6 วิธีใช้เอฟเฟค Chorus อย่างสร้างสรรค์

พ้นจากใช้กับกีต้าร์ไฟฟ้ากันแล้ว เอฟเฟค Chorus ยังคงใช้กับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย

1.ใช้กับกีต้าร์ 12 สาย
แม้ว่าตัวกีต้าร์ 12 สายเองจะให้เสียงที่เป็น Chorus อยู่แล้ว แต่ถ้าลองใส่ Chorus ให้ Rate และ Depth ต่ำ ๆ ลงไปอีก จะช่วยหนุนความเป็นสิบสองสายได้อภิมหาโหดเลย

2.ใช้กับเปียโนไฟฟ้า
เปียโนไฟฟ้าอาจจะฟังดูไม่มีค่อยมีชีวิตชีวา ลองใส่ Chorus ลงไปเพิ่มความวูบวาบได้อีก

3.ใช้กับเสียงร้องบางท่อน
ถึงแม้ว่าคุณจะมีเสียงร้องที่ดีโคตร ๆ อยู่แล้ว ลองเพิ่ม Chorus สักท่อน หรือเน้นสักคำในบทเพลง ช่วยเพิ่มฟีลลิ่งได้

4.ใช้กับสแนร์
เหตุผลเดียวกับเปียโนไฟฟ้า ถ้าสแนร์ฟังดูไม่มีชีวิตชีว่าใส่ Chorus เลือก Rate และ Depth เหมาะ ๆ สแนร์ก็พลันเปลี่ยนเป็นโลกใบใหม่

5.ใช้กับเบส
เบสแนวเชื่อง ๆ ไม่ค่อยมีลูกเล่นเยอะ ๆ อาจจะฟังดูน่าเบื่อไปนิด ลองทา Chorus ลงไปหน่อย เพิ่มมิติทางเสียงดนตรีไปอีกระดับ

6.ใช้กับนักร้องส่วน backing vocal
ถ้าใช้เอฟเฟคตัวนี้กับนักร้อง back up อาจจะทำให้สองสามคนกลายเป็นหมู่คณะขนาดใหญ่ ค่อนข้างเพิ่มความทรงพลังในเพลง

พบกับบทความของเรา ตั้งแต่พุธ – อาทิตย์ ทุกสัปดาห์
อ่านบทความอื่น ๆ ต่อที่ musicarms.net/category/ma/content/
====================================
ขอขอบคุณ audio-issues.com

3+2 วิธี Metal ในแบบไม่ใช้ Distortion

แต่เราจะใช้เอฟเฟค Fuzz มาทำเมทัล!

Carlsbro Fuzz

Carlsbro Fuzz

ใครจะเล่นเมทัล มักจะมอกหาเอฟเฟคอย่าง Distortion ไม่ก็ Metal Zone มาหาใช้กันแน่นอน แต่เอาเข้าจริง
เราอาจไม่จำเป็นจะต้องใช้เอฟเฟคจำพวกนั้นก็ได้นะ ซึ่งเหมาะมากๆกับคนที่หาซาวด์เมทัลใหม่ๆ หรือคนที่อยากลองเล่นเมทัลดูบางโอกาสแต่ไม่คิดจะซื้อเอฟเฟคเสียงแตกดุๆโหดๆ

ยิ่งตอนนี้คอเมทัลสมัยใหม่ บางพวกก็เริ่มจะหันกลับไปเล่นซาวด์ออกไปทาง Black Subbath ยุคต้น ซึ่งซาวด์ที่ทำกันออกมาจะมี
ลักษณะแตกแบบ Fuzz ที่ให้เสียงหนาๆ หรือไม่ก็เป็นเอฟเฟคเสียงใหม่ๆที่อยู่ตรงกลาง ไม่ค่อนไปทาง Distortion, Fuzz หรือ Overdriveมากเกินไป

เอฟเฟคที่ต้องใช้: Fuzz, Compressor, Noise Suppressor(ตัวเลือกเสริม) และ Booster(ตัวเลือกเสริม)

เริ่มเลยก็
1. ปรับหน้าตู้ตามขั้นตอนนี้
-ลด Treble จนสุด
-ลด Mid ลงไปเหลือสัก 3
-เพิ่ม Bass ตรงนี้ต้องลองฟังไม่ให้มันมาก จนฟังดูกระแทกไป
-กลับมาเพิ่ม Treble เพื่อให้โน้ตฟังชัดขึ้น

2. เปิด Fuzz
ถือเป็นแม่ไม้เด็ด ที่เราเอามาใช้แทน Distortion ลองปรับเสียงแบบที่เราชอบดู แนะนำว่าใช้ Fuzz ที่ให้เสียงหนา ๆ จะดี

3. ใช้ Compressor ทำเสียงให้ฟังดูมีมวล เป็นก้อนๆ
ปรับ Attack ปรับให้พอฟังเป็นก้อน ๆ ส่วนSustain ต่ำๆ ตีพาวเวอร์คอร์ดฟังดัง ‘กะฉักกะฉัก’

