การปรับซาวด์หน้าตู้และชนิดเอฟเฟ็ค

เอฟเฟคกีต้าร์ถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆของมือกีต้าร์ไฟฟ้า เพราะนอกจากตัวกีต้าร์จะได้คุณภาพแล้ว การปรับซาวด์จากตู้ แอมป์และเอฟเฟ็คก็มีส่วนอย่างมาก การปรับซาวด์หน้าตู้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่มือกีต้าร์ต้องเรียนรู้ อีกทั้งชนิดของเอฟเฟคเองก็มี หลายแบบให้เลือกใช้งานตามประเภทแนวดนตรี วันนี้จึงจะบอกถึง Tone หน้าตู้และชนิดเอฟเฟคแต่ละประเภทว่าให้ เสียงอย่างไร

LINE-6-SPIDER-V-20-ด้านซ้าย

Tone Controls หน้าตู้

ปกติแล้วตู้แอมป์กีต้าร์ไฟฟ้าจะมีแผง EQ (equaliser) 3 ย่านเสียงคือ Treble (เสียงแหลม)
Middle (เสียงกลาง) และ Bass (เสียงทุ้ม) ซาวด์ Treble จะให้เสียงที่คมชัดมากขึ้นซึ่งปกติแล้วจะปรับที่ ระดับ 5-6 ส่วนซาวด์ Middle จะให้เสียงแบบร็อคซาวด์ ซึ่งปกติแล้วจะปรับกันที่ 3-4 และ ซาวด์ Bass คือซาวเสียงทุ้มที่มักปรับกันที่ระดับ 6-7 ยกเว้นแอมป์ขนาดเล็กที่ซาวด์จะบาง จึงต้องปรับ 7-8 ในบางรุ่น

นอกจากนี้แอมป์ยังมีส่วนของ Gain และ Overdrive คือทำเสียงให้แตกไว้ใช้ในแนวดนตรีร็อค เมื่อก่อนจะเป็น เอฟเฟ็คชนิดหนึ่งซึ่งค่ายแรกๆที่ทำออกมาคือ Boss ปัจจุบันได้เอาฟังค์ชั่นนี้ใส่ไว้ในตู้แอมป์ด้วยเพราะมีการใช้อย่างแพร่หลาย ปกติก็จะปรับได้ถึง 10 ระดับตามความแตกและดุของเสียง ซึ่งแตกต่างกันไปตามแนวดนตรี ถ้าต้องการร็อคหนักๆก็ต้อง ปรับเยอะ หรือถ้าเป็นบลูส์เบาๆก็อาจปรับแค่ 3-4 เท่านั้น

LINE6-POD-GO-Wireless-Full

ชนิดของเอฟเฟค

ปัจจุบันเอฟเฟคที่เป็นระบบดิจิตอลได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะสะดวกต่อการใช้งานและพกพา แต่ยังมีกลุ่มนักดนตรีที่ชื่นชอบ การแยกเอฟเฟคแบบก้อนอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะมือกีต้าร์ที่เล่นอาชีพตามเวทีใหญ่ๆ เพราะเอฟเฟคแบบก้อนจะมีการตัดและต่อ ย่านเสียงเข้าตู้แอมป์โดยตรง ทำให้ซาวด์แต่ละประเภทชัดเจนไม่ถูกรบกวน เอฟเฟคแบบก้อนก็จะมีหลายชนิด เช่น

เอฟเฟค Joyo R-14 Atmosphere 9 Modes Multi Reverb

Reverb

เป็นซาวด์ที่ทำให้เสียงก้องขึ้นเหมือนเล่นอยู่ในห้อง ปกติแล้วมักจะใช้ควบคู่กับเสียงคลีนเพื่อเพิ่มความหนาให้กับซาวด์กีต้าร์ ลักษณะเสียงจะคล้าย Echo หรือเข้าใจง่ายๆว่าเสียงซ้อนกันทำให้ฟังแล้วหนาขึ้นนั่นเอง ปกติแล้วค่า Reverb มักจะ ปรับที่ 2-4 คือไม่มากเท่าไหร่นัก

