6 เคล็ด (ไม่ลับ) ที่จะทำให้การโซโล่ของคุณเพราะขึ้น
สำหรับมือกีต้าร์นั้น เมื่อเล่นได้ซักระยะหนึ่งเชื่อว่าทุกคนย่อมอยากที่จะโซโล่กีต้าร์กันบ้าง เพราะจะให้ตีคอร์ดตลอดไปมันก็ดูจะไม่หวือหวาน่าตื่นเต้น อีกทั้งท่อนโซโล่เป็นท่อนที่มือกีต้าร์หลายคนรอคอยในเพลงที่จะได้ปล่อยความสามารถออกมาเต็มที่ จึงมีบางคนที่เริ่มเรียนรู้การโซโล่ แต่ก็มีหลายคนเช่นกันที่รู้สึกว่าทำไมเรายังโซโล่กีต้าร์ไม่เก่งซักที วันนี้ Music Arms จะมาแนะนำ 6 ข้อไม่ลับสู่การเป็นมือกีต้าร์โซโล่ที่ดีที่เพื่อนๆควรรู้ก่อนที่จะเริ่มหัดโซโล่ว่ามีอะไรบ้าง หากใครยังไม่มีข้อไหนก็ลองดูกันได้ว่าเรายังขาดอะไรอยู่
การเล่นง่ายๆ
ส่วนใหญ่แล้วมือกีต้าร์โดยเฉพาะหน้าใหม่ ชอบคิดว่าการเล่นหวือหวาหรือเล่นเร็วๆเป็นสิ่งสำคัญ แต่ที่จริงแล้วโน๊ตแต่ละโน๊ตมีความสำคัญในตัว ซึ่งหลักการของการเล่นดนตรีที่ถูกต้องคือความไพเราะไม่ใช่ความเร็ว การเล่นที่ดีนั้นควรเริ่มฝึกจากช้าๆง่ายๆก่อน เมื่อเล่นได้สำเนียงโน๊ตชัดมีความเคลียร์แล้ว ค่อยๆเพิ่มความเร็วไปสู่ส่วนที่ยากมากขึ้น พยายามอย่าข้ามขั้นตอนไปเล่นยากจะทำให้รู้สึกท้อในการเล่นกีต้าร์ หรือถ้าเล่นได้ก็จะไม่มีความไพเราะซึ่งถือว่าผิดหลักการของดนตรีอย่างมาก
การเชื่อมโน๊ต Phasing
การโซโล่นั้นในทางพื้นฐานก็จะเป็นการเชื่อมโน๊ตหนึ่งไปยังอีกโน๊ตหนึ่งอยู่แล้ว แต่สิ่งที่มือกีต้าร์หลายคนควรจะเน้นคือ”ความสมูธ”หรือการลื่นไหลในการใช้โน๊ต ไม่ว่าจะเป็นทางสเกลว่าเข้ากับคอร์ดหรือไม่ รวมไปถึงหางเสียงของโน๊ตที่ไม่ควรจะขาดจากกัน ไม่ใช่ว่าจิ้มโน๊ต C แล้วปล่อยสาย ไปโน๊ต D แบบห้วนๆ อย่างนั้นเพลงจะไม่น่าฟัง ทำให้ผู้รับสารเข้าไม่ถึงอารมณ์ของนักดนตรีที่จะสื่อ การเล่นโซโล่ที่ดีควรมีการเชื่อมโน๊ตที่ฟังแล้วเป็นธรรมชาติ หากไล่สเกลก็อย่าลืมเรื่องตรงนี้ด้วย
ไดนามิค
Dynamic คือความหนักเบาในการเล่น ซึ่งการเล่นดนตรีตามโน๊ตนั้นไม่ใช่ว่าจะเล่นไปเรื่อยๆได้ ผู้เล่นกีต้าร์ที่ดีตัวโน๊ตต้องมีน้ำหนัก เช่นการเล่นเปียโนจะเห็นได้ว่าผู้เล่นมีน้ำหนักการกดที่แตกต่างกันในตัวโน๊ตที่อยากจะเน้น เช่นเดียวกับการเล่นกีต้าร์ซึ่งจะดีดเท่ากันทุกโน๊ตก็จะไม่มีความโดดเด่นหรือความเพราะขึ้นมา ดังนั้นผู้เล่นจึงควรคำนึงด้วยว่าโน๊ตตัวไหนที่เราจะเน้นก็ดีดโน๊ตตัวนั้นให้ชัดเจน ตรงนี้ต้องอาศัยการใช้เทคนิคมือขวาช่วย เช่น การกัดปิ๊ก ก็จะช่วยให้โน๊ตมีความโดดเด่นมากขึ้น
