LINE


ไดร์เวอร์ (Driver) หูฟังมีกี่แบบแต่ละแบบมีจุดเด่นอย่างไร ผมตอบให้ !!!

ไปซื้อ ไดร์เวอร์ (Driver) หูฟังมีกี่แบบแต่ละแบบมีจุดเด่นอย่างไร ผมตอบให้ !!!ที่สาขา

สวัสดีคุณผู้อ่านทุก ๆ ท่านครับวันนี้ทาง Music Arms เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับหูฟังกัน แน่นอนครับหูฟังการใช้งานคือการนำไปฟังในสิ่งที่เราต้องการฟัง ไม่ว่าจะเป็นฟังเพลง ฟังเสียงพูด ฟังเสียงสูง ต่ำ กลาง แหลม ถูกต้องมั้ยละครับวันนี้ Music Arms เลยอยากถามคุณผู้ชมว่าแล้วรู้มั้ยครับว่าเมื่อเวลาเราไปซื้อหูฟังแล้วพนักงานมักจะชอบอธิบายให้ฟังว่าหูฟังตัวนี้มี Driver บลา ๆ บางท่านอาจจะเข้าใจว่าเป็น Driver เกี่ยวกับคอมหรือป่าว ไม่ใช่นะครับ ฮ่า ๆ ๆ วันนี้ Music Arms จะมาอธิบายเรื่องเกี่ยวกับ Driver ให้ฟังกันครับว่าเวลาจะซื้อหูฟัง 1 อันเค้าดู Driver ยังไงและมีกี่แบบไปดูกันครับ

เรามาเริ่มกันอันดับแรกเลยนะครับในปัจจุบันไดร์เวอร์ของหูฟังที่เราสามารถพบเห็นได้ตามตลาด Audio จะพบได้ประมาณ 5 ประเภทด้วยกันครับได้แก่ ……

  • Dynamic Driver (ไดร์เวอร์ไดนามิค ) หรือ DD
  • Balance Armature Driver (ไดร์เวอร์บาลานส์อามาเจอร์) หรือ BA
  • Bone Conduction Driver (ไดร์เวอร์โบนคอนดักชัน)
  • Electrostatic Driver (ไดร์เวอร์อิเล็คโตรสแตติก)
  • Planar Magnetic Driver (ไดร์เวอร์พลาน่าแม็กเนติก)

และจะมีแบบผสมรวมไดร์เวอร์กันด้วยออกไปอีก 2 รูปแบบนะครับคือ …..

  • Multiple Driver (ไดร์เวอร์มัลติเพล)
  • Hybrid Driver (ไดร์เวอร์ไฮบริด)

โดยรวมเรื่องของไดร์เวอร์ของหูฟังแต่ละประเภทจะมีชื่อตามนี้เลยนะครับแต่ที่เห็นข้างต้นเยอะ ๆ แบบนี้ไม่ใช่ว่า Music Arms จะมาพูดถึงทั้งหมดในบทความนี้นะครับ ฮ่า ๆ ๆ เดี๋ยวผู้อ่านจะเบื่อกันวันนี้ผมจะมาพูดถึงประเภทที่ Dynamic Driver (ไดร์เวอร์ไดนามิค ) กับ Balance Armature Driver (ไดร์เวอร์บาลานส์อามาเจอร์) กันครับเพราะเป็นไดร์เวอร์หูฟังที่หาได้และอยู่ในหูฟังราคาเริ่มต้นที่หลักร้อยเลยเราไปดูกันครับ

Dynamic Driver (ไดร์เวอร์ไดนามิค) หรือ DD

ไดร์เวอร์หูฟังชนิดนี้เป็นไดร์เวอร์หูฟังที่มการพบเห็นกันได้มากที่สุดและเป็นที่นิยมใช่ในการทำหูฟังกันมาอย่างยาวนานที่อยู่หูฟังประเภท In-Ear, Ear-Bud, รวมไปถึงหูฟังแบบ Full-Size เพราะไดร์เวอร์หูฟังแบบไดนามิคนี้จะมีลักษณะการทำงานคล้าย ๆ กับการทำงานของดอกลำโพง หรือจะให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ คือการย่อเอาดอกลำโพงขนาดใหญ่ให้มาอยู่ในหูฟังขนาดเล็ก ๆ นั่นเอง โดยการทำงานของไดร์เวอร์ไดนามิคนั้นจะมีการทำงานหลัก ๆ ด้วยกันอยู่ 3 ส่วนก็คือ ใช้งานแม่เหล็ก (Magnet), ขดลวด (Voice coil), ทองแดง (Diapham) ในด้านการทำงานนั้นจะมีการส่งกระแสไฟฟ้าไปยังตัวของขดลวดเพื่อให้ขดลวดแปลงกระแสไฟฟ้าเข้าไปสู่แม่เหล็กทำให้แม่เหล็กเกิดการขยับตัวทำให้เกิดการขยับตัวของทองแดง โดยปกติทั่ว ๆ ไปนั้นย่านเสียงของไดร์เวอร์ไดนามิคนั้นจะทำให้ได้เสียงที่มีครอบคลุมในทุกย่านเสียงมีความลื่นไหล มีเสียงที่ฟังดูเป็นธรรมชาติ