Joyo R-10 Nascar BBD Bucket Brigade Analog Delay

Delay

หลายๆคนอาจจะรู้ว่า Delay คล้ายๆ Reverb แต่ Delay จะเป็นลักษณะเสียงสะท้อน เช่น เล่นโน๊ตตัวหนึ่งแล้ว อีกประมาณ 1 วินาทีจะมีเสียงโน๊ตตัวนั้นซ้อนขึ้นมาในหางเสียงของเสียงแรก ลักษณะการสะท้อนจะเหมือนเสียงในถ้ำแตกต่างจาก Reverb เพราะเสียงจะเป็นลักษณะ”ตาม” ไม่ใช่การ”ซ้อน”แบบ Reverb ปกติจะปรับกันที่ 5-6

Chorus Effect

Chorus

ซาวด์นี้ลักษณะตรงตามชื่อคือเหมือนมีคอรัสเบาๆคลอไปด้วย มือกีต้าร์ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเสียงกีต้าร์หวานขึ้น มักจะใช้ในดนตรี แจ๊ส เพราะเสียงจะฟังดูลึกมีมิติ ปกติแล้วปรับที่ 3-4 หรือถ้าเป็นแนวแจ๊สก็อาจจะตั้งไว้เยอะขึ้น ปัจจุบันคอรัสค่อนข้างได้รับความนิยมเพราะทำให้ซาวด์กีต้าร์ฟังดูเต็มหรือแน่นขึ้น อีกทั้งการปรับคอรัสมากนั้นไม่ค่อยทำให้ซาวด์เปลี่ยนเหมือนดีเลย์ จึงเลือกตั้งค่าได้ตามความชอบใจ

Strymon Flanger

Flanger

เอฟเฟคแบบนี้จะให้ซาวด์ที่แตกต่างออกไปอย่างเด่นชัด เพราะตัวนี้จะเป็นการปรับความถี่ของเสียงให้ช้าหรือเร็วขึ้น เสียงเวลากดเอฟเฟคจึงเป็นเสียงคล้ายรถวิ่งหรือเสียงเครื่องบินเพราะมีการแปลงความถี่มาแล้ว ซาวด์จะมีลักษณะแกว่งๆจนบางคนให้คำนิยามว่าเสียงจะเป็นแบบ “หมุน” รอบตัวผู้ฟัง

Wah Wah

Wah-Wah

บ้านเราเรียกว่าวาล์ว ซึ่งเอฟเฟคชนิดนี้มักจะต่อแยกออกมา การกดจะเป็นแป้นสวิทช์เท้าสามารถควบคุมเสียงเปิด-ปิดได้ตามจังหวะ เสียงจะถูกปรับย่านความถี่ให้ฟังดูแปลกๆไป ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเสียงมีความ”บวม”ขึ้น มักใช้เป็นลูกเล่นในเพลงหลายๆแนว

Tech 21 Fly Rig 5 v2 guitar effect

ทั้งหมดคือเอฟเฟคที่มักจะนิยมใช้ในหมู่มือกีต้าร์ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเอฟเฟคแบบมัลติหรือแบบก้อนก็มักจะมีเสียงเหล่านี้ติดไว้เพราะทำให้เล่นได้หลากหลายแนวมากขึ้น ดังนั้นหากรู้จักเลือกใช้เอฟเฟครูปแบบต่างๆซาวด์กีต้าร์ก็จะออกมามีมิติมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองเหมือนมือกีต้าร์ดังๆที่พอฟังจะรู้ทันทีว่าใครเล่น ดังนั้นนอกจากการฝึกซ้อมแล้วก็อย่าละเลยเรื่องการปรับหน้าตู้และเอฟเฟคกันด้วยนะจ๊ะ

ขอบคุณบทความจาก goodnightkiss

ขอบคุณรูปภาพจาก guitarchulk, Boss, bestguitar

5 เหตุผลที่ต้องเลือก Stratocaster !!!