+4. ลดเสียงจี่ด้วย Noise Suppressor หรือ Noise Gate
เอฟเฟคตระกูล Gain จะให้เสียงจี่ ซึ่ง Fuzz ก็ด้วย ดังนั้นถ้ารุ้สึกว่ามันจี่จนรบกวนการเล่นของเรา อาจต้องใช้เอฟเฟคชนิดนี้กันหน่อย

+ 5. เสริมกำลังด้วย Booster ต่อหน้าขบวนเอฟเฟค
เสริมเอฟเฟคตัวนี้ไว้แรก ๆ สำหรับคนที่ต้องการให้เสียงฟังดูมีพลังขึ้นไปกว่าเดิม

ถ้าใครอยากได้ซาวด์เมทัลที่ไม่ใช้ Distortion แบบชาวบ้านเค้า วิธีตามนี้ก็เป็นตัวเลือกที่น่าทดลองไม่เลวเลยล่ะ

พบกับบทความของเรา ตั้งแต่พุธ – อาทิตย์ ทุกสัปดาห์
อ่านบทความอื่น ๆ ต่อที่ musicarms.net/category/ma/content/
====================================
ขอขอบคุณนิตยสารออนไลน์ Tonereport และเว็บไซต์ Menga

จบเพลงให้ทรงพลัง ด้วยคอร์ด ‘นีอาโพลิตัน’

“คอร์ด ‘นีอาโพลิตัน’ นี้มีความสามารถที่จะส่งเสริมการจบเพลงหรือท่อนสักท่อนได้ทรงพลัง เป็นทางคอร์ดที่นักแต่งเพลงหน้าใหม่ควรรู้จัก”

สังเกตุว่า การจบเพลงที่จบแบบ G >> C หรือ B >> E หรือในภาษาทฤษฎีคือ V >> I (คอร์ด 5 มา 1) จะให้ความรู้สึกจบที่ทรงพลังกว่าแบบอื่น ๆ

แต่ถึงอย่างงั้น ไอ้ความทรงพลังนี้มันก็ไม่สุดซะทีเดียว เพราะมันก็มีวิธี ‘โมทางคอร์ด’ ให้ดูจบให้เนี้ยบให้สุดกว่านี้ได้อีก ซึ่งก็คือหัวข้อของเราในวันนี้

เราจะมารู้จักกับคอร์ดชื่อแปลก ๆ อย่าง ‘นีอาโพลิตัน’ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว โครงสร้างคอร์ดของมันไม่ได้แปลกตามชื่อแต่ประการใด
แท้จริงแล้ว มันคือคอร์ดเมเจอร์ธรรมดา ที่มีหน้าที่เพิ่มพลังในการจบท่อนหรือบทเพลงได้เป็นอย่างดี

คอร์ดนีอาโพลิตันนั้นขึ้นอยู่กับ คีย์ของแต่ละเพลง ถ้าพูดแบบไม่ยึดติดภาษาทฤษฎีเลย คอร์ดตัวนี้จะเป็นคอร์ด Majorเสมอ เป็นคอร์ดตัวที่หนึ่งบนคีย์นั้น ๆ ติด #
เช่น คีย์ G ทั้ง Major และ Minor ซึ่งคอร์ดตัวแรกก็คือ G และ Gm พอติด # เป็น G# หรือ G#m ตามลำดับ แต่คอร์ดนีอาโพลิตันเป็นได้แต่ Major เท่านั้น ดังนั้นจึงเหลือ G# นี่คือคอร์ดนีอาโพลิตัน บนทั้ง 2 คีย์นี้

อาจจะงง แต่ลองมาดูตัวอย่างเพิ่ม
เช่น ในคีย์ C major, C minor คอร์ดนีอาโพลิตันจะเป็น C# และถ้าเป็นคีย์ A major รึ minor ก็จะเป็น A#

ถ้าพอเก็ทหลัก ก็จะรู้สึกง่าย ๆ ไปเลย

เราเกริ่นนำไปแต่แรกแล้วว่า วิธีจบที่ทรงพลังกว่าวิธีอื่น ๆ เราจะเอาคอร์ดนีอาโพลิตันไปแทรกไว้ข้างหน้าการจบแบบ V >> I
ถ้าเป็นในคีย์ C major, ทางคอร์ดจะเป็น C# >> G >> Cneapolitan_v_i

ซึ่งคอร์ดนีอาโพลิตันที่โผล่ออกมาก่อนหน้า ถูกใส่มาเพื่อเพิ่ม ‘ความขัดแย้ง’ ทำให้รู้สึกแปร่ง ๆ ขัด ๆ จนคลี่คลายด้วยการจบแบบทรงพลัง เปรียบเหมือนละครที่มี Climax ในช่วงหัวโค้งสุดท้ายยังไงยังงั้นเลย

