LINE


7 ไมค์คอนเดนเซอร์ Condenser Microphone สตูดิโอ, อัดเสียง, ทำเพลง ในงบ 5000

ไปซื้อ 7 ไมค์คอนเดนเซอร์ Condenser Microphone สตูดิโอ, อัดเสียง, ทำเพลง ในงบ 5000ที่สาขา

เอ….!!!  ไมค์คอนเดนเซอร์ที่ใช้งานได้ทั้งการอัดเสียง, สตูดิโอ, บันทึกเสียง, ทำเพลง, สตรีม, โฮมสตูดิโอ ฯลฯ แบบไมค์ตัวเดียวใช้งานได้อเนกประสงค์เลยมีมั้ยนะ….. ”

สวัสดีครับคุณผู้อ่านทุก ๆ ท่านหากกำลังมีคำถามในใจอย่างคำถามด้านบนนี้ Music Arms จะขอ ตอบคำถามนี้ในใจของทุกท่านกันครับ  “ Music Arms ขอแนะนำ 7 ไมค์คอนเดนเซอร์ Condenser Microphone สตูดิโอ, อัดเสียง, ทำเพลง ในงบ 5000 ”  ที่ตอบโจทย์ในเรื่องของคุณภาพเสียงและเหมาะกับทุกการใช้งาน (แอบกระซิปนะครับว่า 7 ไมค์คอนเดนเซอร์ที่ผมเนะนำนี้คุณภาพเกินราคาแน่นอนครับ) เอาละมีไมค์คอนเดนเซอร์ตัวไหนกันบ้างไปดูกันครับ

MXL 770 ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์

ลำดับที่ 1 MXL 770 ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ จาก Marshall Electronics ที่เชี่ยวชาญทางด้านอุสหกรรมเครื่องเสียงอย่าง แอมป์ Marshall นั่นเอง MXL 770 ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ที่คุณภาพเสียงดี เหมาะสำหรับเป็นไมค์คอนเดนเซอร์เริ่มต้นสำหรับนักดนตรีที่อยากจะมีไมค์คอนเดนเซอร์เอาไว้อัพเพลง อัพเสียง ทำ cover ต่าง ๆ ใช้ทำงานด้าน Home Studio อย่างครบวงจร ด้วยคุณสมบัติปรีแอมป์ FET ช่วยลดเสียงรบกวนพร้อมฟังชั่น Low Frequeny Roll ช่วยลดเสียงก้อง มีปุ่ม Pad Switch ที่ใช้ในการลดทอนความดังของการรับเสียงลงได้ 0 dB, -10 dB MXL 770 ไมคอนเดนเซอร์ตัวนี้มาพร้อมกับค่าตอบสนองความถี่อยู่ที่ 30Hz – 20kHz รูปแบบการรับเสียงแบบ Carioid Sensitivity ความไวต่อการรับสียง 15mV/Pa Noise Floor 20dB รองรับความดัง ได้สูงสุด 137dB (SPL) มาพร้อมกับ Pop Filter ที่มีประสิทธิภาพกันลดเสียง Noise ถึง 6dB/Octave และในกล่องยังมาพร้อมกับ Shock Mount ในกล่องโดยที่คุณไม่ต้องซื้อเพิ่มเลยครับ MXL 770 ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์

MXL 990/991 ไมค์คอนเดนเซอร์

ลำดับที่ 2 ไมค์คอนเดนเซอร์จาก MXL ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์สาย Home Studio, Cover อย่างแท้จริง ภายในกล่องมีไมค์มาด้วยกันถึง 2 ตัว MXL 990 (ไมค์สำหรับเสียงร้อง) รูปแบบการรับเสียงแบบ Cardioid, MVL 991 (ไมค์สำหรับอัดเครื่องดนตรี Aucoustic) รูปแบบการรับเสียงแบบ Subcardioid, พร้อมค่า Frequency Response 30Hz – 20kHz ความไวในการรับเสียงของไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ MXL990/991 อยู่ที่ 15mV/Pa สามารถรองรับความดังของเสียงได้สูงสุดถึง 130 dB (SPL) ในขณะที่ MXL 991 ที่เป็นไมค์สำหรับเครื่องดนตรี Aucoustic สามารถรองรับได้สูงสุดถึง 137dB (SPL) รับได้สูงขนาดนี้ไม่ต้องกลัวเลยว่าถ้าตีคอร์ดกีต้าร์แบบเต็มแรงจะรับได้มั้ย สบายเลยครับ การใช้งาน MXL 990/991 2 ตัวนี้ต้องใช้พลังงาน Phantom Power 48V ในการใช้งาน ค่า Impedance ความต้านทานเสียงต่ำ ทำให้เสียงที่ออกมาจาก MXL 990/991 นั้นจะคบวคุมเสียงได้ง่าย ได้เนื้อเสียงที่มีคุณภาพ เสียงชัดเจน นั่นเองครับ MXL 990/991 ไมค์คอนเดนเซอร์