Fender American Standard Stratocaster

วันก่อนทาง Music Arms ได้พูดถึงข้อดี 5 ข้อของกีต้าร์ทรง Les Paul กันไปแล้ว ทีนี้สาวก Stratocaster หรือสาย Fender คงไม่ต้องน้อยใจ เพราะวันนี้ Music Arms จะมาบอกข้อดี 5 ข้อของทางทรงนี้เช่นกัน ซึ่งต้องเกริ่นก่อนว่าทรงนี้เหมือนเป็นซิกเนเจอร์ของแบรนด์ยอดฮิตอย่าง Fender เนื่องจากทำมาเป็นเจ้าแรก ก่อนที่แบรนด์อื่นๆจะหยิบยืมไปใช้ในการทำกีต้าร์บ้าง นั่นแสดงให้เห็นว่าทรง Stratocaster นั้นย่อมต้องมีดีในวงกว้างไม่แพ้ทรง Les Paul ซึ่งเราจะหยิบยกข้อดีมาเป็นข้อๆได้ดังนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Stratocaster  guitar

1. น้ำหนักของกีต้าร์

หลายๆคนที่เคยจับทั้ง Les Paul และ Strat จะทราบกันดีว่า ทรง Strat มีน้ำหนักที่เบากว่ามาก น้ำหนักเฉลี่ยของ Stratocaster อยู่ที่ 7-8 ปอนด์เท่านั้นในขณะที่ทรง Les Paul หนักถึง 9-11 ปอนด์ ดังนั้นเวลาสะพายกีต้าร์เล่นนานๆการเลือกซื้อทรง Strat ย่อมได้เปรียบกว่า รวมไปถึงความสะดวกในการพกพาไปไหนมาไหนอีกด้วย

Image result for Spare parts Stratocaster

2. อะไหล่สำรอง

ด้วยความเป็นทรงยอดฮิตอันดับหนึ่งของโลก ทำให้ Stratocaster เองมีอะไหล่จำลองค่อนข้างมาก ถ้าเป็นพวกสายชอบปรับแต่งกีต้าร์แล้วมักจะเน้นไปที่ทรงนี้มากกว่า เพราะวงจรไฟฟ้าภายในของ Strat ไม่ซับซ้อนเท่ากับ Les Paul รวมไปถึงร้านรับทำกีต้าร์ต่างๆที่มักจะคิดค่าซ่อมหรือทำของ Strat ถูกกว่าทรงอื่นๆ ทำให้ทรงนี้เหมาะสำหรับทั้งมือใหม่ที่กลัวจะหาอะไหล่กีต้าร์เปลี่ยนไม่ได้ รวมไปถึงมือเก๋าขาโมนั่นเอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Stratocaster  guitar

3. ความหลากหลายของย่านซาวด์

กว่า 90%ของ Stratocaster จะมีปิ๊กอัพ 3 ทาง คือปิ๊กอัพหน้า (ส่วนคอ) ปิ๊กอัพกลาง (ส่วนบอดี้) และปิ๊กอัพหลัง (ส่วนบริดจ์) รวมไปถึงสวิทช์ปรับแต่งได้ 5 ซีเล็คชั่น นั่นทำให้ทรง Strat นั่นมีย่านซาวด์ที่ค่อนข้างกว้างกว่าทรงอื่นอย่างเห็นได้ชัด และหากใครอยากให้เสียงหนาขึ้นก็สามารถเปลี่ยนตัวหลังเป็นแบบ Hambuckers ก็ได้เพราะตามที่เกริ่นไปแล้วว่าวงจรไฟฟ้าของ Strat ไม่ยุ่งยาก ทำให้ไม่ว่าจะเป็นนักดนตรีแนวบลูส์ ร็อค แจ๊ส ต่างก็ชื่นชอบซาวด์ของทรง Strat จนมีคำพูดติดปากว่าถ้าเป็นมือใหม่ให้ซื้อ Stratocaster ไว้ก่อนเพราะเล่นได้กว้างหลายแนวนั่นเอง