ใครที่อยากลองแต่งเพลง ก็รับคอร์ดนีอาโพลิตัน เข้าไปเป็น ‘แรงบันดาลใจเล็ก ๆ ซักหน่อย’ สิ 🙂

*ทั้งนี้คอร์ดชนิดนี้ ตั้งชื่อตาม สำนักดนตรีแห่งอิตาลีสมัยศตวรรษที่ 18 คือ ‘สำนักนีอาโพลิตัน’ ซึ่งมักใช้คอร์ดนี้อยู่บ่อยครั้งนั่นเอง คอร์ดนี้ถูกใช้ในเพลงสากลหลายเพลง อาทิเช่น Do You Want to Know a Secret ของ The Beatles และ Mother’s Little Helper ของ The Rolling Stones เป็นต้น

5 คำถามต้องถามตัวเอง เพื่อหาสไตล์ของเราให้เจอ

 

Bob Dylan นักร้องนักแต่งเพลงคนสำคัญของอเมริกา

Bob Dylan นักร้องนักแต่งเพลงคนสำคัญของอเมริกา

‘ฉันมีลมหายใจ ในที่ที่ฉันรู้ว่าตัวเองเป็นใคร’ —- Bob Dylan

 

ที่ผ่านมาเราอาจจะหาสไตล์ดนตรี สไตล์การแต่งเพลงของเราเอง ผ่านสิ่งต่างๆรอบตัว ศิลปินที่เราชอบ กีต้าร์ หรือเครื่องดนตรีแบบที่เราชอบ บางครั้งมันอาจพาเราไปหาตัวเองได้ในระดับนึง
บางครั้งเราก็อาจจะเหมือนศิลปินคนที่เราชอบมากเกินไป บางทีถ้าจะ’เป็นตัวเองให้สุด’ เราจะลืมสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำเราเป็นตัวของตัวเองไปได้ยังไง

“สิ่งนั้นก็คือตัว’เรา’เอง นั่นแหละ ที่เราจะลืมไม่ได้”

แล้วเราจะเริ่มที่ตัวเองยังไงดีล่ะ? เราคัดคำถามน่าสนใจมา 5 ข้อ มาจากเว็บไซต์ Tomhess ที่เราควรตอบตัวเองให้ได้ เพื่อหาสไตล์ตัวเองให้เจอ

1. คุณเป็นคนยังไง
ถ้าคุณรู้ตัวว่าคุณเป็นเอนเตอร์เทนเนอร์ ดนตรีของคุณต้องสนุกสนาน ง่ายๆแต่ได้ใจ หรือถ้าคุณเป็นนักคิด ดนตรีของคุณอาจจะซับซ้อน และต้องให้ผู้ฟังใช้เวลากับมัน แสดงออกอย่างบุคลิกที่คุณเป็น

2. ความคิดอ่านแบบไหนที่คุณมักคิดอยู่เป็นประจำ
เราชอบคิดถึงอะไร การเมือง ความรู้สึก ชีวิต ธรรมะ? สิ่งเหล่านี้คือการหาธีมหลักในเนื้อหาดนตรีของเรา พี่ปู พงษ์สิทธิ์ มีเพลงที่เกี่ยวกับการเมือง พี่ตูน บอดี้แสลม พูดถึงสัจธรรมชีวิต
เพลงที่มีเนื้อหาที่แตกต่างย่อมสะท้อนความเป็นตัวเองได้มาก

3. อะไรคือความรู้สึกจากก้นบึ้งของคุณ ที่อยากจะบรรยายให้โลกรู้
ดนตรีเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก คอร์ดแต่ละคอร์ด บนแต่ละทางคอร์ด มีอารมณ์ในแบบของมัน เรียนรู้ที่จะสร้างอารมณ์จากคอร์ดเหล่านั้น การมีความรู้ด้านทฤษฎีดนตรีจะช่วยให้เรามีคำศัพท์สื่ออารมณ์มากขึ้น
เลือกคอร์ดที่สะท้อนความรู้สึกออกมาให้ได้

4. คนรอบข้างทำให้ใจคุณรู้สึกยังไง คุณจัดการความรู้สึกนั้นแบบไหน
ดนตรีคือศาสตร์ของความรู้สึกขัดแย้ง และเลือกที่คลี่คลายปมนั้นคือค้างมันไว้ เพราะฉะนั้นมันจึงเหมือนละครชีวิตที่เล่าด้วยบทเพลง เช่นเพลง Blues ของคนผิวดำที่ถูกคนขาวกดขี่ จึงมีอารมณ์เศร้าหมองซ่อนไว้
คุณจัดการความรู้สึกยังไง บอกมันออกมา

5. เหตุการณ์ไหนที่เปลี่ยนชีวิตคุณไปตลอดกาล
อดีตทำให้เราแตกต่างจากคนอื่น และทำให้เราเป็นอย่างที่เราเป็นในวันนี้ นึกถึงและจดจำมัน เพราะมันคือความเป็นตัวเองที่ซ่อนผ่านความเป็นดนตรีของคุณได้

