LINE


การปรับซาวด์หน้าตู้และชนิดเอฟเฟ็ค

ไปซื้อ การปรับซาวด์หน้าตู้และชนิดเอฟเฟ็คที่สาขา

เอฟเฟคกีต้าร์ถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆของมือกีต้าร์ไฟฟ้า เพราะนอกจากตัวกีต้าร์จะได้คุณภาพแล้ว การปรับซาวด์จากตู้ แอมป์และเอฟเฟ็คก็มีส่วนอย่างมาก การปรับซาวด์หน้าตู้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่มือกีต้าร์ต้องเรียนรู้ อีกทั้งชนิดของเอฟเฟคเองก็มี หลายแบบให้เลือกใช้งานตามประเภทแนวดนตรี วันนี้จึงจะบอกถึง Tone หน้าตู้และชนิดเอฟเฟคแต่ละประเภทว่าให้ เสียงอย่างไร

LINE-6-SPIDER-V-20-ด้านซ้าย

Tone Controls หน้าตู้

ปกติแล้วตู้แอมป์กีต้าร์ไฟฟ้าจะมีแผง EQ (equaliser) 3 ย่านเสียงคือ Treble (เสียงแหลม)
Middle (เสียงกลาง) และ Bass (เสียงทุ้ม) ซาวด์ Treble จะให้เสียงที่คมชัดมากขึ้นซึ่งปกติแล้วจะปรับที่ ระดับ 5-6 ส่วนซาวด์ Middle จะให้เสียงแบบร็อคซาวด์ ซึ่งปกติแล้วจะปรับกันที่ 3-4 และ ซาวด์ Bass คือซาวเสียงทุ้มที่มักปรับกันที่ระดับ 6-7 ยกเว้นแอมป์ขนาดเล็กที่ซาวด์จะบาง จึงต้องปรับ 7-8 ในบางรุ่น

นอกจากนี้แอมป์ยังมีส่วนของ Gain และ Overdrive คือทำเสียงให้แตกไว้ใช้ในแนวดนตรีร็อค เมื่อก่อนจะเป็น เอฟเฟ็คชนิดหนึ่งซึ่งค่ายแรกๆที่ทำออกมาคือ Boss ปัจจุบันได้เอาฟังค์ชั่นนี้ใส่ไว้ในตู้แอมป์ด้วยเพราะมีการใช้อย่างแพร่หลาย ปกติก็จะปรับได้ถึง 10 ระดับตามความแตกและดุของเสียง ซึ่งแตกต่างกันไปตามแนวดนตรี ถ้าต้องการร็อคหนักๆก็ต้อง ปรับเยอะ หรือถ้าเป็นบลูส์เบาๆก็อาจปรับแค่ 3-4 เท่านั้น

LINE6-POD-GO-Wireless-Full

ชนิดของเอฟเฟค

ปัจจุบันเอฟเฟคที่เป็นระบบดิจิตอลได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะสะดวกต่อการใช้งานและพกพา แต่ยังมีกลุ่มนักดนตรีที่ชื่นชอบ การแยกเอฟเฟคแบบก้อนอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะมือกีต้าร์ที่เล่นอาชีพตามเวทีใหญ่ๆ เพราะเอฟเฟคแบบก้อนจะมีการตัดและต่อ ย่านเสียงเข้าตู้แอมป์โดยตรง ทำให้ซาวด์แต่ละประเภทชัดเจนไม่ถูกรบกวน เอฟเฟคแบบก้อนก็จะมีหลายชนิด เช่น

เอฟเฟค Joyo R-14 Atmosphere 9 Modes Multi Reverb

Reverb

เป็นซาวด์ที่ทำให้เสียงก้องขึ้นเหมือนเล่นอยู่ในห้อง ปกติแล้วมักจะใช้ควบคู่กับเสียงคลีนเพื่อเพิ่มความหนาให้กับซาวด์กีต้าร์ ลักษณะเสียงจะคล้าย Echo หรือเข้าใจง่ายๆว่าเสียงซ้อนกันทำให้ฟังแล้วหนาขึ้นนั่นเอง ปกติแล้วค่า Reverb มักจะ ปรับที่ 2-4 คือไม่มากเท่าไหร่นัก

