15 คอร์ดกีตาร์แจ๊ส สำหรับผู้เริ่มต้น
เริ่มต้นจากตรงนี้เพื่อไปให้ถึงบรรดาคอร์ดทั้งหลาย นี่เป็นฟอร์มคอร์ดที่ต้องบอกได้เลยว่าใช้กันทั่วไปในหมู่นักดนตรี ในหัวข้อนี้ผู้เขียนไม่ได้เจาะลึกถึงโครงสร้างของคอร์ด,ความสัมพันธ์ขั้นคู่เสียง (Interval) แต่เป็นการยกตัวอย่างรูปแบบฟอร์มเพื่อให้ผู้ฝึกใหม่ได้หัดจับและทำความเข้าใจสำหรับการเริ่มต้น
คอร์ด หมายถึง การรวมตัวโน้ตตั้งแต่สามตัวขึ้นไป ชื่อคอร์ดเรียกตามชื่อตัวโน้ต Root หรือตัวหลักของบันได้เสียง ไม่ว่าจะเป็นคอร์ด เมเจอร์ ( Major Chord ) หรือ ไมเนอร์ ( minor Chord ) หรือคอร์ดอื่น ๆ ก็ต้องใช้บันไดเสียงเป็นหลักในการคิดคำนวณหารูปคอร์ดนั้น ๆ
R (Root) คือโน้ตตัวแรกของคอร์ดนั้นๆ เช่น คอร์ด C Maj7 ก็จะเป็น Root โน้ต C , Root ของคอร์ด A minor7 ก็คือ A
จากตัวอย่างในภาพฟอร์มคอร์ด Major 7 หากเราทำความเข้าใจ Root ได้แล้ว เราก็จะได้คอร์ดอื่นอีกเพียบเลยเพียงแค่เราจับเหมือนเดิม ฟอร์มเดิม แต่เป็นการเลื่อนตำแหน่งเฟรต เราก็จะได้คอร์ดใหม่แล้ว
เพิ่มเติม
- โครงสร้างคอร์ดเมเจอร์ 7 ( Major 7th Chord ) คือ 1 – 3 – 5 – 7 เช่นคอร์ด C Major7 ตัวโน้ตที่อยู่ในกลุ่มคอร์ด คือ C – E – G – B
- โครงสร้างคอร์ดโดมิแนนท์ 7 ( Dominant 7th Chord ) คือ 1 – 3 – 5 – b7 เช่นคอร์ด C7 ตัวโน้ตที่อยู่ในกลุ่มคอร์ดคือ C – E – G – Bb
- โครงสร้างคอร์ดไมเนอร์ 7 ( minor 7th Chord ) คือ 1 – b3 – 5 – b7 เช่นคอร์ด Cm7 ตัวโน้ตที่อยู่ในกลุ่มคอร์ดือ C – Eb – G – Bb
- โครงสร้างคอร์ดฮาฟดิมินิชท์ ( Half Diminished chord ) หรือ คอร์ด m7b5 คือ 1 – b3 – b5 – b7 เช่นคอร์ด Cm7b5 ตัวโน้ตที่อยู่ในกลุ่มคอร์ดคือ C – Eb – Gb – Bb
- โครงสร้างคอร์ดดิมินิชท์ 7 ( Diminished 7th Chord ) คือ 1 – b3 – b5 – 6 (bb7) คอร์ด Cdim7 ตัวโน้ตที่อยู่ในกลุ่มคอร์ดคือ C – Eb – Gb – A ( Bbb )