ไม่ว่าจะยังไง คำถามเหล่านี้ แท้จริงแล้ว ก็คือการหันกลับมาหาตัวเองจากข้างใน หาคำตอบจากตัวเราจริงๆ สไตล์ของเราเองอาจอยู่ใกล้แค่ปลายจมูกเท่านั้น
ถ้ายังหาตัวเองกันไม่เจอ ลองตั้งคำถามพวกนี้กับตัวเองดูสักครั้งสิ

7 พฤติกรรมน่าทำ เพื่อพัฒนาฝีมือดนตรี

ถ้าการฝึกซ้อมทุกวันยังรู้สึกว่าไม่พอสำหรับเพื่อนๆ ลองดูว่ามีอะไรที่จะเอามาเสริมการซ้อมของชาวเรากันได้บ้าง เริ่มกันเลย…

1. จินตนาการ
เค้าบอกว่าอย่ามโน แต่นักดนตรีต้องหัดมโนให้เป็น การฝึกเล่นเครื่องดนตรีล่องหนเป็นการฝึกที่สมองโดยตรง ซึ่งมีส่วนช่วยในการไปเล่นกับเครื่องดนตรีจริงๆในเวลาต่อมาแล้ว
เป็นการบริหารจินตนาการ ฝึกนึกเสียงในหัวได้อีกด้วย

2. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทุกวัน
พูดง่าย แต่หาคนลงมือทำยาก การเรียนรู้สิ่งใหม่ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยากเรื่องใหญ่ แค่ Riff สักท่อน หรือจังหวะดีดกีต้าร์สักชุดต่อวัน ก็เพียงพอแล้ว
การฝึกนี้จะช่วยเสริมสร้างสัญชาตญานทางดนตรี อยู่กับมันจนฝังเข้ากระดูกดำ

3. ลงไปแจมเลย!
ถ้ามีโอกาสเหมาะเหม็ง ให้ต้องเล่นกับคนอื่นๆ ก็ลองลงไปแจมเลยไม่ต้องคิดมาก การไปเล่นกับคนอื่นทำให้เราเข้าถึงจังหวะดนตรีแบบจริงๆจังๆ และหาช่องให้เราใส่ลูกเล่นของเราลงไป
ขณะเล่นได้ เพิ่มพลังการอิมโพรไวส์ได้ดีทีเดียว

4. อัดเสียง
หูเราอาจจะเราเล่นโอเค แต่นั่นไม่พอ เราต้องบันทึกเสียงการเล่นสม่ำเสมอ ลองฟังบันทึกเสียงเพื่อหาข้อบกพร่องของเรา
และถ้าว่างๆ ก็ลองย้อนกลับมาทวนฟังสิ่งที่เคยเล่นไป เราจะได้มองเห็นพัฒนาการของเราได้ชัดเจน

5. หาบทเรียนจากหลายๆ ที่
ยุคนี้สมัยนี้ มีคนออกมาสอนมากมายตามอินเตอร์เน็ตแบบฟรีๆ การที่มีคนสอนจะช่วยให้เราพัฒนาได้ไวขึ้น เพราะมีคนมาไกด์ไลน์ให้แล้ว

6. เน้นช่วงเวลาฝึกซ้อม
การฝึกซ้อมแค่วันละสิบนาที ทุกวัน ถือว่าเพียงพอแล้ว สิ่งที่ควรสนใจอีกอย่าง คือ การจัดระเบียบการฝึกซ้อม ควรจะแบ่งทักษะออกเป็นหลายๆ ส่วนย่อย เพื่อให้เน้นฝึกเป็นจุดๆไปเลย เช่นจะฝึกแต่ picking ก็ลงแต่ picking เท่านั้น

7. ติดตามความก้าวหน้าทุกฝีก้าว
การตระหนักตัวเอง เป็นปัจจัยที่ทำให้เรารู้ว่าเราทำอะไรได้และขาดอะไร พยายามจดบันทึกสิ่งที่เราซ้อม และหมั่นตรวจเช็คว่าเราทำได้แล้วจริงๆ นอกจากนี้ยังทำให้เห็นว่ามีทักษะอะไรที่เรายังขาดไปอยู่บ้าง

rock-1511102_960_720

จริงๆ 7 ข้อนี้ ไม่ได้มีอะไรหวือหวาหรือทำยากอะไรเลย แต่ต้องมีความอดทน และสม่ำเสมอ ซึ่งความสม่ำเสมอหมั่นฝึกซ้อมก็คือกุญแจสุดสำคัญในการพัฒนาฝีมือไม่ว่าจะดนตรีหรือกะอะไรก็ตาม ขอให้เก่งกันไวๆ นะ