Joyo R-10 Nascar BBD Bucket Brigade Analog Delay

Delay

หลายๆคนอาจจะรู้ว่า Delay คล้ายๆ Reverb แต่ Delay จะเป็นลักษณะเสียงสะท้อน เช่น เล่นโน๊ตตัวหนึ่งแล้ว อีกประมาณ 1 วินาทีจะมีเสียงโน๊ตตัวนั้นซ้อนขึ้นมาในหางเสียงของเสียงแรก ลักษณะการสะท้อนจะเหมือนเสียงในถ้ำแตกต่างจาก Reverb เพราะเสียงจะเป็นลักษณะ”ตาม” ไม่ใช่การ”ซ้อน”แบบ Reverb ปกติจะปรับกันที่ 5-6

Chorus Effect

Chorus

ซาวด์นี้ลักษณะตรงตามชื่อคือเหมือนมีคอรัสเบาๆคลอไปด้วย มือกีต้าร์ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเสียงกีต้าร์หวานขึ้น มักจะใช้ในดนตรี แจ๊ส เพราะเสียงจะฟังดูลึกมีมิติ ปกติแล้วปรับที่ 3-4 หรือถ้าเป็นแนวแจ๊สก็อาจจะตั้งไว้เยอะขึ้น ปัจจุบันคอรัสค่อนข้างได้รับความนิยมเพราะทำให้ซาวด์กีต้าร์ฟังดูเต็มหรือแน่นขึ้น อีกทั้งการปรับคอรัสมากนั้นไม่ค่อยทำให้ซาวด์เปลี่ยนเหมือนดีเลย์ จึงเลือกตั้งค่าได้ตามความชอบใจ

Strymon Flanger

Flanger

เอฟเฟคแบบนี้จะให้ซาวด์ที่แตกต่างออกไปอย่างเด่นชัด เพราะตัวนี้จะเป็นการปรับความถี่ของเสียงให้ช้าหรือเร็วขึ้น เสียงเวลากดเอฟเฟคจึงเป็นเสียงคล้ายรถวิ่งหรือเสียงเครื่องบินเพราะมีการแปลงความถี่มาแล้ว ซาวด์จะมีลักษณะแกว่งๆจนบางคนให้คำนิยามว่าเสียงจะเป็นแบบ “หมุน” รอบตัวผู้ฟัง

Wah Wah

Wah-Wah

บ้านเราเรียกว่าวาล์ว ซึ่งเอฟเฟคชนิดนี้มักจะต่อแยกออกมา การกดจะเป็นแป้นสวิทช์เท้าสามารถควบคุมเสียงเปิด-ปิดได้ตามจังหวะ เสียงจะถูกปรับย่านความถี่ให้ฟังดูแปลกๆไป ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเสียงมีความ”บวม”ขึ้น มักใช้เป็นลูกเล่นในเพลงหลายๆแนว

Tech 21 Fly Rig 5 v2 guitar effect

ทั้งหมดคือเอฟเฟคที่มักจะนิยมใช้ในหมู่มือกีต้าร์ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเอฟเฟคแบบมัลติหรือแบบก้อนก็มักจะมีเสียงเหล่านี้ติดไว้เพราะทำให้เล่นได้หลากหลายแนวมากขึ้น ดังนั้นหากรู้จักเลือกใช้เอฟเฟครูปแบบต่างๆซาวด์กีต้าร์ก็จะออกมามีมิติมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองเหมือนมือกีต้าร์ดังๆที่พอฟังจะรู้ทันทีว่าใครเล่น ดังนั้นนอกจากการฝึกซ้อมแล้วก็อย่าละเลยเรื่องการปรับหน้าตู้และเอฟเฟคกันด้วยนะจ๊ะ

ขอบคุณบทความจาก goodnightkiss

ขอบคุณรูปภาพจาก guitarchulk, Boss, bestguitar

Music Arms