ไวบราโต้
Vibrato แปลเป็นภาษาไทยได้ว่าการสั่นสะเทือน ซึ่งตรงกับการเล่นดนตรีประเภทเครื่องสายอย่างมาก เพราะแหล่งกำเนิดเสียงของเครื่องสายก็คือความสั่น กีต้าร์ถือเป็นเครื่องดนตรีประเภทสายที่ต้องเน้นเรื่องความสั่นอยู่แล้ว แต่กับคำว่า Vibrato นั่นคือการสั่นในแต่ละโน๊ต เช่นหางโน๊ต หรือกลางโน๊ต เพื่อที่จะทำให้โน๊ตตัวนั้นมีความน่าสนใจขึ้นมา หรือบ่งบอกถึงอารมณ์ของผู้เล่น การเล่นกีต้าร์ที่ดีควรเล่น Vibrato เป็น เริ่มฝึกง่ายๆด้วยการสั่นสายด้วยมือซ้ายอย่างช้าๆก่อน จะช่วยให้ซาวด์มีความน่าฟังมากขึ้น
Repitition การเล่นซ้ำ
ใน 1 สเกลก็จะประกอบด้วยตัวโน๊ต 7 ตัว นั่นคือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที ซึ่งปกติแล้วก็จะเป็นการเรียงโน๊ตตามสเกลหรือคอร์ดที่เล่น แต่สามารถเล่นซ้ำกันได้โดยที่เปลี่ยนหางประโยคทางดนตรีกันเล็กน้อย ก็จะได้รูปแบบการเล่นที่แตกต่างและมีสีสันมากขึ้น การเล่น Repitition ถือเป็นวิธีเล่นที่แม้แต่มืออาชีพก็ยังนำมาประยุกต์ใช้อยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงเป็นลูกเล่นที่นำมาใช้งานในการฝึกซ้อมได้เป็นอย่างดี ผู้เล่นกีต้าร์ที่ดีควรรู้จังหวะการเล่น Repitition ว่าควรนำไปใช้ตอนไหน จะช่วยเพิ่มการเล่นกีต้าร์ให้น่าฟังมากขึ้น
นำทุกอย่างมารวมกัน
สิ่งสุดท้ายคือการนำทุกอย่างที่สำคัญมาประยุกต์ใช้ในแต่ละสถานการณ์ รวมถึงฝึกฝนเทคนิกเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาทักษะและแนวคิดให้การเล่นดนตรีให้มีความหลากหลายและมีความไพเราะ ทั้งหมดนี้ถือเป็นพื้นฐานการเล่นกีต้าร์โซโล่ที่มือกีต้าร์แทบทุกคนต้องใช้ตลอดเวลา ในบางครั้งคนเราอาจลืมเรื่องพื้นฐานง่ายๆแต่เป็นหลักในการเรียนรู้ไปบ้าง หากยังไม่มีข้อไหนก็สามารถเอามาทบทวนดูได้ เพื่อที่จะเป็นมือกีต้าร์โซโล่ดีๆ เล่นกับวงได้หรือเล่นกีต้าร์ฮีโร่ได้อย่างสบายใจ แต่ถ้ามองหากีต้าร์ดีๆใช้ก็แวะมาที่ร้าน Music Arms กันได้นะจ๊ะ