3 วิธีใช้เอฟเฟคเสียงแตก ให้เหมาะตามสถานการณ์

หรือจะเถียง…เอฟเฟคเสียงแตกเป็นเอฟเฟคที่ใช้ง่ายที่สุดแล้ว แต่ลึก ๆ แล้ว เอฟเฟคเสียงแตกก็มีลูกเล่นที่ใช้ควบคู่กับแอมป์ได้ถึง 3 วิธีด้วยกันเลยทีเดียว
เรามาดูกันว่าแต่ละวิธีปรับ Setting ยังไง แล้วเอาไปใช้ในสถานการณ์ไหนได้บ้าง

1. ใช้เป็นบูสต์
-ปรับแอมป์ให้เสียงแตก
-ปรับ gain ของก้อนให้ต่ำสุด เพิ่ม volume
วิธีนี้จะทำให้ เสียงแตกจากแอมป์ มี sustain มากขึ้น

Boss OS-2 Overdrive Distortion

Boss OS-2 Overdrive Distortion

2. ใช้เป็นเสียงแตกผสม
-ปรับแอมป์ให้เสียงแตกอ่อนๆ
-ปรับก้อนให้ gain น้อยๆ และ volume พอประมาณ
ให้เสียง compressed ที่เป็นธรรมชาติ เหมาะกับสาย rhythm แนว Blues และ Rock

Marshall DSL40C Amp Combo

3. ใช้เป็นเสียงแตกเต็มกำลัง
-ปรับแอมป์เป็นเสียง clean
-ปรับก้อน gain ให้มากหน่อย ปรับ volume ให้พอ ๆ กับความดังของเสียงตอนปิดก้อน
จะได้เสียง solo เด่นชัดขึ้นและความดังไม่กระโดดจากเดิมมากเกินไป

เอฟเฟคเสียงแตกเองก็มีมิติให้ใช้ได้หลากหลาย ผลลัพธ์แต่ละอย่างต้องเลือกใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ หวังว่าหัวข้อวันนี้จะให้ไอเดียมือใหม่ หรือทบทวนให้มือเก๋า ๆ หลายคนได้นะ

========================================
ขอขอบคุณเว็บไซต์ Texasbluevalley

10 วิธีทำซาวด์ย้อนยุคคราวปู่ (ยุค50-60)

เอาใจสายวินเทจ รีโทรกันบ้าง สำหรับใครที่อยากจะได้ซาวด์โบราณคราวพ่อคราวปู่ ลองทำ 10 ข้อนี้กันดู

1. ใช้สายกีต้าร์ขนาดใหญ่
สายกีต้าร์ขนาดเล็ก เพิ่งมาถูกผลิตในยุคหลัง ๆ นี่เอง จะเริ่มวินเทจแนะนำสายขนาด 11 ขึ้นไป

2. ทิ้งปิ้กไปซะ
คนสมัยนู้น เขาไม่ดีดปิ้กกัน เขาใช้นิ้ว ข้อดีคือจะได้เสียงโทนอบอุ่นห้วน ๆ

3. ปรับแอมป์ gain ต่ำ ๆ เข้าไว้
ก่อนปลายยุค 60 แอมป์ไม่มีลูกบิดปรับ gain การจะทำเสียงแตกเกินจากการปรับ volume สูง ๆ เอาแทน การปรับ gain ต่ำ ๆ จะได้ลักษณะเด่นในสมัยนั้นคือซาวด์โทนอบอุ่น รุ่มรวยย่านกลางต่ำ

Vox AC15C1

Vox AC15C1

4. สรรหาเอฟเฟคเก่า ๆ
หาซื้อเอฟเฟครุ่นเก่า ๆ รุ่นแรก ๆ ซึ่งก็แหงอยู่แล้วว่าต้องได้ซาวด์เก่า ๆ ชัวร์

5. บิดปุ่มโทนบนกีต้าร์
เพลงเก่า ๆ ซาวด์ค่อนข้างจะออกทุ้มต่ำ หมุนโทนไปทางนั้น

6. บันทึกเสียงด้วยไมค์
ก่อนจะล่วงเข้ายุค 60 การอัดเพลงทำด้วยการตั้งไมค์ไม่กี่ตัว แล้วอัดด้วยการเล่นสดยกวง

7. ลองแนวอะคูสติกบ้าง
ศิลปินผู้โด่งดังในสมัยกระโน้นอย่าง Everly Brothers ก็มาในสไตล์อะคูสติก

Martin-000X1AE-body

Martin-000X1AE-body

8. ทำเพลงให้เรียบง่าย
ดนตรีสมัยเก่าก่อน ไม่ได้ลงรายละเอียดเยอะแยะมาก เน้นเมโลดี้ง่าย ๆ ทื่อ ๆ ไปเลย

9. ใช้กีต้าร์ semi-hollow หรือ hollow body
ในช่วงก่อน 1950 มีแต่ Hollow Body เท่านั้น

Epiphone Inspired by John Lennon Casino

Epiphone Inspired by John Lennon Casino

10. ใช้เอฟเฟค Reverb กับ Tremolo
ในสมัยนั้นมีเอฟเฟค(ที่ติดมากับแอมป์) แค่สองชนิด คือ Reverb กับ Tremolo

