เปลี่ยนไวโอลินถูก ๆ ให้ส่งเสียงสวรรค์ด้วยเชื้อรา!!?
เห็นจั่วหัวกันโต้ง ๆ แบบนี้ ไม่ใช่ว่าจะไปลองเอาไวโอลินไปจุ่มในน้ำคลองน้ำขังกันเอาเองหรอกนะ 😛
งานนี้นักวิทย์อย่างศาสตราจารย์ Francis Schwarze จากศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีรัฐบาลกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์ เขาใช้เชื้อราสายพันธุ์เฉพาะ
ชื่อ physisporinus vitreus และ xylaria longipes เท่านั้น
‘จารย์แกเห็นว่าไวโอลินชั้นเลิศ ส่วนประกอบจากไม้ที่มีความหนาแน่นต่ำ และยืดหยุ่นสูงเสียงผ่านเร็ว นี่แหละเป็นส่วนประกอบชั้นดีสำหรับไวโอลินคุณภาพสูง พอย้อนกลับไปในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ถึงต้น ศตวรรษที่ 18
ที่เป็นช่วง ‘Cold Period’ ที่ฤดูหนาวยาวนาน และฤดูร้อนยังคงมีอากาศเย็น สภาพอากาศนี้แหละที่เกลาเนื้อไม้ในป่าให้มีสภาพความหนาแน่นต่ำยืดหยุ่นสูงอย่างช้า ๆ และคนที่ได้รับผลประโยชน์จากการเลือกไม้เหล่านี้ ก็คือ
ช่างทำไวโอลินผู้เลื่องลือระบือนาม ชื่อ Antonio Stradivari ที่เป็นเวลาหลายร้อยปีต่อมา ไวโอลินยี่ห้อ Stradivarius ผ่านงานไม้งานมือของช่างผู้นี้ก็กลายเป็นตำนานของสุดยอดไวโอลิน
เพื่อจะเลียนแบบไม้ที่ผ่านสภาพอากาศแบบนั้นในยุคโน้น เชื้อราที่มีคุณสมบัติลดความหนาแน่นของเนื้อไม้ จึงถูดคัดสรรมา แต่นั่นไม่พอ
โชคร้ายหน่อยที่ว่า โดยทั่วไป พวกมันจะดันไปลดสมบัติในการยอมให้เสียงผ่านเนื้อไม้ลงไปด้วย ซึ่งนั่นทำให้เสียงผ่านไปได้ช้าและส่งผลแย่ในการนำไปทำเครื่องดนตรี
แต่เป็นข้อยกเว้นสำหรับ physisporinus vitreus และ xylaria longipes
“ความพิเศษของเชื้อราชนิดจำเพาะพวกนี้ คือ พวกมันค่อย ๆ ย่อยผนังเซลล์และทำให้ผนังเซลล์บางลง แม้จะยิ่งเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการย่อยเนื้อไม้ก็ตาม พวกมันยังกลับเหลือความเป็นโครงร่างแข็งของเนื้อไม้ไว้
และนั่นส่งผลให้คลื่นเสียงยังเคลื่อนผ่านได้ดีอยู่” ศาสตราจารย์กล่าว
ถ้าเทคนิคนี้ได้การยอมรับกันละก็ ไม่แน่ว่านอกจากยางสนที่เราต้องใช้มาถูกับสายแล้ว ก็ไม่แน่ว่า เราอาจจะต้องเก็บเชื้อราเอามาขัดไวโอลินของเราด้วยก็เป็นได้นะ :3
==========================================
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก telegraph.co.uk และภาพจาก hardydiagnostics.com