พื้นฐานสัญญาณเสียง
พื้นฐานสัญญาณเสียง
ธรรมชาติของเสียงในอากาศจะมาเป็นลักษณะคลื่นขึ้น/ลง ซึ่งจะมีความเข้มหรือความเบาบางสลับกันไป หากความเข้มของเสียงสูง เสียงจะมีความดัง ในขณะที่ความเข้มต่ำ เสียงจะเบา
การเป็นผู้ทำงานด้านเสียงควรจะมีคุณสมบัติดังนี้
1. ชื่นชอบการฟัง / รักในเสียงดนตรี
2. มีความเข้าใจในความแตกต่างของดนตรีแต่ละแนว
3. ตระหนักถึงความเป็นดนตรีและความมุ่งหมายของผู้แสดงเป็นหลัก
4. เป็นผู้ที่พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ
5. ไม่ควรมี Ego ควรตระหนักถึงการเรียนรู้
6. แสวงหาสิ่งแปลกใหม่เสมอ
7. มีไหวพริบ ทักษะ
8. มีมุมมองในด้านกว้าง พร้อมเปิดใจรับฟังสิ่งใหม่และเพื่อนร่วมงาน
คลื่นเสียงจะแบ่งเป็นสองส่วน
1. Amplitude หรือ dB เป็นขนาดความดังหรือความเข้มของเสียง
2. ความยาวคลื่น โดยคลื่นเสียงจะเดินทางเป็นลักษณะคลื่นวน 1 รอบ เป็น 360 องศา ค่าความถี่เสียงมีหน่วยเป็น Hz หรือ เฮิร์ซ หมายความว่า เสียงเดินทางกี่รอบใน 1 วินาที หากเสียงเดินทางหลายรอบจะเรียกว่า High-pitched sound หรือคลื่นความถี่สูง ลักษณะเสียงจะสูง โดยปกติแล้วระดับเสียงที่คนฟังได้คือ 20-20000 Hz แต่จะได้ยินมากสุดที่ 500-6000 Hz
หลักการคำนวณคลื่นเสียงมีสูตรคือ ความยาวคลื่น (m) = ความเร็วเสียง (m/s) / ความถี่เสียง (Hz)
Phase คือ ระยะห่างของจุดเริ่มต้นของคลื่นสัญญาณเสียง 2 คลื่น หรือระยะเวลาการเริ่มต้นของคลื่นสัญญาณเสียง 2 คลื่น คำว่าระยะห่างคือ ระยะที่คลื่นสัญญาณเสียงกำเนิดออกมา 2 คลื่นสัญญาณที่มีระยะห่างเราวัดกันเป็นองศาว่าห่างกันกี่องศา หรือระยะเวลาทีี่คลื่นเสียงเกิดขึ้นใช้เวลาห่างกันเท่าไหร่ เราเปรียบเทียบหรือวัดความถี่ใดความถี่หนึ่งเท่านั้น เรื่องของ Phase นี้เราสามารถแบ่งออกได้หลักๆ 3 รูปแบบคือ
1. In Phase คือลักษณะของคลื่นเสียง 2 คลิื่นสัญญาณเกิดขึ้นพร้อมกันในเวลาเดียวกันโดยมีทำให้องศาที่เกิดขึ้นตรงกันคือ 0 องศา สิ่งที่ได้คือ คลื่นเสียง 2 คลื่นสัญญาณเมื่อรวมตัวกันคลื่นจะใหญ่ขึ้น นั่นเท่ากับว่าเสียงที่เราได้จะดังขึ้นอีกเท่าตัวนั่นคือ 3dB อธิบายง่ายคือ ถ้า Phase ตรงกัน เสียงจะดังขึ้นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
2. Out of Phase คือลักษณะของคลื่นเสียง 2 สัญญาณเกิดในเวลาที่ต่างกันและระยะห่างของจุดกำเนิดคลื่นมีถึง 180 องศา ทำให้คลื่นเสียงที่ได้มีเสียงเบาถึงระดับ 0dB ในความถี่ใดความถี่หนึ่ง ทำให้เราไม่สามารถได้ยินเสียงนั้นได้ โดยปกติส่วนมากการเกิด Out of Phase นั้นมักจะเกิดจากการทำสายสัญญาณสลับขั้วกัน
3. Phase Shift คือลักษณะของคลื่นเสียง 2 คลื่นสัญญาณเกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกันและระยะห่างของจุดกำเนิดคลื่นเริ่มต้นตั้งแต่ 1 องศาไปเรื่อยๆแต่ไม่ถึง 180 องศา ทำให้เสียงบางช่วงก็ดังขึ้นและบางช่วงก็เบาลง ซึ่งในงาน Live ที่เราทำอยู่ในปัญจุบันจะไม่สามารถหลีกหนีเรื่องของ Phase Shift ไปได้เลย และ Phase Shift นี่แหละที่ทำให้เสียงเกิดมิติเสียง Stereo ขึ้นมาทำให้เพลงนั้นน่าฟังมากขึ้น
ค่าความดังของเสียงจะเพิ่มขึ้น 3 dB เสมอ โดยการจะทำให้เพิ่ม 3 dB จะต้องเพิ่มพลังงานแหล่งกำเนิดเสียงเป็น 2 เท่า เช่น ใช้ลำโพง 1 ตัว ให้เสียง 60 dB แต่หากเพิ่มลำโพงมาอีก 1 ตัว เสียงที่ได้จะไม่ใช่ 120 dB โดยจะเพิ่มเป็น 63 dB เท่านั้น
แหล่งที่มา Yamaha Pro Audio Thailand