RV-5-DIGITAL-REVERB

RV-5-DIGITAL-REVERB

ทำแค่ไม่กี่อย่างในนี้ก็เพิ่มความย้อนยุคเก๋า ๆ ให้ซาวด์คุณ ๆ กันได้แล้ว

=========================================
ขอขอบคุณ Gibson.com

มารู้จักกับเอฟเฟคเสียงวูบวาบ Phaser

Phaser หรือ Phase Shifter เป็นเอฟเฟคที่ทำเสียงวูบวาบ ออกจะคล้ายเสียง Wah อยู่บ้าง แรกฟลิตถูกใช้เพื่อจำลองเสียงลำโพงหมุน (Rotary Speaker) แต่กลายเป็นว่ามันดันมาเป็นเอฟเฟคเสียงในแบบของมันเอง

JoYo Vintage Phase JF-06

เอฟเฟคชนิดนี้เป็นที่นิยมสุดขีดในยุค 70 และยังคงปรากฏในเพลงแนวต่าง ๆ ในสมัยต่อ ๆ มา โดยถูกใช้ตั้งแต่ในเพลงแนวเมทัล ฮาร์ดร็อค พังค์ คันทรี่ และเรกเก้ ตัวอย่างการใช้ Phaser ในเพลงดัง ๆ ก็มี Anarchy in the UK โดยวงพังค์ตลอดกาล Sex Pistols และ เพลง Eruption ของ Eddie Van Halen มือกีต้าร์พระกาฬ

หลักการทำงานของมัน คือการแบ่งสัญญานเป็นสองส่วน คือ ส่วนเดิม กับ ส่วนที่ถูกแปลงเฟส (Phase) การแปลงเฟสก็คือการเปลี่ยนรูปคลื่นให้เหลื่อมองศากันออกไป (Phaser จึงมักระบุด้วยตัวเลขกำกับ คือตัวเลขเฟสที่ต่างกันนั่นเอง) เฟสที่ต่างกัน 180 องศา จะได้คลื่นกลับหัว พอเปลี่ยนองศาแตกต่างไปอีกที่ 360 องศา จะกลับมาเป็นรูปคลื่นเดิม ตรงนี้อาจจะยากนิดนึง แต่เอาเป็นว่าคลื่นที่ถูกแปลงเฟส จะถูกรวมกับคลื่นเดิม ซึ่งบางครั้งจะเกิดการหักล้างกันตามจุด ๆ เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ พูดง่าย ๆ ก็คือมีช่วงคลื่นบางส่วนถูกกลบหายไป เสมือนโดน ‘ฟิลเตอร์’ นั่นเอง และนั่นเป็นที่มาที่ว่าทำไมมันจึงมีเสียงคล้าย ๆ พวก Wah พวก Auto-Filter แต่จะแตกต่างตรงนี้ฟิลเตอร์ย้ายตำแหน่งกรองไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับคลื่นเสียง แถมยังกำหนดความเร็วได้ด้วย

ความเจ๋งของ Phaser คือการให้สัมผัสของการเคลื่อนไหว ยิ่งใช้ร่วมกับพวกเสียงแตก จะช่วยเปลี่ยนเนื้อเสียง และให้ความรู้สึกถึงความเร็วเฟี้ยวฟ้าว ถ้าลองฟังตัวอย่างในเพลง Anarchy in the UK ด้านบนจะสัมผัสความเป็น Phaser อ่อน ๆ ในไลน์กีต้าร์ ความรู้สึกไม่นิ่งของเอฟเฟคตัวนี้ ช่วยเร่งขับจังหวะความรู้สึก ให้ดูรวดเร็วเหมือนบิดมอเตอร์ไซค์ แต่ถ้าปรับดี ๆ ก็ยังใช้ในอารมณ์หลอน ๆ ได้อีก อย่างเพลง Paranoid Andriod ของ Radiohead ได้อีก

BOSS PH-3 Phase Shifter

BOSS PH-3 Phase Shifter

หน้าที่หลัก ๆ ของ Phaser ก็จะมีใช้กับ
-ดนตรีไลน์ประดับ โน้ตสั้น ๆ ประดับเพลง ช่วงท่อนร้องธรรมดา เสริมอารมณ์
-ท่อนโซโล่ ใช้บ่อยมาก ๆ โดย Van Helen ช่วยทำให้เนื้อเสียงหนาขึ้น
-การตีคอร์ด ให้ความรู้สึกแกว่ง ๆ เหมาะกับการตีคอร์ดแบบช้า ๆ เชื่อง ๆ

Phaser เป็นเอฟเฟคที่น่าใช้มาก ๆ เลย สำหรับใครสนใจซาวด์ Ambient หรืออยากจะย้อนยุคไปสมัย 70 ก็เลิศเลอทั้งนั้นเลย