Image result for neck fingerboard Stratocaster

4. คอและฟิงเกอร์บอร์ด

คอของทรง Strat มักจะมีขนาดบางกว่า Les Paul ซึ่งตอบโจทย์ของมือกีต้าร์ได้หลากหลายแนว บางคนที่ชอบโซโล่ไวๆคงไม่ชอบคอที่อ้วนกลมซึ่งจับยาก หรือหากเป็นแนวดันสายก็ยังสามารถเล่นคอของ Stratocaster ได้แบบไม่เคอะเขิน รวมไปถึงเนื้อไม้ที่มีผลต่อย่านซาวด์อีกด้วยเพราะส่วนใหญ่ Les Paul จะไม่ใช้ไม้เมเปิ้ล แต่ทางฝั่ง Strat กลับเลือกใช้ไม้ชนิดนี้มาทำส่วนคอซะมาก ทำให้คอทรง Strat จึงให้ย่านเสียงกลางไปทางเสียงสูงซะเป็นส่วนใหญ่ ความชัดตัวตัวโน๊ตแต่ละเสียงค่อนข้างใสมากกว่าคอไม้มะฮอกกานี

5. ราคา

ข้อสุดท้ายนี่น่าจะเป็นสิ่งสำคัญเกือบที่สุดของคนที่คิดจะซื้อกีต้าร์ เพราะเกือบทุกยี่ห้องเวลาทำทรง Les Paul ออกมามักจะมีราคาที่สูงกว่าทรงอื่นซักเล็กน้อยเนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบทรง Les Paul เป็นการส่วนตัว แต่ถ้าหากคุณเป็นสาวก Stratocaster แล้วปัญหานี้จะหมดไปเพราะทรง Strat จะมีราคาที่ถูกกว่าทรงอื่นไม่ว่าจะเป็น SG, Les Paul, หรือจากัวร์อย่างแน่นอน จึงเป็นการประหยัดงบสำหรับการเลือกซื้อกีต้าร์สเป็คดีๆเท่าๆกันในราคาที่ย่อมเยากว่านั่นเอง

ขอบคุณบทความจาก spinditty

ขอบคุณรูปภาพจาก spinditty, Axecaster, Guitarrepair

มารู้จักไม้ทำกีต้าร์กันเถอะ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ guitar wood

กีต้าร์ที่เราใช้โดยส่วนใหญ่นั้นมักมีส่วนประกอบทำมาจากไม้แทบทั้งสิ้น โดยทั่วไปจะผลิต 2 ส่วนคือตัวบอดี้และส่วนคอ ซึ่งไม้แต่ ละชนิดก็จะให้เสียงที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะเฉพาะตัวของไม้นั้นๆ ดังนั้นการรู้จักซาวด์ของไม้ถือเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยในการเลือกซื้อกีต้าร์ที่ดีหรือตรงกับแนวดนตรีที่เล่นอยู่ จึงจะขออธิบายซาวด์ของไม้แต่ละประเภทคร่าวๆดังนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Elder wood
ไม้เอลเดอร์ Alder Wood

ถือเป็นไม้ยอดฮิตที่นำมาทำเป็นส่วนบอดี้กีต้าร์ในยุค 50′ จนถึงยุค 60′ มีน้ำหนักค่อนข้างเบาลวดลายไม้สวยงาม เสียงที่ออกมาค่อนข้างคลีนใสและชัด ย่านเสียงค่อนข้างเต็มทั้งทุ้มและแหลม โดยเสียงกลางอาจจะเบาเล็กน้อย ลักษณะซาวด์ทุ้มและแหลมจะผสมกันลงตัวทำให้ออกมาเสียงหวาน ข้อเสียคือความต่อเนื่องของเสียง (sustain) จะไม่กว้าง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Ash wood

