มารู้จักไมโครโฟนคอนเดนเซอร์และไดนามิคเบื้องต้นกันเถอะ
ไมโครโฟนถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้งานเกี่ยวกับดนตรีโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง หรือแม้แต่การอัดเสียงต่างๆในสตูดิโอล้วนแล้วแต่ใช้ไมโครโฟนเป็นสื่อนำเสียงก่อนที่จะเข้าไปมิกซ์เสียงทั้งสิ้น ดังนั้นการเลือกใช้ไมโครโฟนจึงจำเป็นต้องรู้ว่าไมโครโฟนประเภทไหนเหมาะกับการใช้งานแบบใด เนื่องจากเครื่องดนตรีนั้นให้เรนจ์เสียงที่แตกต่างจากเสียงพูด รวมถึงต้องการที่จะตัดเสียงรบกวนออกไป แตกต่างจากการพูดในที่ประชุมหรือที่กว้าง วันนี้ Music Arms จะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับไมโครโฟนสองประเภทนั่นคือไมค์แบบคอนเดนเซอร์และไมค์แบบไดนามิคที่ใช้งานในแวดวงดนตรีอย่างมาก แต่จะแตกต่างกันยังไงนั้นเราไปดูกัน
ก่อนอื่นเรามารู้จักกับประเภทไมโครโฟนกันก่อน จริงๆแล้วในโลกนี้มีไมค์หลายรูปแบบมาก แบ่งได้ทั้งการรับเสียง มีการรับเสียงแบบทางตรงและแบบกว้าง หรือจะแบ่งตามประเภทการใช้งานก็ได้ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงประเภทของไมโครโฟนจากวัสดุที่ใช้ ที่จริงแล้ววัสดุที่ใช้ทำไมโครโฟนนั้นมีมากถึง 6 แบบ ไม่ว่าจะเป็นคาร์บอน, เซรามิค หรือคริสตัล แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ในงานอัดเสียงงานดนตรีเท่าไหร่นัก ที่นิยมจะมีอยู่ 2 แบบ คือไมค์คอนเดนเซอร์และไมค์ไดนามิค เราจะไปดูกันว่าไมค์ 2 ประเภทนี้เป็นแบบไหนกัน
ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์
วัสดุที่ใช้ในไมโครโฟนประเภทนี้ก็คือ คอนเดนเซอร์ ตามชื่อเลย หลายคนอาจจะงงว่าคอนเดนเซอร์คืออะไร คอนเดนเซอร์คือ แผ่นเพลท 2 แผ่น ออกแบบโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความจุ ตามเสียงที่มากระทบแผ่นฉนวนที่อยู่ระหว่างแผ่นเพลทสองแผ่น เพื่อให้เป็นตัวนำเสียง การใช้แผ่นเพลทนั้นมีข้อดีตรงที่สามารถรับสัญญาณคลื่นความถี่สูงได้ดี ไมโครโฟนชนิดนี้จึงมีความไวมาก มีอิมพิแดนซ์ต่ำมาก ตอบสนองต่อเสียงได้ไว จึงมักใช้เป็นไมค์ในห้องอัดเสียง แต่มีข้อเสียคือราคาค่อนข้างสูง และมีเสียงรบกวนเข้าได้ง่าย จำเป็นต้องมีวัสดุกรองเสียงช่วยอีกต่อหนึ่ง
ไมโครโฟนแบบไดนามิก
วัสดุนำเสียงของไมโครโฟนแบบนี้คือแผ่นไดอะเฟรม ประกอบด้วยขดลวดพันอยู่บนฟอร์มพลาสติกทรงกระบอกที่ยึดติดกับแผ่นไดอะแฟรมบางๆ แล้วสวมลงในช่องว่างระหว่างแม่เหล็กถาวร เมื่อมีคลื่นเสียงมากระทบแผ่นไดอะแฟรม แผ่นไดอะแฟรมที่เป็นพลาสติกหรือแผ่นอลูมิเนียมบาง ๆ ก็จะมีการอัดและคลายตัวตามคลื่นเสียง ทำให้ขดลวดเคลื่อนที่เข้าออกตามไปด้วย เป็นไมค์ที่มีกระแสไฟฟ้าในตัว ในบางรุ่นจึงไม่จำเป็นต้องมีสายไฟ แค่ใช้ถ่านก็พอ มีข้อดีที่ราคาถูกตามวัสดุที่ใช้ และไม่ค่อยมีเสียงรบกวน แต่ข้อเสียคือความไวเสียงต่ำ รับช่วงความถี่เสียงได้แคบ จึงเหมาะเป็นไมค์ที่ใช้ร้องเพลงมากกว่า
ตัวอย่างไมโครโฟนไดนามิกและคอนเดนเซอร์
แล้วไมค์ชนิดไหนเหมาะใช้กับในห้องอัดเสียง
อย่างที่บอกไปว่าไมค์คอนเดนเซอร์มีความไวต่อเสียงมาก จึงมักใช้เป็นไมค์จ่อเครื่องดนตรี เช่นกีต้าร์โปร่ง หรือในบางกรณีก็ใช้เป็นไมค์ร้องเพลงได้หากมีเครื่องกรองเสียงช่วย แต่ถ้าต้องการเสียงที่มีความคลีนเช่นเครื่องดนตรีประเภทฉาบทองเหลืองของกลอง ปกติแล้วจะใช้ไมค์ไดนามิกมากกว่า เพราะเสียงประเภทนี้มีความแตกและแสบหู ห้องอัดที่ดีจึงควรมีไมค์ทั้งสองประเภทไว้ใช้งาน ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ไมค์แบบไหนกับอุปกรณ์ชิ้นใด แต่ถ้าโดยรวมแล้ว ห้องอัดเสียงเป็นพื้นที่ปิดที่ค่อนข้างเงียบ ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์จึงเหมาะสมกว่า
ไมค์แบบไหนดีกว่า
ตรงนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน ถ้าใช้งานในพื้นที่เปิดที่มีเสียงรบกวนเยอะ การใช้ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์อาจจะส่งผลเสียมากกว่าเพราะจะได้สัญญาณเสียงที่ไม่พึงประสงค์มาด้วย เช่นการพูดในที่ประชุม งานประเภทอื่นที่ไม่ใช่การบันทึกเสียงจึงเหมาะกับไมค์แบบไดนามิกมากกว่า เช่นการร้องเพลงคาราโอเกะ การเลือกใช้ไมค์ผิดประเภทเช่นซื้อไมค์คอนเดนเซอร์ราคาแพงๆเพื่อมาประชุมจึงไม่ใช่คำตอบเท่าไหร่นัก ในบางครั้งไมค์ที่ราคาถูกกว่า อาจจะเหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆมากกว่า
เชื่อว่าถึงตรงนี้เพื่อนๆคนไหนที่กำลังเลือกไมโครโฟนไว้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นการร้องในงานปาร์ตี้หรือหาไมค์ใช้ในสตูดิโอน่าจะได้คำตอบกันแล้ว และถ้าเลือกได้แล้วก็สามารถเลือกซื้อกันได้ที่ร้าน Music Arms ทุกสาขา ทางเรามีไมโครโฟนมากมายหลายประเภทรอให้เพื่อนๆจับจองเป็นเจ้าของกันอยู่ ถ้าใช้ไมค์ที่มีประสิทธิภาพตรงกับสายงาน รับรองว่าจะได้เสียงร้องและเสียงดนตรีที่เพื่อนๆพึงพอใจอย่างแน่นอน