==============================================================
ขอขอบคุณ Dave Hunter – Guitar Amps and Effect for Dummies และ guitarworld.com

ความจริงที่ควรรู้เกี่ยวกับ Bypass เอฟเฟค

‘สัญญานเสียง ทุกครั้งที่ผ่านแจ็ค ผ่านเอฟเฟค ผ่านตัวกลางต่าง ๆ จะมีการสูญเสียของสัญญานอยู่เสมอ’

การสูญเสียสัญญานเสียงถือเป็นเรื่องน่ากลัวของนักดนตรี เพราะมันหมายถึงว่า ‘เสียงจากเครื่องดนตรี จะแย่ลง ไม่คมชัดอย่างที่ควรจะเป็น’ การผ่านเอฟเฟคแต่ละก้อนสามารถทำให้สูญเสียสัญญานได้ และนั่นเป็นที่มาของ ‘Bypass 2 ชนิด’

ทุกครั้งที่ต่อเอฟเฟคโดยที่ไม่เปิดสวิทช์ ตัวเอฟเฟคจะทำหน้าที่เป็น Bypass หรือก็คือเป็น ‘ทางผ่าน’ เฉย ๆ ให้กับสัญญานเสียงเสมอ ถ้าทางผ่านเสียงนี้ไม่ได้ผ่านวงจรอะไรเลย เราเรียก ‘True Bypass’ บางคนมองว่ามันเป็นวิธีรักษาสภาพเสียงของเราให้คมชัด ไม่ถูกรบกวนด้วยเอฟเฟคก้อนต่าง ๆ

อีกชนิดที่อยู่ตรงข้ามกันเราเรียก ‘Buffered Bypass’ ซึ่งจะผ่านวงจรชนิดหนึ่งที่พยายามรักษาสัญญานเข้าและออกเอฟเฟคให้ออกมาเท่าเดิม บางคนว่าการผ่านวงจรจะเป็นการรบกวนสัญญานเสียงอย่างหนึ่ง แต่เป็นยังงั้นเสมอไปหรือเปล่านะ?

1. True Bypass ต้องดีที่สุดใช่ไหม?
ตอบ: ไม่เสมอไป สำหรับการต่อเข้าแอมป์ด้วยสายแจ็คสั้น ๆ True Bypass ทำหน้าที่ของมันได้ดี แทบไม่มีผลต่อสัญญานเสียงเลย แต่ยิ่งใช้สายแจ็คที่ยาวขึ้นปัญหาที่พบคือ มี ‘การสูญเสียย่านเสียงสูง’ ขึ้น เสียงไม่คมชัดเท่าเดิม แต่ก็แก้ได้ด้วยการต่อเอฟเฟค Buffer

spark-mini-booster-front

2. ถ้างั้นใช้ Buffered Bypass ให้หมดเลยก็ดีกว่าสิ?
ตอบ: ไม่เลย วงจร Buffer สามารถส่งเสียงรบกวนเข้าไปในสัญญานเสียงเราได้ และจะยิ่งผนวกกันมากเรื่อย ๆ หากต่อเข้ากับเอฟเฟคแบบ Buffered Bypass หลาย ๆ ก้อน ทำให้ซาวด์แย่ขึ้น

3. อ้าว งั้น Buffered Bypass ก็ไม่ดีจริง ๆ เหรอ?
ตอบ: ทั้งใช่และก็ไม่ใช่ มี Buffer ดีและไม่ดี ปน ๆ กันไปในตลาด ตัวอย่างเอฟเฟค Buffered Bypass ที่ไม่ดีคือ Dunlop Crybaby ต่อละเสียงโดนกลืน และ Boss MT-2 ต่อแล้วเสียงไม่คมชัด เป็นต้น

เอฟเฟค-BOSS-MT-2

4. สรุปเลยได้ไหม ตกลงจะ True หรือ Buffered Bypass?
ตอบ: แนะนำว่าถ้าเป็นไปได้ เลือกหาเอฟเฟค True Bypass เอาไว้จะดีที่สุด โดยมี Buffered Bypass ดี ๆ สักหนึ่งอัน ถือว่ากว้างและเหมาะกับทุกสถานการณ์ที่สุด

คิดว่าบทความนี้ น่าจะช่วยไขข้อข้องใจของใครหลาย ๆ คน ว่าควรจะเลือก Bypass แบบไหนมาเข้าแผงเอฟเฟคนะ 😉

ขอขอบคุณ harmonycentral.com, jhspedals.com และชาแนล CSGuitars บน Youtube.com

เงียบเป็นเป่าสาก กับวิธีแก้เสียงจี่

‘ปิ้กอัพ อิเล็กโทรนิคส์ เอฟเฟค และแอมป์ เป็นที่มาเสียงจี่ได้ทั้งนั้น เพราะเครื่องมือพวกนี้รับสัญญานจากอากาศเข้ามาแบบไม่เลือก ก่อเป็นเสียงรบกวนดังจี่ ๆ ขึ้นมา แต่…ปัญหานี้มันแก้กันได้…!’