Balance Armature Driver (ไดร์เวอร์บาลานส์อามาเจอร์) หรือ BA

ไดร์เวอร์บาลานส์อามาเจอร์ เป็นไดร์เวอร์ที่มีมานานพอสำควรแต่เป็นไดร์เวอร์ที่นิยมใช้กันในเครื่องช่วยฟังทางการแพทนั่นเอง และในปัจจุบันก็ถูกนำมาบรรจุในหูฟัง In-Ear นั่นเอง เพราะเป็นไดร์เวอร์ที่มีขนาดเล็กไม่กินพื้นที่ของตัวหูฟังทำให้มีการปรับจูนที่หลากหลายมีกำลังขับที่น้อย หลักการทำงานของตัวไดร์เวอร์ BA นั้น จะมีส่วนประกอบด้วยกัน 5 ส่วนคือ Coil, Driver Rod, Diapham, Magnet และ Armature นั่นเอง หลักการทำงานของ BA จะมีความคล้ายกันกับ DD โดยมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังขดลวดที่เชื่อมต่อกับ Armature เมื่อเกิดการขยับที่ตัว Armature นั้น Driver Rod จะมีการกรองคลื่นความถี่ที่ขยับขึ้นลงไปยังแผ่นทองแดงทำให้แผ่นทองแดงเกิดการสั่นและเกิดเสียงขึ้นมา

Dynamic Driver (ไดร์เวอร์ไดนามิค) กับ Balance Armature Driver (ไดร์เวอร์บาลานส์อามาเจอร์) มีข้อดีและข้อเสียต่างกันอย่างไร

Dynamic Driver (ไดร์เวอร์ไดนามิค) นั้นมีข้อดีหรือจุดเด่นไปที่ การตอบสนองความถี่ที่ตอบสนองได้ในทุกย่านเสียงไม่ว่าจะเสียงต่ำ เสียงกลาง เสียงสูง ทำให้มีมิติเสียงที่มีความเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และจุดเด่นของไดร์เวอร์ไดนามิคที่คนนิยมนำมาใช้งานนั้นเป็นเพราะไดร์เวอร์ตัวนี้โดนเด่นเป็นอย่างมากในย่านเสียงต่ำให้เสียงเบสที่มีแรงฟังแล้วรู้สึกได้ถึงเบสที่มาเป็นก้อน

Balance Armature Driver (ไดร์เวอร์บาลานส์อามาเจอร์) นั้นมีข้อดีอยู่ที่ขนาดเล็กทำให้ใช้พื้นที่ของหูฟังน้อยทำให้สามารถเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้าไปได้เพิ่มเช่น แบตเตอร์รี่ หรือการที่เค้าสามารถใส่ไดร์เวอร์มากกว่า 1 ตัวเข้าไปในหูฟังได้นั่นเอง เพื่อให้ได้ยินเสียงครบทุกย่าน ง่ายต่อการปรับจูนเสียงให้ตรงตามคาแร็คเตอร์ที่เราต้องการ ให้รายลละเอียดเสียงที่ชัดเจนแต่เร้นเสียงไม่กว่าเท่ากับไดร์เวอร์แบบไดนามิค แต่โดดเด่นไปในย่านเสียงกลางและสูงดัง

ดังนั้นเมื่อจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละไดร์เวอร์นั้นมีข้อจำกัดของมันทำให้เกิดเป็นรูปแบบที่เรียกว่า Hybrid Driver (ไดร์เวอร์ไฮบริด) นั่นเองโดยเป็นการทำงานของไดร์เวอร์ต่างประเภทกันจำนวนมากกว่า 2 ตัวขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต) โดยส่วนใหญ่แล้วในปัจจุบันจะเป็นการนำเอาไดร์เวอร์ไดนามิคกับไดร์เวอร์บาลานส์อามาเจอร์มาทำงานร่วมกันนั่นเอง เพราะจะได้โทนเสียงและคาแร็คเตอร์ที่แปลกใหม่ ให้การตอบสนองที่ดีในทุกย่านเสียงมีรายละเอียดของเสียงที่คมชัดนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับรูปแบบของไดร์เวอร์ (Driver) หูฟังที่ทาง Music Arms ได้นำมาเขียนให้ทุกท่านอ่านกันในวันนี้หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะครับ และสิ่งที่ผมอยากจะฝากคุณผมชมไว้คือไม่ว่าหูฟังจะเสียงเป็นอย่างไรอยากให้คุณผู้ชมได้ข้าไปฟังเสียงด้วยตัวเองเพราะว่าเสียงที่ทุกท่านชอบมักจะมีคาแร็คเตอร์เป็นของตัวเองนั่นเองครับ หากคุณผู้อ่านสนใจก็แวะไปลองกันได้ที่หน้าร้านของ Music Arms ทั้ง 7 สาขาเลยนะครับวันนี้ผมขอตัวลาคุณผู้ชมไปก่อน สวัสดีครับ -/\-

          ดูสินค้าคลิ๊ก หูฟังและลำโพงฟังเพลง Headphones & Gadgets Music Arms ได้รวบรวมสินค้าหูฟังแบรนด์ดังไว้ที่นี่ !!!

×