ไม้แอช Ash Wood

เป็นไม้ที่ทาง Fender นำไปใช้ทำบอดี้กีต้าร์ในช่วงปี 60′ ซึ่งถ้าใครเคยได้ยินเสียงของ Fender ยุคนี้ก็จะทราบลักษณะซาวด์ของไม้ได้ดีเพราะเป็นเอกลักษณ์ของ Fender ไปแล้ว เสียงกลางจะชัดกว่าไม้เอลเดอร์ค่อนไปทางทุ้มเล็กน้อยทำให้เล่นได้ทุกแนวดนตรีและความต่อเนื่องของเสียงจะมากกว่าไม้เอลเดอร์

Image result for woods to make guitar

ไม้เบสวู้ด Basswood

เป็นไม้ที่ราคาไม่แพงทำให้มักจะนำมาผลิตกีต้าร์แบรนด์ระดับล่าง แต่ไม้เบสวู้ดเองหากปลูกในภูมิประเทศที่เหมาะสมก็จะให้เสียงที่ดีเช่นกัน ข้อเสียของไม้ชนิดนี้คือค่อนข้างดูดน้ำทำให้ชื้นง่ายและแห้งยาก โทนเสียงจะให้ความรู้สึกอบอุ่นและซาวด์ค่อนข้างแหลมบาง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Corina wood

ไม้คอริน่า Korina Wood

เป็นไม้ที่ปลูกในแอฟริกาเป็นส่วนใหญ่ จุดเด่นของไม้ลักษณะนี้คือให้เสียงที่ค่อนข้างทุ้มกว่าไม้มะฮอกกานี และให้เสียง sustain ค่อนข้างกว้าง แบรนด์ดังอย่าง Gibson เคยนิยมนำไม้ชนิดนี้มาทำกีต้าร์ในยุค 50′ ก่อนจะปรับมาใช้ไม้มะฮอกกานีในช่วงหลัง ซึ่งปัจจุบันไม้คอริน่าหรือที่เรียกอีกชื่อว่าไม้ลิมบามีกจะถูกนำไปใช้ทำเบสมากกว่า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Mahogany wood guitar

ไม้มะฮอกกานี Mahogany Wood

เป็นไม้ที่ทาง Gibson นำมาผลิตกีต้าร์ในยุคปัจจุบัน ซาวด์จึงออกมาในรูปแบบของกิ๊กสันแท้ๆคือหนาและนุ่มลึก เพราะไม้มะฮอกกานีเป็นไม้เสียงทุ้ม แต่ค่อนข้างหนัก ปัจจุบันทาง Gibson เองได้มีกรรมวิธีผลิตโดยผสมไม้เมเปิ้ลควบคู่ไปด้วยทำให้ซาวด์ออกมาบางลงเล็กน้อยมีความเป็นกลางมากขึ้น

ไม้เมเปิ้ล Maple Wood

สมัยก่อนเป็นที่นิยมปลูกกันมากในทางเหนือของอเมริกา เป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบาและให้ย่านเสียงที่ค่อนข้างนุ่มใสเป็น ไม้ที่นิยมมาใช้เป็นส่วนประกอบของกีต้าร์มากกว่าเป็นไม้หลัก เช่น ประกบกับไม้ชนิดอื่นๆเพื่อเป็นการผสมซาวด์ให้ลงตัวมากขึ้น ปัจจุบันมีการปลูกอย่างแพร่หลายในทวีปเอเชียแต่ซาวด์จะไม่เหมือนของฝั่งอเมริกา เพราะเมเปิ้ลเอเชียซาวด์จะกระด้างไปทางแนวดนตรีร็อคมากกว่าสืบเนื่องมาจากภูมิประเทศในการปลูก

ไม้โรสวู้ด Rosewood

เป็นไม้ที่ให้เสียงดีแบบอะคลูสติคซาวด์ออกมาชัดและใส แต่ไม่นิยมนำมาใช้ทำบอดี้เพราะน้ำหนักมาก ทาง Fender เคยนำมาใช้เป็นส่วนบอดี้ในช่วงปี 1969 – 1972 และเนื่องจากกีต้าร์หนักจึงเลิกใช้ไม้ชนิดนี้ผลิตบอดี้ ปัจจุบันไม้โรสวู้ดมักจะใช้เป็นส่วนฟิงเกอร์บอร์ดเสียมากกว่าเนื่องจากน้ำหนักราคาค่อนข้างสูง การนำไม้โรสวู้ดไปประกบกับไม้ช่วงคอแบบอื่นก็จะช่วยเพิ่มความชัดและใสให้กับเนื้อเสียงกีต้าร์อีกด้วย

