรื่องเครื่องดนตรี คิดถึง Musicarms นะครับผม