Monthly Archives: ตุลาคม 2017
Saxophone Coleman CL-336A
ขายเพียง  20,250฿ จาก  22,500฿Saxophone Coleman CL-335A
ขายเพียง  20,250฿ จาก  22,500฿Saxophone Coleman CL-334A
ขายเพียง  20,250฿ จาก  22,500฿Saxophone Coleman CL-333A
ขายเพียง  17,000฿ จาก  18,900฿Saxophone Coleman CL-331A
ขายเพียง  16,650฿ จาก  18,500฿Saxophone Coleman CL-330A
ขายเพียง  16,650฿ จาก  18,500฿ประวัติ Saxophone
Saxophone เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนคลาริเนต ตัวเครื่องจะทำด้วยโลหะทองเหลือง มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษอีกอย่างว่า Brass clarinet หรือ คลาริเนตทองเหลือง มีความนิยมและแพร่หลายอยู่ในวงดนตรีประเภทคลาสสิคและแจ๊สมาเป็นเวลานาน จุดเริ่มต้นของ Saxophone มาจาก อดอลฟ์ แซกซ์ หรือชื่อจริงว่า “อ็องตวน-โฌแซ็ฟ ซักซ์” เกิดที่เมืองดีน็องต์ในประเทศเบลเยี่ยมเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814 บิดาเป็นนักดนตรีฟลุตและคลาริเนต รวมถึงกิจการที่บ้านยังเป็นโรงงานผลิตเครื่องดนตรี ตัวเขาเองได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทั้งเรื่องการเล่นดนตรีและการประดิษฐ์เครื่องดนตรีมาจากบิดาตั้งแต่ยังเล็ก รวมถึงการสนับสนุนจากครอบครัวอย่างดีด้วยการส่งไปเรียนที่สถาบันดนตรีแห่งกรุงบรัสเซลส์
ในวัยเพียงแค่ 16 ปี หรือปี ค.ศ. 1830 อดอลฟ์ แซกซ์ ได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีชิ้นแรกในชีวิตคือฟลุตและคลาริเนตซึ่งทำด้วยงาช้าง ออกแสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ ได้ลิขสิทธิ์ในการประดิษฐ์เบสคลาริเนตเมื่อปี 1838 ทำให้เริ่มมีชื่อเสียงในฐานะนักประดิษฐ์เครื่องดนตรีประเภทลมไม้ ในช่วงหลังปี 1838 เขาได้เริ่มคิดค้นเครื่องดนตรีประเภททองเหลืองโดยเริ่มจาก แซกฮอร์น (Saxhorn) จนปี 1840 นายวงโยธวาทิตผู้หนึ่งติดต่อให้ อดอล์ฟ แซกซ์ ประดิษฐ์เครื่องเป่าชนิดใดก็ได้ที่ให้เสียงดังเพื่อใช้ในวงและต้องการให้มีเสียงคล้ายเครื่องลมไม้ในที่สุด อดอล์ฟ แซกซ์ ก็นำเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองที่ล้าสมัยชื่อว่า โอฟิไคลด์ (Ophicleide) มาถอดที่เป่าอันเดิมออก และเอาที่เป่าของแคริเน็ตเข้าไปใส่แทนรวมทั้งแก้ไขกลไกของกระเดื่องที่ปิดรู โดยเขาตั้งชื่อมันว่า แซกโซโฟน (Saxophone)
หลังจากคิดค้น Saxophone ออกมาแล้ว เขาได้นำออกแสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ใน ค.ศ. 1841 นักปราชญ์ดนตรีในสมัยนั้นยกย่องอย่างมากกับการผสมผสานระหว่างเครื่องลมไม้กับเครื่องทองเหลืองและยอมรับให้เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีประเภทลมไม้ แต่น่าเสียดายที่คณะกรรมการไม่ได้มอบรางวัลให้แก่เขาโดยอ้างว่าอายุน้อย อดอล์ฟ แซกซ์จึงตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่ปารีสเพื่อขยายยอดผู้ชมและฐานลูกค้าให้มากกว่าเดิม ในปี 1842 เขาจึงตั้งร้านประดิษฐ์และซ่อมเครื่องดนตรีที่กรุงปารีส แต่กว่าจะได้จดสิทธิบัตร Saxophone เป็นของตนเองก็ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี เพราะนักดนตรีคลาสสิคในสมัยนั้นไม่ยอมรับเครื่องดนตรีประเภทครึ่งๆกลางระหว่างเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลือง รวมไปถึงประเภทดนตรีที่ใช้เครื่องนี้มีน้อยเหลือเกิน
