แม้ว่าจะเป็นทรง Les Paul ก็ตาม แต่เรื่องรายละเอียดภายในกีต้าร์นั้นบอกเลยว่าแตกต่างจากแบรนด์หลักอย่าง Gibson อย่างสิ้นเชิง อันนี้เพื่อนๆต้องเข้าใจเพราะดัมป์ราคาลงมาขนาดนี้แล้วจะให้ใช้วัสดุไม้เกรดเดียวกับกีต้าร์ตัวเกือบแสนคงไม่ได้ บอดี้เลือกใช้ไม้ป็อปลาร์ ข้อดีของไม้นี้คือมีน้ำหนักเบา แต่เสียงจะออกโทนเสียงกลางมากกว่า และแตกต่างจากทรง Les Paul ปกติที่ใช้ไม้มะฮอกกานี
ส่วนคอนั้นยังคงเอกลักษณ์ของ Les Paul โดยใช้ไมะมะฮอกกานี ทำทรงคอแบบยุค 60 ขนาดไม่เล็กมาก แต่ไม่ได้ใหญ่จนเกินไป ฟิงเกอร์บอร์ดโรสวู้ด อินเลย์ลายจุด ตรงนี้ถือว่าช่วยเสริมความหนาของเสียงกีต้าร์ได้อย่างดี กับกีต้าร์ราคานี้แต่เลือกใช้วัสดุไม้ขนาดนี้ถือว่าค่อนข้างคุ้ม
และนี่คือกีต้าร์ Gibson ที่ได้ชื่อว่าเป็นที่หมายมองของมือกีต้าร์มากมาย ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกก็ถือว่ากินขาดทรง Les Paul อื่นๆแล้ว ถ้าได้มาลองเสียงจะรู้เลยว่าความคลาสสิคของ Les Paul เป็นยังไง สำหรับกีต้าร์ Gibson Les Paul Traditional 2018 รวมถึง Gibson รุ่นอื่นๆ เพื่อนสามารถเดินเข้ามาลองเสียงรวมถึงสั่งซื้อได้ที่ร้าน Musicarms ทุกสาขาเช่นเคย เพราะทางเราคือตัวแทนจำหน่ายอย่างถูกต้อง มั่นใจได้เลยว่าได้ของแท้คุณภาพดีกลับไป รับรองว่าไม่มีผิดหวังจากใจทีมงาน Musicarms ครับผม
เบส ระบบ Passive และ Active จริงๆแล้วคือระบบการจ่ายไฟให้กับตัวปิ๊กอัพนั่นเอง ระบบ Passive นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ไฟในการเลี้ยงวงจร ส่วนระบบแบบ Active จำเป็นต้องการไฟที่จะเลี้ยงวงจร ระบบทั้ง 2 แบบ มีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งแบบ มาดูกันว่าแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ
เบสแบบ Passive เบสที่มีปิ๊กอัพแบบ Passive อย่างที่ได้กล่าวไปนั้นว่าเป็นระบบที่ไม่ต้องการไฟเลี้ยงวงจร เพราะฉนั้นข้อดีข้อแรกเลยคือไม่ต้องใส่ถ่าน เราสามารถที่จะเสียบตู้แอมป์แล้วเล่นได้ทันที จุดเด่นของระบบ Passive คือจะให้เสียงที่ออกมาจากตัวเบส 100 % ไม่ว่าจะเป็นจาก Body, Neck หรือ PU ซึ่งต่างจากระบบ Active ที่ส่วนใหญ่ เสียงจะมาจาก PU หรือภาค Pre ของเบส ทำให้คาเลคเตอร์ของเบสตัวนั้นๆ จะค่อนข้างชัดเจน ส่วนข้อเสียนั้น ในระบบแบบ Passive การปรับแต่งเสียงจะปรับไม่ได้กว้างมากนัก และจะมี Output ที่จะเบากว่า ระบบแบบ Active
เบสแบบ Active
เบสแบบระบบ Active จะตรงกันข้ามกับระบบ Passive ที่ต้องการไฟไปใช้ในการเลี้ยงวงจร จึงจำเป็นต้องมีช่องสำหรับใส่ถ่าน 9V ( บางรุ่นต้องใส่ 2 ก้อน ) และนี่คือข้อเสียข้อแรกของเบสแบบ Active เพราะถ้าหากไม่ใส่ถ่านหรือถ่านหมด จะไม่สามารถใช้งานได้ ลองคิดดูว่าหากกำลังเล่นอยู่บนเวที แล้วถ่านดันหมดกลางคันขึ้นมาคงจะวุ่นวายน่าดู แต่ถ้าจะให้พูดถึงข้อดีนั้น เบสแบบ Active ก็มีข้อดีมากมาย คือ ความหลากหลายในการปรับแต่งเสียง เรียกได้ว่าสามารถเล่นได้ทุกแนวเพลงเลยทีเดียว
โดยระบบ Active นั้นจะมี 2 แบบคือ Active ที่ภาค Pre และ Active ที่ PU ทั้ง 2 แบบจะได้ข้อดีที่ต่างกัน โดยเบสที่มี Active ที่ ภาค Pre นั้นจะมีข้อดีคือไม่เลือกแอมป์ เพราะไม่ว่าจะเจอแอมป์ประเภทไหน เราสามารถปรับ EQ จากตัว Pre ของเบส เพื่อให้ได้เสียงที่เราต้องการได้ ส่วนเบสที่ Active ที่ PU จะได้ Output ที่แรง ดุดัน และเสียงที่ชัดเจน เรียกได้ว่าไม่ต้องกลัวเสียงจมกันเลยทีเดียว
สรุป
ทั้งเบสแบบ Passive หรือ Active มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับที่เราต้องการคาเลคเตอร์ของเบสแบบไหนไปใช้งาน อยากได้กว้างๆ เสียงดุๆ เลือก Active อยากได้ความ Vintage เลือก Passive ได้เลยครับผม