เสียงจี่สำหรับบางคนถือเป็นเรื่องสาหัสสากรรจ์ แล้วก็มีที่มาหลากหลายเหลือเกิน เราลองมาดูวิธีแก้แบบเป็นราย ๆ ไปกันดีกว่า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ pickup guitar noise

ถาม เสียงจี่จากปิ้กอัพ แก้ยังไงดี?
ตอบ:

1. ส่วนมากเสียงจี่จะมาจากพวก Single-coiled ดังนั้นเราอาจจะเปลี่ยนปิ้กอัพไปเป็น Humbucking แต่วิธีนี้แลกมากับการเสียคาแรคเตอร์กีต้าร์ตัวเองไป
2. หรือใช้เอฟเฟค Noise Suppresor
3. ติดตั้งปิ้กอัพดัมมี่ (Dummy) ปิ้กอัพเดิมจะประกอบด้วยเสียงสายกีต้าร์กับเสียงรบกวน ในขณะที่ปิ้กอัพดัมมี่จะสร้างแต่เสียงรบกวนที่มีทิศตรงข้ามกับเสียงรบกวนในปิ้กอัพจริง ซึ่งพอใช้ร่วมกันจะหักล้างกันพอดิบพอดี

BOSS NS-2 Noise Suppressor

ถาม แล้วถ้าเป็นเสี่ยงจี่จากอิเล็กโทรนิคส์ในกีต้าร์ล่ะ?
ตอบ:

อิเล็กโทรนิคส์ข้างในกีต้าร์สามารถรับสัญญานรบกวนที่แผ่มาตามอากาศได้ สามารถแก้การรับสัญญานรบกวนด้วยการห่อปิ้กอัพด้วยฟอยล์ที่ต่อสายดิน ซึ่งต้องห่อดี ๆ ถ้าห่อไม่ดีเสียงย่านสูง ๆ จะถูกกลืนหายหมด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ jack cable guitar

ถาม หากแก้ที่กีต้าร์และเอฟเฟคแล้วไม่หาย
ตอบ :

สายแจ็คเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงจี่ ลองเปลี่ยนสายแจ็คที่ใช้ดูก่อน หรือเลือกที่หัวรับสัญญาณเป็นขั้วทองแดงจะช่วยให้รับสัญญาณได้ดีขึ้นมาก รวมถึงการที่ช่องเสียบแจ็คหลวมก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงจี่ได้เช่นกัน ดังนั้นควรเช็คสายแจ็คก่อนใช้งานทุกครั้งด้วย

ถาม เอฟเฟคเสียงแตก จี่ได้ปวดประสาทมาก ทำไง?
ตอบ:

ใช้ทุกเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นได้หมดเลย จัดการเสียงรบกวนทั้งหมดก่อนจะวิ่งเข้าไปที่เอฟเฟค แต่ขอเสริมหน่อยเกี่ยวกับการใช้ Noise Gate เพราะอาจส่งผลกับซาวด์เราได้ เนื่องจาก Gate ทำหน้าที่เหมือนทางเข้าทางด่วนที่ยอมให้เสียงดัง ๆ ลอดผ่านได้อย่างเดียว ซึ่งเราเป็นกำหนดว่าให้ดังเท่าไหร่ถึงจะผ่านไปได้ บางทีเราอาจจะตั้งไว้แล้วตัดเสียงของเราบางส่วนไปด้วย

Carlsbro NoiseGate

ถาม เป็นไปได้ไหมว่าเสียงจี่มาจากแอมป์ จะเช็คยังไง? แก้ยังไง?
ตอบ:

จะเช็คเสียงรบกวนจากแอมป์ ทำตามนี้ ไม่ต้องต่อแจ็คเข้าไปในตัวแอมป์ แล้วลองเปิด volume เอาให้สุด ๆ ถ้าได้ยิน แสดงว่าแอมป์นี่แหละต้นเหตุแห่งความจี่ ลองเปลี่ยนตำแหน่งวาง เช็คแหล่งจ่ายไฟ ถ้ายังไม่หาย ปัญหาอันนี้เป็ยเรื่องปัจจัยภายในของแอมป์แล้ว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ noiseless effect guitar

ปัญหาจากเสียงจี่มักมาจากปิ้กอัพ single-coiled ไม่ก็ใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์หรือเอฟเฟคถูก ๆ บางครั้งการแก้ไขอาจจะกินเงินมากกว่าหรือพอ ๆ กับเครื่องดนตรีที่เราซื้อมาด้วยซ้ำ เช่น ซื้อเอฟเฟค Noise suppressor หรือ Gate ดังนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำใจกันไว้แต่แรก

การซื้อของดี ๆ มาแต่แรก ปัญหาพวกนี้ก็จะเบาบางลงตามไปด้วยเหมือนกัน

==========================================
ขอขอบคุณ premierguitar.com