Image result for woods to make guitar

นอกจากนี้ก็ยังมีไม้แบบอื่นๆที่มักจะใช้ผลิตเช่น ไม้สปรูซ หรือไม้ตะกูลไม้สนที่ให้น้ำหนักเบาและเสียงชัดออกมาเป็นเม็ดๆ แต่ไม้ชนิดนี้มักจะใช้ทำกีต้าร์โปร่งมากกว่า หรือปัจจุบันก็จะมีไม้สังเคราะห์มาใช้ในการผลิตกีต้าร์ราคาถูกอีกด้วย ซึ่งคุณภาพเสียงอาจลดลั่นกันไปตามราคา ซึ่งหากมีความรู้เรื่องไม้ที่ใช้ผลิตแล้ว ก็จะทำให้สามารถเลือกกีต้าร์ที่มีคุณภาพสมราคาตามแนวดนตรีที่ชอบได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณบทความจาก guitarplayer

ขอบคุณรูปภาพจาก kingsmere, chasingguitar และ luthierssupplies

8 ข้อหลักที่มือเบสต้องรู้ !!!

เบสถือเป็นเครื่องดนตรีสำคัญอย่างหนึ่งในวงเพราะมีหน้าที่ควบคุมทั้งซาวด์และจังหวะรวมไปถึงการประสานกับเพื่อนร่วมวงทั้งกีต้าร์ กลอง และคีย์บอร์ด ทำให้มีหลายคนชื่นชอบในเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ยังมีนักดนตรีอีกไม่น้อยที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการเล่นเบส จึงขอนำเสนอเกร็ดน่ารู้เล็กๆ 8 ข้อที่ช่วยพัฒนาและเป็นแนวทางในการเล่นเบสมาฝากกัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ bass guitar

1. เล่นให้สัมพันธ์กับกระเดื่องกลอง

ถ้าหากว่าเป็นมือใหม่สิ่งแรกที่มือเบสควรจะทำคือเล่นให้เข้ากับจังหวะกระเดื่องเสียก่อน อันที่จริงแล้วจะเล่นจนชำนาญแค่ไหนการยึดจังหวะจากกระเดื่องก็เป็นสิ่งสำคัญแต่มืออาชีพสายโหดอาจจะมีโซโล่หรือเล่นตามไล์กีต้าร์บ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการดีดให้เข้าจังหวะกับกระเดื่องเป็นพื้นฐานที่มือเบสทุกคนควรตระหนักไว้

Image result for bass guitar + drum

2. เล่นให้เข้ากับวง

แน่นอนว่าเบสเป็น 1 ในตัวคุมจังหวะของวง ดังนั้นการที่เล่นให้วง”แน่น”ถือเป็นหัวใจของมือเบส มืออาชีพหลายๆคนอาจจะไม่ได้โชว์ลูกเล่นที่หวือหวาสักเท่าไหร่นักแค่เล่นตามคอร์ดปกติแต่ฟอร์มวงออกมาดี นั่นแสดงถึงความสามัคคีและรู้หน้าที่กันในวง มือเบสที่ดีจึงจะเหมือนผู้อยู่เบื้องหลังวงอย่างแท้จริง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Bassist

3. ต้องใช้ลูกเล่นให้เป็น

ถ้าอ่านจากที่เกริ่น 2 ข้อแรกหลายคนอาจเข้าใจผิดว่ามือเบสต้องเล่นแบบทื่อๆ แต่ความเป็นจริงแล้วการเล่นเบสต้องสอดแทรกความลื่นไหลของตัวโน๊ตลงไปในเพลงด้วย การใส่ root notes ลงไปในถ้าทำให้เพลงมีความลงตัวเช่น จากคอร์ด G ไป คอร์ด D มือเบสก็อาจจะเล่น G -> A -> B-> D เพื่อความต่อเนื่องได้ ไม่ใช่ว่าดีดดุ่มๆทื่อตามคอร์ดก็จะทำให้วงเล่นยากขึ้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ bass guitar

