จะซื้อกลองไฟฟ้าสักชุด? มาลองดูวิธีเลือกซื้อกันหน่อยไหม
‘ช่วงปี70 กลองไฟฟ้าถือเป็นเครื่องดนตรีที่ล้ำยุคสมัยเกินไป’
ในตอนแรกที่กลองไฟฟ้าถูกประดิษฐ์ขึ้นมานั้น เนื่องจากความเซนซิทีฟที่มากเกินไป เทคโนโลยีเท่าที่มี ณ ตอนนั้นยังคงทำให้มันใช้เล่นและควบคุมได้ยาก
กลองไฟฟ้าปรากฏต่อหน้าวงการบันทึกเสียงครั้งแรก ตอนที่ Graeme Edge มือกลองวง Moody Blues นำสิ่งประดิษฐ์นี้ของเขาไปเล่นในเพลง Procession ในปี 1971
เขาให้สัมภาษณ์หลังจากนั้นว่า ‘ตอนที่ใช้เล่น กลองไฟฟ้าทำหน้าที่มันได้เจ๋งไปเลย แต่มันล้ำสมัยเกินไป…’
แต่ตอนนี้ร่วมเข้าไป 40 ปีแล้ว กลองไฟฟ้าสมัยนี้ก็ดีกว่าสมัยแต่ก่อนมาก
ปัญหาก็คือทุกยี่ห้อมันก็ทำท่าว่าจะดีเหมือนกันไปหมด แล้วรุ่นไหนล่ะที่จะเรียกว่าพอดีสำหรับเราๆ วันนี้ทางเราขอเสนอ ‘ก่อนจะตัดสินใจซื้อกลองไฟฟ้าสักชุด ต้องดูอะไรบ้าง?’ ซึ่งในตอนแรก เรามาดูเทคนิคการเลือกกลองไฟฟ้าจากรูปลักษณ์ภายนอกกันก่อน
>> สินค้ายี่ห้อนี้ขึ้นชื่อเรื่องความคงทนไหม?
นอกจากจะหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ทริคเล็กๆน้อยอีกข้อก็คือ ลองสังเกตจากตัวโชว์ที่อยู่ตามร้าน(ถ้ามี) ตัวโชว์จะค่อนข้างผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านมือคนนับไม่ถ้วน ถ้าสังเกตแล้วว่าไร้รอยขีดข่วน แสดงว่ากลองยี่ห้อนี่ผ่านหลักสูตรเรื่องความคงทนมาแล้วแน่นอน
>> ใช้แป้น(pad)หรือหนังมุ้ง(mesh head)ดี?
แน่นอนว่าแป้นจะมีราคาถูกกว่า แต่ถ้าไม่นับประเด็นเรื่องราคาแล้วละก็
ชนิด | แป้น | หนังมุ้ง |
ข้อดี | ขนาดเล็กพกพาง่าย ให้เสียงแน่นอนเหมือนเดิมตลอด | สัมผัสคล้ายกลองจริง ตอบรับย่านเสียงมากกว่า จูนหนังกลองได้ |
เหมาะกับ | ออกนอกสถานที่บ่อย งานอัดลูปกลอง |
งานดนตรีจริงจัง เล่นสด จะเห็นว่าแป้นและหนังมุ้งมีวิธีใช้งานคนละแบบ อย่าลืมเลือกแบบที่เหมาะกับเราด้วย |
>> โมดูลกลองมีดีอะไรบ้าง?
โมดูลเปรียบสมอง ของกลองไฟฟ้า ทันทีที่รับสัญญานตีจากคนเล่น ระบบจะรับสัญญานและแปลงออกมาเป็นเสียง ถือเป็นตัววัดคุณภาพของกลองไฟฟ้าชุดๆนึงเลยทีเดียว โมดูลดีๆก็ให้เสียงที่ดีมีคุณภาพ และสิ่งที่ควรคำนึงถึงต่อมามากที่สุด คือฟังก์ชันที่ติดมาให้ เช่น สามารถexportบันทึกการเล่นของเราได้ ยิ่งรุ่นดีๆ นอกจากจะเปลี่ยนโทนเสียงเครื่องตีแต่ละชิ้นได้แล้ว ยังสามารถอัพโหลดชุดเสียงของเราเองเข้าไปได้ด้วย
เรื่องโมดูลนี้ ต้องเลือกให้เหมาะกับความพอดีของเราว่าจะใช้ในเชิงไหน เพราะว่ายิ่งโมดูลฟังก์ชันเยอะราคาก็ยิ่งแพงนั่นเอง
>> แล้วเวลาแฝง(Latency)ล่ะ?
นี่เป็นประเด็นที่มักไม่กล่าวถึงเท่าไหร่ เวลาเรื่องซื้อกลองไฟฟ้าตามร้าน เวลาแฝงแปลง่ายๆ ก็คือ ‘ดีเลย์’ ดีๆนี่เอง เวลาแฝงคือเวลาในช่วงทั้งหมดตั้งแต่ตัวรับสัญญาน รับสัญญาน ส่งผ่านไปที่โมดูล โมดูลแปลงออกมาเป็นเสียง โดยทั่วไปกินเวลาในหลักมิลลิวินาที ซึ่งกลองไฟฟ้าที่ดีต้องมีเวลาแฝงน้อยๆ เราสามารถลองเช็คเวลาแฝงได้ด้วยการลองตีลงไปแล้วฟังเสียงที่ออกมา ถ้ารู้สึกว่ามันดีเลย์นิดๆ ก็ควรจะเก็บกลองไฟฟ้าชุดนั้นเอาไว้เป็นตัวเลือกท้ายๆจะดีกว่า
เป็นไงบ้าง หลักการเลือกซื้อกลองไฟฟ้าง่ายๆ สั้นๆ ก็จบแต่เพียงเท่านี้ บางเรื่องก็อาจจะเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่แล้ว แต่ถ้าบางเรื่องเป็นเรื่องใหม่ก็คงเป็นเรื่องดีสำหรับชาวเราที่คิดหาซื้อกลองไฟฟ้าอยู่แน่ๆ ขอให้พบรักกับกลองไฟฟ้าดีๆ, นะ 😉
หากเพื่อนๆ สนใจกลองไฟฟ้าเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่