LINE


มาดูกันว่า ทำไม อัจฉริยะอย่างไอสไตน์ถึงเล่นไวโอลิน

ไปซื้อ มาดูกันว่า ทำไม อัจฉริยะอย่างไอสไตน์ถึงเล่นไวโอลินที่สาขา

“โต๊ะ เก้าอี้สักตัว ชามผลไม้สักชาม แล้วก็ไวโอลินอีกตัว จะมีอะไรอีกไหมหนอ เท่าที่คนสักคนจะควานหาเพื่อความสุขได้อีก” — อัลเบิร์ต ไอสไตน์

einst

Albert Einstein ขณะเล่นไวโอลิน

ไอสไตน์นอกจากจะรู้จักกันในฐานะนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลแล้ว เขายังเป็นนักเล่นไวโอลินตัวยงอีกด้วย คร้ังหนึ่งเขากล่าวว่า ถ้าเขาไม่ได้เป็นนักฟิสิกส์ เขาคงจะเป็นนักดนตรีไปแล้ว
ไอสไตน์เปิดเผยเสน่หาที่เขามีต่อดนตรีอย่างชัดเจน เขาคิด เขาฝันกลางวัน เขาใช้ชีวิต อยู่บนโลกของดนตรี และทฤษฎีสัมพัทธภาพอันดังทะลุโลกของเขา ถือกำเนิดมาจากดนตรีที่เขาอยู่กับมันมาทั้งชีวิต

นี่อาจจะฉีกภาพของไอสไตน์ของใครหลาย ๆ คน ภาพของนักคิดที่ควรจะเต็มไปด้วยตรรกะ ระบบระเบียบและเหตุผล กลับแทนที่ด้วยความเชื่อ และความงดงามร้อยเรียงแห่งดนตรีไปซะสิ้น

“ทฤษฎีสัมพัทธภาพดลบันดาลขึ้นมาในใจของผม และดนตรีคือแรงผลักดันให้เกิดสิ่งนั้น พ่อแม่ให้ผมเล่นไวโอลินแต่หกขวบ การค้นพบของผมคือผลลัพธ์จากมุมมองผ่านเสียงดนตรี” ไอสไตน์กล่าว

ในวาระร้อยปีครบรอบการตีพิมพ์งานวิจัยพลิกประวัติศาสตร์ของไอสไตน์ ‘ไบรอัน ฟอสเตอร์ นักฟิสิกส์อนุภาค’ วิจารณ์ความชื่นชอบในตัวโมซาร์ทของไอสไตน์ ว่าเขาเป็นพวก “นิยมขนบเดิม”
และนั่นเป็นที่มาของความคิดรากฐานของไอสไตน์

บทบรรเลงของโมซาร์ทคือภาพของจักรวาลที่ ‘เป็นการประสานกันอย่างลงตัว’ และนั่นเอง ที่ทำไมไอสไตน์ถึงพยายามจะอธิบายเอกภพบนคณิตศาสตร์ที่เรียบง่ายที่สุด ลงตัวที่สุด

ไอสไตน์ติดใจในดนตรีของโมซาร์ท เขาว่า “มันเหมือนราวกับว่า…โมซาร์ทไม่ได้ ‘สร้าง’ บทประพันธ์ของเขาเลย…เขา ‘ค้นพบ’ มันต่างหาก…”

เพราะอย่างนั้น ไอสไตน์ถึงเล่นไวโอลิน ไวโอลินที่บรรเลงเพลงของโมซาร์ท เขาไม่ได้เล่นเพราะโมซาร์ทสร้างบทประพันธ์นั้น แต่เขาเล่นเพราะเขากำลังค้นหาความจริงที่มีอยู่แล้วต่างหาก

จาก 6 ขวบ จนย่างวัยหนุ่ม

ไอสไตน์ค้นพบทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล ‘ทฤษฎีสัมพัทธภาพ’ ผ่านการบรรเลงบนไวโอลิน

==============================================
ภาพจาก openculture.com
ขอขอบคุณ 99u.com และ openculture.com

Music Arms