4. อย่าเล่นแบบกีต้าร์โซโล่

หากคุณรักจะเป็นมือเบสแล้วต้องยอมรับกับความเป็นป๋าดันของวง มือเบสอาชีพที่มีชื่อเสียงระดับโลกต้องรู้หน้าที่ในแต่ละบทเพลง การเล่นตามโน๊ตและคุมจังหวะให้เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของเบสอยู่แล้ว ดังนั้นหากมือเบสจะโซโล่ต้องเป็นจังหวะที่เหมาะสมจริงเท่านั้นไม่เหมือนกีต้าร์ที่จะมีไลน์โซโล่แทบทุกเพลง สำหรับมือเบสแล้ว rhythm คือสิ่งสำคัญกว่า solo

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ bass guitar

5. จังหวะคือสิ่งสำคัญที่สุด

เบสเป็นเครื่องดนตรีที่ประสานระหว่างจังหวะและตัวโน๊ต ดังนั้นไม่ว่าจะเล่น Rift หรือเดินตามคอร์ดก็ตาม ต้องตระหนักไว้ว่าจังหวะหรือทาร์มมิ่งคือสิ่งที่สำคัญที่สุด การเล่นเบสที่จึงควรเริ่มต้นฝึกด้วย metronome ให้ชำนาญเสียก่อน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ bass guitar

6. เล่นให้ได้อารมณ์เพลง

ซาวด์ของเบสอาจจะฟังดูทุ้มและทื่อกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่น แต่หากเล่นเข้ากับจังหวะและเลือกใช้โน๊ตที่ถูกต้องถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีมิติเช่นกัน การที่คนฟังเสพย์ดนตรีนั้นอารมณ์เพลงถือเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ดังนั้นการฝึกซ้อมเบสนอกจากจังหวะและลูกเล่นแล้วต้องไม่ลืมสำเนียงหรือการเข้าถึงอารมณ์ของเพลงอีกด้วย

Image result for bass guitar

7. การควบคุมซาวด์

อย่าได้คิดว่าเบสมีแค่เสียงเดียวเท่านั้น ปัจจุบันนี้เอฟเฟ็คที่ใช้กับเบสก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้นเพราะการเล่นเบสให้เข้ากับดนตรีแต่ละแนวเสียงที่ออกมาจะไม่เหมือนกัน มือเบสที่ดีต้องใช้น้ำหนักนิ้วให้เหมาะกับเพลงเพื่อให้ได้เสียงตามชนิดดนตรี เช่น เล่นแนวแจ๊สก็ไม่ควรดีดแรงจนเสียงออกมาเป็นแนวร็อค

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ bass guitar

8. ความมั่นใจ

ถ้าหากว่าเล่นเบสได้ตาม 7 ข้อที่กล่าวมาแล้ว ความมั่นใจคือสิ่งสุดท้ายที่จะช่วยเติมเต็มการเล่นให้สมบูรณ์แบบ หากมือเบสไม่มีความมั่นใจแล้วซาวด์ที่ออกมาจะฟังไม่ชัดเจน ดังนั้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจต้องหมั่นขยันฝึกซ้อมโดยไม่ลืมเกร็ด 7 ข้อแรกที่กล่าวมา ถ้าหากนักดนตรีซ้อมมาอย่างหนักมีความสามัคคีในวงดีเยี่ยมแล้วจะเล่นด้วยมั่นใจเต็มเปี่ยม เมื่อนั้น band performance ของวงก็จะมีคุณภาพ มีความหนักแน่นและเข้าถึงอารมณ์เพลงอย่างเต็มที่

ขอบคุณบทความจาก musicademy

ขอบคุณรูปภาพจาก wikihow, sweetwater