Audio-Technica AT2020 Cardioid Condenser

ลำดับที่ 3 AT2020 ไมคอนเดนเซอร์ที่เหมาะสำหรับนักดนตรีผู้เริ่มต้นที่อยากหาไมค์คอนเดนเซอร์คุณภาพเสียงดีเอาไวใช้งานบันทึงเสียงทั่ว ๆ ไปทั้งงานอัดเสียง, งานสตูดิโอ, บันทึกเสียง cover และเป็นไมค์คอนเดนเซอร์ที่ออกแบบมาไว้ใช้สำหรับโฮมสตูดิโอโดยเฉพาะ ไมค์คอนเดนเซอร์ AT2020 รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมจากแบรนด์ Audio-Technica ประเทศญี่ปุ่น รับเสียงได้กว้าง 20Hz – 20kHz (Frequency Response) รูปแบบการรับเสียง Polar Pattern รูปแบบคาร์ดิออย ที่ปรับปรุงให้ลดการรับเสียงจากด้านข้างและด้านหลังให้ดีขึ้น ปรับปรุงองศาของการรับเสียงให้ดีขึ้น รองรับความดังของเสียงได้สูงสุดถึง 144dB (SPL) Noise Floor 20dB ไดนามิกซ์เรนจ์ Dynamic range อยู่ที่ 124 dB เรียกได้ว่าเหมาะสำหรับงานระดับ Home Studio ในทุก ๆ โอกาสจริง ๆ ครับ Audio-Technica AT2020

ไมโครโฟน Samson C03

ลำดับที่ 4 เรามาดูกันต่อที่ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ Condenser Microphone คุณภาพเสียงดีระดับมืออาชีพในราคาแบบสบายกระเป๋ากันครับนั่นก็คือไมค์คอนเดนเซอร์ รุ่น CO3 จากแบรนด์ Samson นั่นเองครับ ด้วยตัวไมค์ที่ออกแบบมาให้บรรจุไดอะแฟรม (Diaphragm​) ขนาด 19 มม. ทำให้ได้เสียงที่ชัดเจนแบบไม่มีตกหล่น ให้คุณภาพเสียงที่ออกมายอดเยี่ยมในระบบ 16-bit พร้อมกับรูปแบบการรับเสียงแบบ 3 IN 1 คือมีสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับเสียงได้ถึง 3 แบบในไมโครโฟน 1 ตัวนั่นก็คือ Super Cardioid, Omni, และ Figure 8 พร้อมปุ่ม Pad Switch ที่ใช้ในการลดทอนความดังของการรับเสียงลงได้ 0 dB, -10 dB และ Pad Switch ในการคัดย่านเสียง “Roll-Off” อีกด้วย การตอบสนองความถี่อยู่ที่ 40 Hz – 18 kHz Noise Floor 23dB รับรองความดังของเสียงสุงสุด 142dB และมีไดนามิกซ์เรนจ์ Dynamic range 119dB เหมาะสำหรับนักดนตรีที่ต้องการหาไมโครโฟนเอาไว้อัดเพลง cover ทำ โฮมสตูได้ตั้งแต่งานเริ่มต้นเสียงโปรเจ็คเล็ก ๆ ไปจนถึงงานเสียงระดับอาชีพโปรเจ็คใหญ่ ๆ ไมโครโฟน Samson C03

Franken SM 1 Studio Condenser Microphone

ลำดับที่ 5 Franken SM 1 Studio Condenser Microphone เป็นไมโครโฟนคอนเดนเซอร์รุ่นใหม่จาก Franken ที่มากล้นไปด้วยคุณภาพของเสียงในราคาที่นย่อมเยาเข้าถึงได้ ที่มาพร้อมกับการดีไซค์ที่เรียบหรู แถมยังสะดวกสบายในการใช้งานและมีน้ำหนักเบา ภายในประกอบด้วยแผ่นไดอะแฟรมขนาดใหญ่ (Large-Diaphragm) รูปแบบการรับเสียงแบบ Cardioid การตอบสนองความถี่อยู่ที่ 20Hz – 20kHz รองรับความดังของเสียงได้สูงถึง 130dB (SPL) ค่า Noise Floor 17dB ภายในกล่องมี Shock Mount ให้เพื่อกันการสั่นและการกระแทก เหมาะสำหรับนักดนตรีที่ต้องหาไมค์คอนเดนเซอร์เอาไว้ใช้งานได้ตั้งแต่งานเริ่มต้นจนถึงงานใหญ่ก็ครอบคุมทุกงานครับ Franken SM 1 Studio Condenser Microphone