จุดเปลี่ยนสำคัญของ อดอล์ฟ แซก มาถึงเมื่อปี 1845 เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสต้องการแต่งทำนองเพลงเพื่อควบคุมวงโยธวาทิตของทหารราบให้มีความพร้อมเพรียงกันซึ่งเห็นว่าเป็นโอกาสที่ อดอล์ฟ แซกซ์ จะแสดงประสิทธิภาพของแซกโซโฟน จึงได้เสนอเครื่องดนตรีที่เขาประดิษฐ์คิดค้นขึ้นให้กับรัฐบาลฝรั่งเศสเพื่อให้ประชันกันระหว่างแซกโซโฟนกับเครื่องดนตรีดั้งเดิมของกองทหารราบ ในที่สุด อดอล์ฟ แซกซ์ ก็ได้รับชัยชนะและแซ็กโซโฟนกลายเป็นเครื่องดนตรีในวงโยธวาทิตของทหารฝรั่งเศสไปโดยอัตโนมัติ ทำให้ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรเป็นผู้คิดค้น Saxophone ในปี 1847 โดยแซ็กโซโฟนตัวแรกนั้นมีข้อความ “Saxophone alto Eb ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้ว Adolphe Sax ปารีส ที่สวนดอกไม้ของจักรพรรดิ เลขที่ 50 ถนน Georges ปารีส” สลักอยู่ที่ข้างเครื่อง
แม้ว่าจะได้รับสิทธิบัตรเป็นของตนเองแล้ว แต่ชีวิตของ อดอล์ฟ แซ็กซ์ กลับไม่ได้เรียบหรูสวยงามดังที่คาด บรรดานักดนตรีคลาสสิคสมัยนั้นยังคงใช้เครื่องดนตรีของเขาน้อยเหลือเกิน อีกทั้งยังมีคนที่พยายามขโมยสิทธิ บัตรของเค้าและเผาทำลายห้องทำงาน รวมถึงถูกฟ้องล้มละลายถึง 2 ครั้งในปี ค.ศ.1856 และ ในปี ค.ศ.1873 เขาต้องใช้เวลาต่อสู้กับชีวิตที่แสนลำบากยากเข็ญอยู่ร่วมสิบปี จนเมื่อเขาอายุได้ 79 ปี ก็มีนักแต่งเพลง 3 ท่าน ได้แก่ จูเลส แมสเซเน็ต (Jules Massenet) , เอมมานูเอล คาแบร์ (Emmanuel Chabrier), และคาไมล์ เซนต์-เซียนส์ (Camile Saint-Saens) เป็นตัวตั้งตัวตีเรียกร้องให้ French Minister of Fine Arts (กระทรวงวัฒนธรรมศิลปะและดนตรีของฝรั่งเศส) เข้ายื่นมือช่วยเหลือ แต่น่าเสียดายที่ อดอล์ฟ แซ็กซ์ เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 ที่กรุงปารีสเสียก่อนในวัย 79 ปี
หลังจากที่ อดอล์ฟ แซกซ์ เสียชีวิตลงไป ทางกระทรวงวัฒนธรรมศิลปะและดนตรีของฝรั่งเศสได้หันมาให้ความสำคัญกับเครื่องดนตรีประเภททองเหลืองมากขึ้น ทำให้ Saxophone เริ่มแพร่หลายไปในหมู่นักดนตรีคลาสสิคและนักดนตรีแจ๊ส จนตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 บริษัทเฮนรี่ เซลเมอร์แห่งปารีสได้ซื้อร้านของ อดอล์ฟ แซกซ์ ต่อจากทายาทของเขามาดำเนินกิจการแทน และได้ผลิตแซกโซโฟนยี่ห้อ เซลเมอร์ ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1920 ก่อนจะเป็นผู้เริ่มตีตลาดเครื่องดนตรีแซกโซโฟนของโลก สานฝัน อดอล์ฟ แซกซ์ ที่ต้องการให้มีคนเล่นเครื่องดนตรีของเขาอย่างแพร่หลายให้เป็นจริงในอีก 50 ปีต่อมา