Behringer TM1

ลำดับที่ 6 ไมโครโฟนจาก Behringer ที่ออกแบบดีไซค์ให้มีค่า Noise Floor ที่ต่ำ (Equivalent noise 4.5dB)  ให้เสียงของคุณมีความสะอาด, คลีน, ไม่มีเสียงรบกวน ในราคาหลักพันที่คุณเองก็เป็นเจ้าของได้ ออกแบบพรีเมี่ยมไดอะแฟรม ขนาด 1 นิ้ว (1” Super-Large Gold-Plated Diaphragm) ให้สามารถจับเสียงคุณด้วยความสมจริง รับเสียงได้ไวอย่างหน้าทึ่งออกแบบให้มีพรีแอมพลิฟายเออร์ที่ใหความโปร่งใส่และแม่นยำที่ไม่มีใครเทียบได้ มีค่าการตอบสนองความถี่อยู่ที่ 20Hz – 20kHz รองรับความดังสูงสุดได้ 138dB มีค่า อัตตราส่วนสัญญาณกับสัญญาณรบกวน 88.5dB Impedance 100 Ohms ช่วงไดนามิกซ์เรนจ์กว้าง (Dynamic range) 132 dB ในกล่องมี Shock Mount กันกระแทกกันการสั่นและ Pop Filter กรองน้ำลายและกรองฝุ่น เหมาะที่จะเป็นไมค์คอนเดนเซอร์อเนกประสงค์ที่ใช้งานได้หลากหลายตั้งแต่ Home Studio ไปจนถึง Professional Studio ครับ Behringer

Blue Ember ไมค์คอนเดนเซอร์

ลำดับที่ 7 มาถึงไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ลำดับสุดท้ายที่เราจะพูดถึงกันนะครับนั่นก็คือ Blue Ember นั่นเอง ไมค์คอนเดนเซอร์คุณภาพเสียงดีสำหรับงานบันทึกเสียง, อัดเสียง, Cover หรือการสตรีม หากใครเป็นสายสตรีมก็คงจะคุณชินกับคุณภาพเสียงของไมค์คอนเดนเซอร์ของ Blue อย่าง Blue yeti Pro ที่สตรีมเมอร์ขวัญใจแม่ยกที่เรียกได้ว่าเป็นสามีแห่งชาติที่สาว ๆ พร้อมใจกันเข้าคิว “แต่งค่ะ” อย่างพี่เอก HRK ครั้งนี้ Blue เลยได้ออกแบบไมค์คอนเดนเซอร์รุ่นน้องเล็กอย่าง Blue Ember เพื่อให้ตอบโจทย์ไมโครโฟนรุ่นเล็กราคาประหยัดที่ได้งานคุณภาพที่เกินคุ้ม (เรียกได้ว่าคุ้มเกินราคาครับ) รูปแบบการรับเสียงของ Blue Ember ตัวนี้นั้นเป็นรูปแบบการรับแบบ Cardioid คาร์ดิออยให้การตอบสนองความถี่มาที่ 38Hz – 20kHz ความต้านทาน Impedance อยู่ที่ 40 Ohms พร้อมความไวในการรับเสียงที่ 12mV/Pa รองรับความดังเสียงได้สูงสุด 132dB (SPL) และการเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบ XLR ที่ส่งสัญญาณเสียงได้ชัดเจนแบบไม่มีสะดุด ใช้พลังงานคู่กับ Phantom Power 48V ในการใช้งาน ให้คุณได้มั่นใจว่าเสียงของคุณนั้นจะมีความสม่ำเสมอของเสียงอย่างน่าทึ่ง ครับ Blue Ember ไมค์คอนเดนเซอร์

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ 7 ไมค์คอนเดนเซอร์ Condenser Microphone สตูดิโอ, อัดเสียง, ทำเพลง ในงบ 5000 ที่กระผมได้แนะนำให้คุณผู้อ่านทุกท่านอ่านกัน และแน่นอนครับหากท่านผู้อ่านอยากชมสินค้าเพิ่มเติมสามารถพิมพ์ชื่อสินค้าในช่องด้านบนขวาได้เลยครับหรืออยากจะดูสินค้าเกี่ยวกับไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ Condenser Microphone เพิ่มเติมก็สามารถจัดได้เลยครับ อยากจะไปลองสินค้าด้วยตัวเองก็สามารถเข้าไปทดลองสินค้าลองไปร้องไปฟังเสียนงกันได้ที่หน้าร้าน Music Arms ทุกสาขาเลยครับ สำหรับวันนี้ผมขอตัวลาไปก่อนสวัสดีครับ

×